กินเจ 2567 เทศกาลถือศีลกินผัก เริ่มต้นวันไหน ควรต้องเตรียมตัวอย่างไร ?

26 ก.ย. 67

กินเจ 2567 เทศกาลกินเจ เทศกาลถือศีลกินผัก เริ่มต้นวันไหน ควรต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง จุดประสงค์ ข้อควรปฏิบัติ-ข้อห้ามมีอะไรบ้าง ดูได้เลยที่นี่!

เทศกาลกินเจ หรือ กินเจ 2567 หรือเรียกอีกแบบว่า ประเพณีถือศีลกินเจ กำหนดเอาตามวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี ซึ่งในปี 2567 นี้ ตรงกับวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 รวม 9 วันเต็ม นับเป็นการถือศีลอีกอย่างสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน กลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และสาระสำคัญของ กินเจ 2567 ไม่ใช่มีแค่การไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ต้องปฏิบัติตัวให้อยู่ในศีลธรรม มีสะอาดบริสุทธ์ทั้งกายวาจาใจไปพร้อมกัน

 

pic-in-web-4

เทศกาลกินเจ คืออะไร ?
กินเจ 2567 หรือ เทศกาลกินเจ ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีที่กำหนดตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 มีจุดเริ่มต้นโดยชาวเปอรานากัน ในประเทศมาเลเซียและทางภาคใต้ของประเทศไทย ไม่ใช่ของชาวจีนโพ้นทะเลทั้งหมด ปัจจุบัน เทศกาลกินเจถูกจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ตลอดจนหมู่เกาะเรียวในอินโดนีเซีย และอาจมีในบางประเทศเอเชียด้วยเช่นกัน

กินเจ 2567 เริ่มต้นวันไหน
ประเพณีถือศีลกินเจ หรือ เทศกาลกินเจ กำหนดเอาตามวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี ซึ่งในปี 2567 นี้ ตรงกับวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 รวม 9 วันเต็ม

ความเชื่อเรื่องการกินเจในประเทศไทย
ข้อมูลจาก สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ให้รายละเอียดไว้ว่า การกินเจในประเทศไทย มีความเชื่อกันว่าเป็นการละเว้นการเอาชีวิตสัตว์ เพื่อเป็นสักการบูชาแก่พระพุทธเจ้า และมหาโพธิสัตว์กวนอิม เป็นหนึ่งในวิธีบูชาที่เชื่อโยงกับความเชื่อที่ว่า การไม่กินเนื้อวัวในกลุ่มคนที่นับถือเจ้าแม่กวนอิม ถือเป็นการบูชา การใช้เวลา 9 วัน เพื่อละเว้นเนื้อสัตว์ หรือการกินเจจึงกลายเป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อสักการะ

pic-in-web-6

 

ความหมายของการ กินเจ
"เจ" ในภาษาจีนมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจจึงเป็นเหมือนกับที่ชาวพุทธรักษาศีล 8 การกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน แต่เนื่องจากการถือศีลของนิกายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำไปรวมเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ

ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจไม่ใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ

หัวใจของการกินเจ เพราะมนุษย์กินแต่อาหารพืชผัก ก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ การกินเจจึงตั้งมั่นอยู่บนหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารที่ไม่เบียดเบียนตนเอง และดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น คือ

  • ไม่เอาชีวิตของสัตว์มาต่อเติมบำรุงเลี้ยงชีวิต
  • ไม่เอาเลือดของสัตว์มาเป็นเลือดของตน
  • ไม่เอาเนื้อของสัตว์มาเป็นเนื้อของตน

 

จุดประสงค์ของการกินเจ
การเลือกบริโภคแต่อาหารเจ หรือ อาหารที่ปรุงขึ้นโดยไม่มีเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ เช่น นม ไข่ น้ำผึ้ง น้ำปลา เจลาติน คอลลาเจน และไม่ปรุงด้วยผักที่มีกลิ่นฉุน ได้แก่ กระเทียม ต้นหอม หัวหอม หอมแดง หลักเกียว กุยช่าย และผักชี โดยมีจุดประสงค์ของการกินเจ ดังนี้

  1. กินเพื่อสุขภาพ เพราะเมื่อกินติดต่อไปช่วงเวลาหนึ่ง จะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ
  2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากอาหารที่เรากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้มีจิตเมตตาและจิตสำนึกอันดีงาม ย่อมไม่อาจกินเลือดเนื้อของสัตว์ ที่ซึ่งมีเลือดเนื้อและจิตใจเช่นคน
  3. กินเพื่อเว้นกรรม เพราะการกินซึ่งอาศัยการฆ่าเป็นการสร้างกรรม แม้ไม่ได้ลงมือเองการซื้อก็เหมือนจ้างฆ่า เพราะถ้าไม่มีคนกิน ก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย

pic-in-web-5

 

ข้อควรปฏิบัติ-ข้อห้าม กินเจ 2567
ในช่วงถือศีลกินเจ สามารถปฎิบัติได้โดยการงดละเว้นเนื้อสัตว์ งดสิ่งอบายมุข งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นการชำระร่างกายให้อยู่ในการถือศีลอย่างเต็มตัว และควรแยกอุปกรณ์ทำครัว ไม่ให้ปะปนจากคนที่ไม่กินเจ ทั้งนี้ อาจล้างท้องปรับสภาพของร่างกายให้พร้อมต่อการกินอาหารเจ

  • งดเว้นเนื้อสัตว์
  • งดทำอันตรายต่อสัตว์
  • งดนม เนย
  • งดน้ำมันที่มาจากสัตว์
  • งดอาหารรสจัด (รสเค็มมาก หวานมาก เปรี้ยวมาก เผ็ดมาก)
  • งดผักกลิ่นฉุน 5 ชนิด คือ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ รวมทั้งเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน
  • สำหรับคนที่กินเจอย่างเคร่งครัด ควรเลือกผู้ปรุงอาหารเจที่กินเจด้วย เพื่อให้อาหารเจบริสุทธิ์จริง ๆ

 

ที่มา : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง (lib.ru.ac.th)

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม