จิตแพทย์ดัง ชี้ดื่ม "เหล้าเบียร์" ช่วยเยียวยาจิตใจ วอนสายขาวหยุดทัศนคติแง่ลบ

5 พ.ค. 63

กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ร้อนฉ่าหลังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้รับการผ่อนปรนให้ขายได้ ซื้อมาดื่มในบ้านได้ ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา

ในวันนั้นเองได้ปรากฏคลิปแพร่ในโซเชียล เมื่อประชาชนแห่เข้าห้าง แย่ง เบียดเสียดกันซื้อเหล้าเบียร์ เมินสิ้นมาตรการ "เว้นระยะห่าง" ทำให้เกิดแรงต้านจากคนในสังคมไม่น้อย
อีกทั้งยังมีกระแสเหน็บแนมประมาณว่า ไม่มีเงินซื้อข้าวแต่มีเงินซื้อเหล้าเบียร์ ลุกลามเป็นข้อโต้แย้งที่ไร้จุดสิ้นสุด


ล่าสุด นพ.สุกมล วิภาวีพลกุล หัวหน้าแผนกจิตเวช โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ชี้ให้เห็นในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อดีของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมวอนเปิดใจทำความเข้าใจนักดื่ม

"ในยุคที่ยังไม่มียาจิตเวช (คลายเครียด แก้เศร้า)
คนเราใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอร์ทำให้อารมณ์ดี
เหล้าลดความฟุ้งซ่านจากความเครียดในชีวิตจริง
เหล้าไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา แต่ช่วยให้สมองไม่จ่อมจม

ในภาวะมึนเมา เคลิบเคลิ้ม คลื่นสมองจะลดความถี่ลง
จาก Beta (เครียด ฟุ้งซ่าน) มาเป็น Alpha (ผ่อนคลาย)
และ Theta (สลึมสลือ) แล้วก็ Delta (หลับสนิท)

ในช่วงภวังคจิต จิตรู้สำนึกอ่อนกำลังลง
เขาปลดปล่อยความเจ็บปวดที่ซ่อนตัวในจิตใต้สำนึก
คนเมาจะระเบิดน้ำตาแห่งความร้าวรานใจโดยไม่อาย
ร้องไห้เดียวดาย ซึ่งในสภาพจิตที่มีสติเขายิ้มกลบเกลื่อน

เหล้าให้ความอบอุ่นในสภาพอากาศที่เหน็บหนาว
เหล้าทำให้เขาซาบซึ้งกับเพลงที่ได้ยิน ทำให้หลับสนิท
ถ้าไม่กินเหล้าจนเมา เขาอาจลงมือฆ่าตัวตายไปแล้วก็ได้
....
อยากให้เข้าใจคนที่ดื่มเหล้า
เมื่อเข้าใจ ก็ไม่แดกดันคนที่ดื่มสุรา
เหมือนคนรักดนตรีคลาสสิค ก็ไม่ถ่มถุยคนฟังเพลงลูกทุ่ง"

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ