สื่อนอกจับตาการชุมนุมไทย วิเคราะห์ 4 ทางออกวิกฤตความขัดแย้ง

25 ต.ค. 63

สื่อนอกหลายสำนักจับตาการชุมนุมไทย รายงานการชุมนุมยังเดินหน้าต่อไป ชี้ยากจะหาทางออกร่วมกันพร้อมวิเคราะห์ 4 ทางออกวิกฤตความขัดแย้ง

สื่อต่างประเทศหลายสำนัก นำเสนอข่าวการชุมนุมในไทยอย่างใก้ขิด บีเอ็นเอ็น บลูมเบิร์ก เว็บไซต์ข่าวชื่อดังของแคนาดา เสนอบทวิเคราะห์การเมืองไทยล่าสุด โดยระบุว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในไทยขณะนี้ อาจมีทางออก 4 รูปแบบ แต่ทางออกทั้ง 4 ทาง ล้วนเป็นทางออกที่ไม่ง่าย และอาจมีผลกระทบในหลายด้าน ประกอบด้วย

1. การปฏิรูปอย่างช้าๆ โดยอาศัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และแก้ไขกฏหมายต่างๆ ให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
2. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
3. รัฐบาลใช้กำลังเข้าปราบปรามการประท้วงขั้นเด็ดขาด โดยใช้มาตรการที่รุนแรง
4. สถาบันสูงสุดของประเทศ เปิดรับความเปลี่ยนแปลงและปรับบทบาท

อย่างไรก็ดี บทวิเคราะห์ล่าสุดของบีเอ็นเอ็น บลูมเบิร์ก ระบุว่า การเปิดประชุมรัฐสภาเป็นกรณีพิเศษในวันจันทร์ (26 ต.ค.) อาจไม่สามารถหาทางออกให้กับสถานการณ์ความขัดแย้งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ได้ นอกจากนี้ยังชี้ด้วยว่า สาเหตุที่ทางออกทั้ง 4 ข้อ ยากจะเกิดขึ้นได้ในขณะนี้ เป็นเพราะเห็นได้ชัดว่าทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายผู้ประท้วง ยังคงมีจุดยืนที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว และยังอยู่ห่างไกลจากการประนีประนอม ซึ่งจะส่งผลให้ความขัดแย้งทางการเมืองในไทย ยังคงจะดำเนินต่อไป

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 
พ้นเส้นตาย 4 ทุ่ม! มวลชนประกาศนัดหมายใหม่ หลังนายกฯ ไม่ลาออก
ราชกิจจาฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมสมัยวิสามัญ 26 ต.ค. 63

นายกฯ แถลงจ่อยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ครม.เห็นชอบเปิดประชุมสภา 26-27 ต.ค.63

ขณะที่ สเตรทส์ ไทม์ส สื่อดังของสิงคโปร์ รายงานข่าวว่า การชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลในไทยได้ดำเนินมาเกือบครบ 2 สัปดาห์แล้ว นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา ยังไม่มีแนวโน้มจะยุติลงโดยง่าย โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งครองอำนาจมาตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อปี 2554 หรือเมื่อ 6 ปีก่อน ยังคงยืนกรานปฏิเสธข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประท้วง ที่ต้องการให้เขาลาออกจากตำแหน่ง พร้อมอ้างผลโพลล์ที่ระบุ คนไทย 59% มีความกังวลว่า การประท้วงอาจนำไปสู่ความรุนแรง และทำให้เกิดความขัดแย้งในประเทศ

vlcsnap-2020-10-23-20h47m33s4

ด้าน เดลี่ เมล์ เว็บไซต์ข่าวของอังกฤษระบุว่า ในสายตาของฝ่ายผู้ประท้วง พลเอกประยุทธ์ ต้องการครองอำนาจต่อไป ทั้งๆที่ตนเองมิได้เป็นผู้นำที่มาจากระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ เพราะถึงแม้ขณะนี้ พลเอกประยุทธ์จะมีสถานะเป็น นายกรัฐมนตรีพลเรือนแล้วภายหลังการเลือกตั้งในปีที่แล้ว แต่ฝ่ายที่ต่อต้านก็ชี้ว่า การเลือกตั้งครั้งล่าสุดขาดความชอบธรรมและไม่ได้ถูกจัดขึ้นตามกติกาประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และแม้พลเอกประยุทธ์จะยืนกรานไม่ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ก็ได้พยายามหาทางออกให้กับวิกฤตความขัดแย้งนี้ด้วยการเปิดประชุมรัฐสภาเป็นกรณีพิเศษในวันพรุ่งนี้ (26 ต.ค.) เพื่อเปิดทางให้มีการอภิปรายและหารือร่วมกันของบรรดาสมาชิกรัฐสภา ซึ่งรวมถึง บรรดาพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่มีจุดยืนเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน

vlcsnap-2020-10-16-22h46m55s1

ด้าน สถานีโทรทัศน์บลูมเบิร์ก ของสหรัฐฯ ระบุว่า กลุ่มผู้ประท้วงที่นำโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก และแนวร่วมธรรมศาสตร์เพื่อการประท้วง ยังเตรียมเคลื่อนขบวนไปยังสถานทูตเยอรมนีในกรุงเทพฯในวันจันทร์ (26 ต.ค.) เพื่อหวังกดดันให้ทางสถานทูต และทางการเยอรมนี สนับสนุนข้อเรียกร้อง โดยนอกจากกลุ่มผู้ประท้วงจะต้องการให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก้าวลงจากอำนาจแล้ว ผู้ชมนุมยังต้องการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปสถาบันด้วย

อย่างไรก็ดี บลูมเบิร์ก มองว่า การประกาศเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมไปยังสถานทูตเยอรมนีในวันพรุ่งนี้ของกลุ่มผู้ประท้วงยังคงไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน 

สื่อดังของสหรัฐฯ ระบุว่า นอกเหนือจากการประท้วงที่เกิดขึ้นตามพื้นที่ต่างๆของกรุงเทพมหานครแล้ว ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยังจัดการชุมนุมและจัดกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ขึ้นในอีกอย่างน้อย 9 จังหวัดตลอดสุดสัปดาห์ด้วยเช่นกัน เพื่อเพิ่มแรงกดดันให้พลเอกประยุทธ์ลาออก ถึงแม้พลเอกประยุทธ์จะยังคงประกาศว่าจะไม่ก้าวลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เขาครองมานาน 6 ปี ตั้งแต่หลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557

vlcsnap-2020-10-24-22h04m17s4_1

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม