"แอมเนสตี้" ยกหลักสากลจวกสลายการชุมนุม-จี้ปล่อยตัวผู้ชุมนุม

15 ต.ค. 63

"แอมเนสตี้" ยกหลักสากลจวกรัฐบาลไทยสลายการชุมนุมไม่ชอบธรรม พร้อมจี้ให้ตำรวจปล่อยตัวผู้ชุมนุมโดยไม่มีเงื่อนไข และให้ติดต่อทนาย 

จากกรณีเมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้( 15 ต.ค.) นายกฯได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร สั่งห้ามการชุมนุมของบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และห้ามการเผยแพร่ข้อมูลที่อาจทำให้เกิดความหวาดกลัว

วันนี้(15 ต.ค.) มิง ยู ฮารองผู้อำนวยการภูมิภาคด้านการรณรงค์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า คำสั่งที่คลุมเครือและรุนแรงเช่นนี้ จะยิ่งนำไปสู่การจับกุม ควบคุมตัว และดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรมมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีการชุมนุมอีกครั้งในวันนี้ จึงเรียกร้องทางการไทยให้หาทางเจรจากับผู้ชุมนุมเพื่อให้สถานการณ์เป็นไปในทางที่ดีขึ้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ย้อนไทม์ไลน์ 'คณะราษฎร 63' จากอนุสาวรีย์ฯ จบที่ประกาศสลายชุมนุม
- แถลงสู้! "เยาวชนปลดแอก" ย้ำจุดยืนชุมนุมต่อ นัดรวมพลราชประสงค์
- นายกฯ ลงนามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ
ด่วน! จนท.ควมคุมฝูงชนตั้งกำแพงมนุษย์ ถือโล่ปราบจราจลประจันหน้าผู้ชุมนุม กดดันขอคืนพื้นที่ข้างทำเนียบโล่ง

"การจับกุมผู้ชุมนุมจำนวนมากเมื่อเช้านี้ เป็นวิธีการที่ไม่ชอบธรรมเมื่อเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวาน เพราะการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ การดำเนินงานของรัฐเช่นนี้มีเจตนาอย่างชัดเจนเพื่อปราบปรามผู้ที่มีความเห็นต่าง ทำให้เกิดความหวาดกลัวในกลุ่มประชาชนที่เห็นด้วยกับผู้ชุมนุม เราขอเรียกร้องให้ตำรวจไทยปล่อยตัวผู้ชุมนุมโดยสงบทั้งหมดทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข และผู้ชุมนุมทุกคนที่ถูกควบคุมตัวจะต้องสามารถติดต่อทนายความได้" นายมิง ยู ฮากล่าว

การจับกุมครั้งนี้และการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างฉับพลันในยามวิกาลเป็นการเพิ่มมาตรการปราบปรามเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบของไทย แทนที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและจับกุมผู้ชุมนุมจำนวนมาก ทางการไทยควรเปลี่ยนแนวทาง โดยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่จะเคารพสิทธิของบุคคลทุกคนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นโดยสงบ ทั้งผ่านทางโซเชียลมีเดียและการชุมนุมบนท้องถนน

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม