ตำรวจไซเบอร์จับแก๊งหลอกส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง

2 มิ.ย. 66

ตำรวจไซเบอร์จับแก๊งหลอกส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา 11.00 น. ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี (บช.สอท) เมืองทองธานี พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบช.สอท. พล.ต.ต.ไพโรจน์ สุขรวยธนโชติ รอง ผบช.สอท. พล.ต.ต.ฐายุฏฐ์ จันทร์ถาวร รอง ผบช.สอท. พล.ต.ต.ณัฐกร ประภายนต์ ผบก.สอท.2 ร่วมกันแถลงข่าวการทลายเครือข่ายขบวนการหลอกส่งพัสดุเก็บเงินปลาย ตามยุทธการ “รุกฆาตปฏิบัติการลวง” ปิดล้อมตรวจค้น 2 จุดในพื้นที่ จ.ปทุมธานี

ตำรวจไซเบอร์จับแก๊งหลอกส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง

สืบเนื่องจากมีผู้เสียหายจำนวนมากถูกหลอกลวงให้ชำระค่าพัสดุปลายทาง ซึ่งผู้เสียหายไม่ได้เป็นผู้สั่งสินค้า จึงได้ทำการสืบสวนจนพบว่ามีการส่งพัสดุมาจาก บริษัทขนส่งแห่งหนึ่ง จากความร่วมมือของบริษัทขนส่ง ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบข้อมูลว่าคนร้ายติดต่อให้บริษัทขนส่งมารับพัสดุ 2 จุด เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงรวบรวมพยานหลักฐานออกหมายค้น เพื่อเข้าตรวจสอบและจับกุมผู้ต้องหา ได้แก่ นางสาวปัทมเนตร กิจศรีเจริญพร  และนายณัทกร หรือ โต๋ เล็กสุวรรณ

ตำรวจไซเบอร์จับแก๊งหลอกส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง

โดยจุดแรกโกดังสินค้า เลขที่ 10/17 หมู่ 4 ซอยบงกช 49 ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี  และ จุดที่ 2 บ้านเลขที่ 55/66 หมู่บ้านไอยรา ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ยึดของกลางกล่องพัสดุที่ติดชื่อและที่อยู่ผู้รับเรียบร้อยรอส่ง ระบุชื่อร้านที่ส่ง Shop88 , My Mee และ Peepo  Shoppy จำนวน 5425 กล่อง กล่องพัสดุกระดาษสีน้ำตาลที่เตรียมไว้แพค จำนวน 1200 กล่อง คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ไฟล์เอกสารรายชื่อและที่อยู่บุคคล จำนวน 5886 ชื่อ และอุปกรณ์สำหรับห่อพัสดุจำนวนมาก

ตำรวจไซเบอร์จับแก๊งหลอกส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง

ทั้งนี้คนร้ายยอมรับว่ามีการซื้อพัสดุที่แพ็คสำเร็จรูปมา ในราคากล่องละ 7 บาท ส่วนรายชื่อของผู้รับซื้อมาในราคา 3000 บาทต่อ 3000 รายชื่อ เมื่อแพ็คเสร็จแล้วก็จะแจ้งบริษัทขนส่งให้มารับพัสดุไปส่งให้ลูกค้า ยอมรับว่าที่ผ่านมาเคยขายสินค้าจริง จำหน่ายสินค้าผ่าน 2 เพจเฟซบุ๊ก ได้แก่ “Shop 4289” และ “สินค้าแฟชั่น”  สินค้าเป็นหมวกกับพัดลม แต่รายได้ไม่ดี จึงต้องใช้วิธีส่งสินค้าไปโดยที่คนรับไม่ได้สั่ง เพื่อหารายได้

ตำรวจไซเบอร์จับแก๊งหลอกส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง

ทางตำรวจบช.สอท. ขอให้บริษัทขนส่งช่วยกันสังเกตว่าร้านค้าใดถูกตีกลับสินค้าบ่อยครั้ง เพื่อนำข้อมูลไปตรวจสอบ โดยการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดฉ้อโกง ซึ่งประชาชนอาจเกิดความสงสัยและคำถามว่าคนร้ายได้รายชื่อของเรามาได้อย่างไร ในส่วนแรกอาจมาจากข้อมูลตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ อีกส่วนอาจมาจากข้อมูลตามกล่องพัสดุที่ถูกทิ้งตำรวจไซเบอร์จับแก๊งหลอกส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส