คลายล็อก "รถเมล์-รถไฟฟ้า" คนในครอบครัวนั่งติดกันได้ 1 ก.ค. นี้

18 มิ.ย. 63

รมว.คมนาคม สั่งหน่วยงานในสังกัดคลายล็อกให้นั่งติดกันได้ แต่ต้องเป็นคนในครอบครัวที่เดินทางมาด้วยกันเท่านั้น เริ่ม 1 ก.ค นี้ใน รถเมล์ - รถไฟฟ้าก่อน

วันนี้ (18 มิ.ย.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดีขึ้นต่อเนื่อง จึงได้ให้หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องกับทุกโหมดการเดินทาง คลายล็อกการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) จากเดิมที่ต้องนั่งเว้นที่นั่ง ให้สามารถนั่งติดกันได้ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นผู้โดยสารที่เป็นคนในครอบครัวเดียวกันแะเดินทางมาด้วยกัน และต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทางเท่านั้น

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปจัดทำแผนและวิธีปฏิบัติในการไม่ต้องเว้นที่นั่ง เช่น การติดสติกเกอร์สัญลักษณ์ว่าเดินทางมาด้วยกัน เป็นต้น คาดว่าจะได้ข้อสรุปต้นสัปดาห์หน้า และจะเริ่มคลายล็อกการนั่งเว้นที่นั่งตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป โดยก่อนจะเริ่มคลายล็อก ทุกหน่วยงานต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารทราบโดยทั่วกันถึงวิธีปฏิบัติ ส่วนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอื่น ๆ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดยังคงต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดต่อไป

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 
ขึ้นรถไฟ-รถไฟฟ้า ต้องสวมหน้ากาก เริ่ม 25 มี.ค. ใครไม่มี ที่สถานีมีขาย
บีทีเอส" แจงประเด็นร้อน "วิ่งแบบเปิดหน้าต่าง" สกัดโควิดแพร่
รฟม.ขยายเวลาลดค่าโดยสาร "MRT สายสีม่วง" จ่ายสูงสุด 20 บาท ถึง ก.ย.นี้
- ป่วนเวอร์! ขึ้นลงรถเมล์ ต้องสแกน "ไทยชนะ" โซเชียลบ่นยับ ยืนเฉย ๆ ยังลำบาก

ทั้งนี้มาตรการไม่ต้องเว้นที่นั่งในนช่วงแรก จะดำเนินการในระบบขนส่งสาธารณะที่ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 50 นาทีก่อน เช่น รถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง เนื่องจาก มีผลการศึกษาว่าหากผู้โดยสารอยู่รวมกันไม่เกิน 50 นาที และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลานั้น โอกาสที่จะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นศูนย์

ส่วนระบบอื่นที่เดินทางนานกว่า 50 นาที เช่นการเดินทางข้ามจังหวัด ผ่านทางรถไฟ รถบขส. และรถทัวร์ ยังต้องใช้มาตรการเว้นระยะห่างตามเดิมไปก่อน และต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง เนื่องจากรัฐบาล และศบค.ยังไม่ต้องการให้ลดมาตรฐานลง

91287606_2479494288933957_583

นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงความคืบหน้าการเสนอกรอบวงเงินตามมาตรการที่เข้าข่ายลักษณะแผนงานโครงการตามบัญชีแนบท้าย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อ เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในส่วนของกระทรวงคมนาคมนั้น ได้เสนอกรอบวงเงินของกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ประมาณกว่า 7 พันล้านให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาแล้ว เพื่อเยียวยาผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะทางบก อาทิ รถโดยสาร รถ บขส. และแท็กซี่ ในเรื่องต้นทุนช่วงที่มีมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม ส่วนหน่วยงานอื่น ๆ ที่ดูแลทางด้าน น้ำ ราง และอากาศ ได้เร่งให้ดำเนินการจัดส่งมายังกระทรวงคมนาคมภายในสัปดาห์หน้า

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ