ราชทัณฑ์ แจงการห้ามขายบุหรี่ในเรือนจำ เป็นไปตามกฎหมาย ดีต่อสุขภาพของผู้ต้องขัง

5 ก.ย. 63

กรมราชทัณฑ์ยืนยันการยกเลิกบุหรี่เข้าภายในเรือนจำ ดำเนินการไปด้วยความเหมาะสม เป็นไปตามกฎหมาย และเกิดประโยชน์กับผู้ต้องขังเป็นอย่างมาก หากพบ จนท.ลอบขายจะถูกดำเนินการทางกฎหมายและวินัยอย่างถึงที่สุด

พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นคำร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อพิจารณาสั่งการให้กรมราชทัณฑ์ทบทวนหรือยกเลิกนโยบายห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบและหรือยาเส้น ในร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขังในเรือนจำหรือในทัณฑสถานทุกแห่งทั่วประเทศ เนื่องจากอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะบุหรี่หรือยาเส้นมิได้เป็นสิ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ อีกทั้งเชื่อว่าการบังคับให้บุคคลเลิกสูบบุหรี่ไม่สามารถทำให้เลิกได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงอาจเป็นการเปิดช่องทางให้เจ้าหน้าที่ลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายในเรือนจำ

โดยกรมราชทัณฑ์ ขอเรียนว่า ก่อนที่จะมีนโยบายเลิกจำหน่ายบุหรี่ในเรือนจำ มีการสำรวจผู้ต้องขังในเรือนจำทั่วประเทศติดบุหรี่ถึงร้อยละ 40 ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ต้องขังที่ไม่สูบบุหรี่เพราะสภาพภายในเรือนจำค่อนข้างแออัด เมื่อมีนโยบายดังกล่าวเกิดขึ้น พบว่ามีผู้ต้องขังที่เจ็บป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจลดลง ส่งผลให้ลดภาระทางการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้ต้องขังเองและเป็นโอกาสที่เหมาะสมในการเลิกบุหรี่

นอกจากนี้นโยบายดังกล่าวได้มีการหารือร่วมกันหลายฝ่าย มีการวางแนวทางและโครงการนำร่องเพื่อทดสอบความเหมาะสมในการลด ละ เลิก บุหรี่ของผู้ต้องขัง โดยรณรงค์เลิกสูบบุหรี่มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2547 จนถึง ปี พ.ศ.2562 จึงมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตามราชกิจจานุเบกษา เรื่อง กำหนดเพิ่มเติมสถานที่ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2562 ณ วันที่ 7 ก.พ.2562 ซึ่งการยกเลิกการจำหน่ายยาสูบและหรือบุหรี่ยาเส้นภายในเรือนจำ มีการรณรงค์อย่างค่อยเป็นค่อยไป มิได้ดำเนินการรวดเร็ว อีกทั้ง ในเรือนจำยังมีสถานพยาบาล และเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ทำให้การเลิกบุหรี่ส่งผลกระทบต่อผู้ต้องขังน้อยที่สุด ส่วนข้อกังวลว่าอาจเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ลักลอบนำมาจำหน่ายในเรือนจำนั้น ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถสูบบุหรี่หรือนำบุหรี่เข้าภายในเรือนจำได้ หากมีการลักลอบเกิดขึ้น จะมีความผิดทางกฎหมายและต้องถูกดำเนินการทางวินัยอย่างถึงที่สุด

ahr0chm6ly9zlmlzyw5vb2suy29tl_2

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ