สาวอ่างทองปรับพื้นที่ว่างข้างบ้านเลี้ยง "ปูนา"

16 มิ.ย. 63

สู้ภัยโควิด! สาวอ่างทองสุดเจ๋ง ปรับพื้นที่ว่างข้างบ้านเลี้ยง "ปูนา" ก่อนต่อยอด แปรรูปเป็นสินค้าหลากชนิด

ปูนาเป็นปูน้ำจืด แหล่งที่อยู่มักจะอยู่ในนาข้าวจึงเรียกว่าปูนา ปูนาแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงบางพื้นที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเกษรกรผู้ปลูกข้าวในไทย ก็ถือว่าปูนาเป็นศัตรูพืชของข้าว เพราะปูจะกัดกินต้นข้าวที่ปักดำใหม่ๆ ทำให้ชาวนาต้องปักดำซ้ำหลายครั้ง

1592267938444

แต่ปูนาก็เป็นอาหารราคาถูกและหาง่ายโดยเฉพาะกับวิถีชีวิตผู้คนในชนบท และเป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ จนปัจจุบัน ปูนา ได้กลายเป็นสัตว์เศรฐกิจยุคใหม่ที่กำลังเติบโตด้วยการเลี้ยงแบบฟาร์ม ซึ่งสามารถเพาะพันธุ์ปูนาส่งขายรวมถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลากหลายชนิด

เช่นเดียวกับนางสาวสุวนันท์ กลีบยี่โถ วัย 25 ปี ชาวบ้านหมู่ 6 ตำบลป่างิ้ว อำเภอเมืองอ่างทอง ซึ่งแต่เดิมมีอาชีพรับจ้างเกี่ยวข้าวให้กับชาวนา แต่หลังจากประสบปัญหาภัยแล้ง ติดต่อกันมาหลายปีทำให้ไม่มีงานเกี่ยวข้าว ประกอบกับปีนี้มีโรคไวรัสโควิด-19 ระบาด จึงต้องหาอาชีพใหม่ๆ

1592267865165

และเมื่อเจ้าตัวได้ศึกษาการเลี้ยงปูนาน้ำใส ซึ่งเป็นสัตว์เศรฐกิจตัวใหม่นี้ จึงตัดสินใจปรับพื้นที่ข้างบ้านสร้างบ่อซีเมนต์ขึ้นมาเพื่อเลี้ยงปูนาทันที โดยนางสาวสุวนันท์ เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกได้ซื้อพ่อแม่พันธุ์ปูนาจากฟาร์มในจังหวัดกำแพงเพชรคู่ละ 100 บาทจำนวน 20 คู่ และลองขยายพันธุ์จนได้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์กว่า 300 คู่

จากนั้นก็ทำการขยายพันธุ์มาเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ปูนา พอประมาณที่จะส่งขาย โดยปูนาจะขายได้ทั้งหมดทุกส่วน เนื้อปูขายได้กิโลกรัมละ 80 บาท มันปูกิโลกรัมละ 1,200 บาท กระดองปูก็สามารถตากแห้งจำหน่ายให้กับลูกค้าทางภาคเหนือ นำไปใส่เมนู "อ๋องมันปู" หรือไข่มันปูนานึ่ง ส่วนก้ามและเปลือก ที่เหลือก็บดขายให้เกษตรกร

1592268327212

นอกจากนี้ยังสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำพริกปู คุกกี้มันปู ทองม้วนมันปู ซอสพริกไทยดำปู กะปิปู รวมถึง "น้ำปู๋" ซึ่งเป็นเครื่องปรุงรถของอาหารทางภาคเหนือ และนอกจากทำผลิตภัณท์จากปูแล้ว ที่นี่ยังเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ปูนาแห่งแรกของจังหวัดอ่างทอง ที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้วิธีการเพาะเลี้ยงปูนาด้วย

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ