“กิ้งกือพ่นพิษ” ปล่อยน้ำแตกใส่ตาหนูน้อย 7 เดือนหวิดบอด - หมอชี้ฤทธิ์เท่าไซยาไนด์ (คลิป)

13 ก.ค. 60
ล่าสุด 12 กรกฎาคม 2560 นางสาวอัญชนา กายเพ็ชร อายุ 23 ปี อาชีพมัคคุเทศก์ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ขณะที่ตนเองและลูกชายชื่อน้องมาตฤณ อายุ 7 เดือน เข้านอนอยู่ในห้องนอน จนเวลาประมาณ 2 นาฬิกาเศษ ตนเองได้ลุกขึ้นเพื่อให้ลูกชายดื่มนม และเปลี่ยนผ้าอ้อมผืนใหม่ จากนั้นก็นอนต่อ ขณะที่ตนเองกำลังจะหลับ ได้ยินเสียงเบาๆ ตนเองก็คิดว่าลูกชายคงจะอุจจาระ และคิดว่าเดี๋ยวค่อยลุกเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ใหม่ จากนั้นลูกน้อยก็ได้ร้องขึ้นมาอย่างเจ็บปวด ทำให้ตกใจรีบลุกขึ้นเปิดไฟดู พบว่าลูกชายลืมตาไม่ขึ้น และพบกับหยดน้ำสีเหลืองริมขอบตา และลูกก็ร้องอย่างเจ็บปวด
เด็กที่ถูกพิษของกิ้งกือ
ซึ่งนางสาวอัญชนา จึงรีบเช็ดน้ำสีเหลืองออกและอุ้มลูกขึ้นมาและพบว่าที่ใต้หมอนของลูก มีกิ้งกือสีดำตัวใหญ่ม้วนเป็นวงกลมอยู่  จากนั้นจึงรีบพาลูกไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลท้ายเหมืองชัยพัฒน์ ซึ่งหมอได้หยอดยา และให้กลับบ้านรอดูอาการ  ด้วยความเป็นห่วงลูก ในช่วงเช้าจึงรีบพาไปพบจักษุแพทย์ที่โรงพยาบาลพังงา ซึ่งทางแพทย์บอกว่านับเป็นความโชคดีที่น้ำพิษไม่โดนตาดำ เพราะไม่นั้นจะทำให้ตาบอดได้ ทางแพทย์จึงให้ยากินและยาทามารักษา โดยตนเองสงสารลูกเป็นอย่างมากที่เกิดอาการอักเสบจะลืมตาด้านขวาไม่ได้เกือบ 1 อาทิตย์ จากนั้นก็กลายเป็นรอยไหม้ที่ริมขอบตา แต่อาการก็ทุเลาลงเรื่อยล่าสุดรอยแผลก็หายเป็นปกติแล้ว จึงอยากเตือนให้ทุกคนระวังภัยจากกิ้งกือโดยเฉพาะบนที่นอนให้ตรวจที่นอนก่อนนอนทุกครั้ง
นายสัตวแพทย์ทวีศักดิ์ อนันต์ศิริวัฒนา สัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลสัตว์คลองหลวง
ทางด้าน นายสัตวแพทย์ทวีศักดิ์ อนันต์ศิริวัฒนาสัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลสัตว์คลองหลวง เปิดเผยว่า ในความเป็นจริงแล้วตัวกิ้งกือนั้นมีสารพิษอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทภายในลำตัว คือสารไซยาไนด์และเบนโซควิโน ซึ่งสารชนิดนี้จะหลั่งออกมาหากมนุษย์เข้าไปสัมผัสถูกตัวของกิ้งกือ โดยจะหลั่งน้ำออกมาเป็นสีเหลือง มีกลิ่นเหม็น แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนอีกประเภทจะมีสารออกมาเป็นแบบเหลวใส มีฤทธิ์ทำให้ผิวหนังไหม้ และมีอาการปวดแสบปวดร้อนอยู่ 2-3 วัน และคันผิวหนัง ส่วนถ้าเจอพิษ ของกิ้งกือเข้าสู่ดวงตาจนทำให้ตาบอดนั้นไม่เป็นความจริง เพราะสารพิษที่เข้าสู่ดวงตานั้นทำให้ดวงตาอักเสบเท่านั้น และต้องรักษาด้ายการล้างดวงตาด้วยน้ำเปล่าและใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดบริเวณที่ถูกพิษ เพื่อล้างสารพิษออกหลังจากนั้นต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ