โคราช พบซากช้างดึกดำบรรพ์ ยุคไทรแอสซิก อายุกว่า 200 ล้านปี ครั้งแรกในพื้นที่

1 พ.ย. 62
วันที่ 1 พ.ย. ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน และทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลิมพระเกียรติ์ และดร.จรูญ ด้วงกระยอม ผู้เชี่ยวชาญซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบซากฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์ จำนวน 5 ชิ้น หลังจากชาวบ้านในพื้นที่พบซากฟอสซิล บริเวณคลองน้ำบ้านขาคีม หมู่ 2 ต.หลุมข้าว อ.โนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อช่วงต้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมา
งาช้างดึกดำบรรพ์ อายุ 200 ล้านปี
ดร.จรูญ ด้วงกระยอม ผู้เชี่ยวชาญซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ บอกว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นครั้งนี้ มีทั้งสัตว์ที่มีอายุใกล้เคียงกับยุคปัจจุบัน และยุคดึกดำบรรพ์ที่กลายเป็นฟอสซิลแล้ว โดยเฉพาะฟอสซิลที่พบจำนวน 5 ชิ้น เชื่อว่าเป็นกระดูกงาช้าง ในช่วงยุคไทรแอสซิก มีอายุประมาณ 200 ล้านปี
ดร.จรูญ ด้วงกระยอม ผู้เชี่ยวชาญซากสัตว์ดึกดำบรรพ์
โดยบริเวณที่พบสันนิษฐานเหตุการณ์ได้ว่า มีสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่ในช่วงเวลานั้น เนื่องจากที่ผ่านมามีการพบซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ยุคไทรแอสซิก อายุประมาณ 200 ล้านปี เช่น ฟอสซิลหอยกาบคู่น้ำจืด จำนวนมาก โดยได้เก็บไว้ภายในสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ จ.นครราชสีมา ตั้งแต่ปี 2535 ส่วนการค้นพบฟอสซิลชิ้นส่วนงาช้างในครั้งนี้ นับว่าเป็นการค้นพบครั้งแรก ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เตรียมกั้นบริเวณที่พบฟอสซิลช้างทั้งหมด เพื่อขุดค้นหาชิ้นส่วนช้างและสัตว์ดึกดำบรรพ์เพิ่มอีก รวมทั้งใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาแห่งแรกของ จ.นครราชสีมาอีกด้วย

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ