ธนาคารโลกชี้ คนจนไทยพุ่งแตะ 6.7 ล้านคน - จีดีพีเติบโตต่ำสุดในภูมิภาค

6 มี.ค. 63
นางเบอร์กิต ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทยเผยรายงานความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย โดยพบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2558-2561 ความยากจนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 7.2% เป็น 9.8% หรือคิดเป็นจำนวนจากเดิม 4.85 ล้านคน เป็นมากกว่า 6.7 ล้านคน ในภาคกลางและภาคอีสาน พบประชากรยากจนเพิ่มขึ้นกว่า 5 แสนคนในช่วงปี 58-61 โดยจังหวัดที่มีอัตราความยากจนสูงสุดได้แก่ 1.แม่ฮ่องสอน 2.ปัตตานี 3.กาฬสินธุ์ 4.นราธิวาส 5.ตาก พบว่าส่วนใหญ่เป็นจังหวัดใกล้พรมแดนหรืออยู่ในพื้นที่ความขัดแย้ง
นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ของไทยเติบโตในระดับต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค โดยเป็น 1 ในประเทศที่จีดีพีต่ำที่สุดในภูมิภาค ซึ่งในปี 2562 ที่ผ่านมา จีดีพีไทยอยู่ที่ร้อยละ 2.7  (ตัวเลขประมาณการณ์ เดือนตุลาคม 2562) ซึ่งต่ำที่สุดในภูมิภาค อันเนื่องมาจากการค้าโลกอ่อนตัวลงกระทบต่อภาคการส่งออกและท่องเที่ยว และภัยแล้งที่มีผกระทบต่อเกษตรกร ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ยากจนที่สุด โดยพบว่ารายได้ที่แท้จริงของภาคการเกษตรและภาคธุรกิจลดลง ทั้งที่อยู่ในเขตชนบทและเขตเมือง
"หากไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศรายได้สูงตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ภาคครัวเรือนจะต้องได้รับการคุ้มครองดูแลจากปัจจัยที่ทำให้รายได้ครัวเรือนปรับลดลงรุนแรง เช่น ปัญหาสุขภาพ การตกงาน และภัยธรรมชาติ ที่ดีกว่านี้ และที่สำคัญจะต้องสนับสนุนการสร้างงานที่มีผลิตภาพและรายได้สูงมากขึ้น" นางเบอร์กิตกล่าว
ทั้งนี้พบว่า ไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต้องเผชิญกับอัตราความยากจนที่เพิ่มสูงขึ้นหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี 43

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ