เช็กเลย! ใครมีโอกาสเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS โรคที่ี "แม่ทุม" ต่อสู้มานานหลายปี

7 ก.ย. 63

รู้จักโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS โรคที่ี "แม่ทุม" ต่อสู้มานานหลายปี พร้อมเปิดสาเหตุของโรค และใครบ้างมีโอกาส

จากข่าว "แม่ทุม ปทุมวดี" เสียชีวิตหลังต่อสู้กับโรค "ไทรอยด์เป็นพิษ" และ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS มายาวนานหลายปี ที่รายงานไปก่อนหน้านี้นั้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- สุดอาลัย "แม่ทุม" เสียชีวิตแล้ว หลังสู้อาการป่วย ALS -ไทรอยด์ นานหลายปี
รู้จัก "ไทรอยด์เป็นพิษ" และอาการผิดปกติที่เสี่ยงเป็นโรคแบบ "แม่ทุม"

เปิดเรื่องราวชีวิตคู่ "พ่อรอง-แม่ทุม" กับบทพิสูจน์ "รักแท้มีอยู่จริง"
- “พ่อรอง เค้ามูลคดี” ถูกหามส่งโรงพยาบาลด่วน!! หลังวูบคาห้องพระ!!

ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนเคยเกิดกระแสในโลกโซเชี่ยลที่กำลังเป็นที่จับตามองของ Ice Bucket Challenge ที่กระตุ้นให้คนตระหนักถึงโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS มากขึ้น แต่จนถึงตอนนี้ อาจมีบางท่านยังสงสัยว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS นี้คืออะไร เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กัน

1599460543192

คำว่า ALS ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Sclerosis โรค ALS เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง โดยที่เซลล์ประสาทนำคำสั่งเหล่านี้ค่อยๆ เกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด 

thinkstockphotos-78025132_5

ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเหตุใดเซลล์ประสาทนำคำสั่งจึงเกิดการเสื่อม โดยสมมติฐานเชื่อว่า ALS เกิดจากหลายเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกัน ได้แก่ การมีปัจจัยบางอย่างทางพันธุกรรมซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดที่ทำให้มีเซลล์ประสาทนำคำสั่งมีโอกาสเสื่อมได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง สาร โลหะหนัก รังสีหรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิดมาช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้เซลล์ประสาทนำคำสั่งเกิดการทำงานผิดปกติ ร่วมกับอายุที่สูงขึ้นตามกาลเวลาทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ แต่สมมติฐานเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์แน่ชัด

hero-electromyography-1

ซึ่งข้อมูลในประเทศสหราชอาณาจักรพบประชากรทุกๆ 100,000 คนเป็นโรค ALS ประมาณ 2 คนต่อปี อายุเฉลี่ยที่เกิดขึ้นของโรคอยู่ระหว่าง 60-65 ปี ดังนั้นโอกาสที่จะพบโรค ALS ในคนอายุมากจึงมีมากกว่าในคนอายุน้อย โดยทั่วไปแล้วมักพบโรค ALS ได้บ่อยประมาณ 1.5 เท่าของเพศหญิง และประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วย ALS จะไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่แน่ชัดทางพันธุกรรม ดังนั้น ผู้ที่ไม่มีประวัติครอบครัวที่ชัดเจน จึงมีโอกาสเสี่ยงน้อยมากที่จะเกิดโรคในรุ่นลูกรุ่นหลาน นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ชัดเจนว่านักกีฬามีโอกาสเสียงต่อการเกิดโรคนี้ได้มากกว่าอาชีพอื่นๆ

1599460277105

ส่วนอาการของโรคนั้น เริ่มต้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของมือ แขนขาหรือ เท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่น ยกแขนไม่ขึ้นเหนือศีรษะ กำมือถือของไม่ได้ ข้อมือหรือข้อเท้าตก เดินแล้วหกล้มบ่อยหรือสะดุดบ่อย ขึ้นบันไดลำบาก นั่งยองๆลุกขึ้นลำบาก เป็นต้น อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงอ่อนแรงจะค่อยๆเป็นมากขึ้นจนลามไปทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของแขนหรือขาทั้ง 2 ข้างตั้งแต่ต้น นอกจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้วยังพบว่ามีกล้ามเนื้อลีบร่วมกับกล้ามเนื้อเต้นที่เรียกว่า fasciculation ร่วมด้วย

messageimage_1599459067741

ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยมือลีบหรือขาลีบ พูดไม่ชัด พูดเหมือนลิ้นแข็ง หรอลิ้นลีบ เวลากลืนน้ำหรืออาหารแล้วจะสำลัก ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง ทำให้เหนื่อยง่ายโดยเฉพาะเวลานอนราบหรือมีอาการต้องตื่นกลางดึกเพราะมีอาการเหนื่อยหายใจไม่อิ่ม 

messageimage_1599459108181

โดยทั่วไปเมื่ออาการของโรค ALS เป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อของแขนขาอ่อนแรงและลีบที่แย่ลงร่วมกับกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด การกลืนอ่อนแรง จนต้องใช้ท่อให้อาหารทางสายยางผ่านทางจมูกหรือทางหน้าท้อง และกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงอ่อนแรงจนกระทั่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรค ALS ให้หายขาดได้ ร้อยละ 50 ของผู้ป่วย ALS โดยเฉลี่ยจะเสียชีวิตหลังจากมีอาการในระยะเวลาประมาณ 2.5 ปี สาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดจากระบบหายใจล้มเหลวและการติดเชื้อในปอดอันเนื่องมาจากการสำลัก

ที่มา: rama.mahidol.ac.th

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ