ไพบูลย์เสนอทางออกประเทศ ชงครม.ออก 'พ.ร.ก.ประชามติ' ห้ามชุมนุม 2 ปีเด็ดขาด

2 พ.ย. 63

"ไพบูลย์ นิติตะวัน" เสนอทางออกประเทศ ให้ ครม.ตรา พ.ร.ก.ประชามติ ถาม 52 ล้านคน คิดเห็นอย่างไรหากจะห้ามชุมนุมทางการเมืองเด็ดขาด 2 ปี เพื่อให้เวลารัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 63 นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 63 ที่ผ่านมา ตนได้อภิปรายเสนอทางออกของประเทศในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองขั้นรุนแรงของไทย โดยเสนอให้ใช้การออกเสียงประชามติถามประชาชนทั้งประเทศ แทนการยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งใหม่ เพราะการยุบสภาเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์เศรษฐกิจให้มีปัญหามากขึ้น และการยุบสภาไม่สามารถยุติความขัดแย้งจากการชุมนุมทางการเมืองได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เหยียบย่ำหัวใจ! ปชช.ปกป้องสถาบันฯเดือด ลั่นพร้อมตบถ้าเห็นชู 3 นิ้วใส่
"พุทธะอิสระ" จวกม็อบเยาวชนไม่รู้จริง เชื่อมีคนบงการ
กลุ่มราษฎร ยุติ “บิ๊กเซอร์ไพรส์” ในธรรมศาสตร์ - ญาติบัณฑิตภูมิใจหลานรับปริญญาฯ 
ตำรวจสน.ปทุมวัน เตรียมจับกุม "รุ้ง" หลังศาลอยุธยายกคำร้องควบคุมตัว

ดังนั้นจึงขอเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หากจะหาทางออกของประเทศให้ได้ผล ต้องให้ประชาชนทั้งประเทศมีส่วนร่วมใช้อำนาจอธิปไตยตัดสินปัญหาสำคัญนี้ หากเป็นไปได้ ตนขอเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติจัดให้มีการออกเสียงประชามติ โดยประชาชนทุกคนทั้งประเทศ ซึ่งมีสิทธิ์ออกเสียงประชามติ 52 ล้านคน ให้มีส่วนร่วมโดยตรงตัดสินปัญหาสำคัญของชาติในครั้งนี้ เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยทางตรงให้ได้ข้อยุติว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการจัดชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของสังคมไทย

นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ขอเสนอให้ตั้งคำถามประชามติที่เป็นไปรัฐธรรมนูญมาตรา 166 ดังนี้ "ท่านเห็นอย่างไร หากรัฐบาลใช้มาตรการทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด ห้ามไม่ให้มีการจัดชุมนุมทางการเมืองที่ฝ่าฝืนกฎหมายชุมนุมสาธารณะ มีการกระทำก้าวล่วงรัฐธรรมนูญมาตรา 6 อันเป็นเหตุให้กระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และมีผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่มีผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะจากความขัดแย้งของคนในชาติ และให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ช่วยเหลือเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนสามารถดำเนินการได้ลุล่วง รัฐบาลจึงจะใช้มาตรการทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด ห้ามชุมนุมการเมืองดังกล่าวเป็นระยะเวลา 2 ปีนับจากวันออกเสียงประชามติ"

เมื่อเป็นมติของประชาชนเสียงข้างมากทั้งประเทศ ให้รัฐบาลสามารถใช้มาตรการทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด ห้ามชุมนุมการเมืองดังกล่าวเป็นระยะเวลา 2 ปีนับจากวันออกเสียงประชามติ จะทำให้ยุติปัญหาที่เกิดจากการชุมนุมการเมืองไประยะเวลาหนึ่ง เพียงพอที่รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจช่วยเหลือเยียวยาประชาชนพ้นวิกฤติผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 แต่หากประชาชนเสียงข้างมากไม่เห็นด้วยกับมาตรการของรัฐบาลตามคำถามประชามติ รัฐบาลก็ไม่ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายใดๆ ขัดแย้งกับมติเสียงข้างมากของประชาชน 

ทั้งนี้ การหาทางออกของประเทศด้วยการจัดให้ออกเสียงประชามติ เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วน จึงเสนอให้คณะรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 173 ตราเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติขึ้นใช้เฉพาะครั้งนี้

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม