ชาบูบาตรพระ เหมาะสมหรือไม่พระให้คิดเอง เจ้าของร้านแจงแล้วแต่มุมมองคน

9 มี.ค. 66

ชาบูบาตรพระ เจ้าของร้านแจงที่มาไอเดียไม่สนดราม่าชี้แล้วแต่มุมมองคน พระพยอม ติง อาศัยใช้โลโก้ของศาสนาจะเหมาะสมหรือไม่ก็คิดดูเอาเอง

กลายเป็นเรื่องถกเถียงกันบนโลกออนไลน์หลังจากที่ร้านชาบูแห่งหนึ่งโพสต์คลิปลงใน TikTok พร้อมระบุข้อความว่า "ข้าวก้นบาตรของจริง" โดยในคลิปเป็นภาพของบาตรพระซึ่งตั้งอยู่บนเตาแก๊สปิคนิกนำมาใช้แทนหม้อชาบู พร้อมกับคีบเนื้อที่อยู่ในบาตรออกมาจนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเหมาะสมหรือไม่ 

ชาบูบาตรพระ

ชาวเน็ตเกิดความกังวลในเรื่องของความปลอดภัยเนื่องจากบาตรพระแบบรมดำหรือเคลือบดำนั้น หากถูกความร้อนจะมีสารที่ไม่ปลอดภัยในการบริโภคปะปนออกมา จึงได้แนะนำว่าถ้าจะนำมาใช้ให้ใชเป็นบาตรแบบสแตนเลสแทนเพื่อความปลอดภัย

ความเห็นชาวเน็ต

ความเห็น

แล้วแต่มุมมองของคน 

นายคุณาทิป คินิพันธ์ อายุ 28 ปี นายคิรินท์ ร.ฤทธิ์บุญ อายุ 28 ปี และ นายณัฐพล อ้นอินทร์ อายุ 28 ปี ผู้ที่ร่วมหุ้นกันเปิดร้านชาบูแห่ง “ไม่หมูก็เนื้อ” ต.บางแม่นาง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 

นายคุณาทิป เปิดเผยว่า ก่อนที่จะนำบาตรพระมานำเป็นหม้อชาบู ทางร้านมียอดขายตก ลูกค้าไม่ค่อยเข้าร้านเนื่องจากวัดที่อยู่ใกล้เคียงได้จัดงานเทศกาลหลายวันจนทำให้ลูกค้าบางตา ตนปรึกษากับหุ้นส่วนแล้วสงสัยว่าที่ร้านโดนคุณไสยหรือไม่จึงได้ไปทำบุญที่ัดและเห็นบาตรน้ำมนต์จึงเกิดเป็นไอเดียนี้ขึ้น

ตนจึงได้ไปหาซื้อบาตรพระมา 2 ชนิดคือ บาตรรมดำแบบทั่วไปและบาตรแบบสแตนเลส ซึ่งมีมาตราฐานเดียวกับภาชนะทำอาหารทั่วไปมาทดลองทำคอนเทนต์ดู

เจ้าของร้านชาบู

ทราบดีว่าบาตรพระแบบรมดำหรือเคลือบดำนั้น หากถูกความร้อนจะมีสารที่ไม่ปลอดภัยในการบริโภคปะปนออกมา จึงไม่ได้นำบาตรรมดำมาเสิร์ฟให้ลูกค้าเลย แต่หากมีลูกค้าต้องการใช้บาตรเป็นภาชนะสำหรับจุ่มอาหารจริงๆ ทางร้านก็จะใช้บาตรสแตนเลสซึ่งเป็นวัสดุที่ปลอดภัยเกรดเดียวกับภาชนะหึงต้มทั่วไปมาเสิร์ฟให้ลูกค้าแทน นายคุณาทิป กล่าว 

เรื่องนำบาตรพระมาใช้แทนหม้อจุ่มชาบูนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องแล้วแต่มุมมองของคน เพราะอย่างลูกค้าที่สั่งเป็นบาตรพระนั้น ส่วนใหญ่ก็ชอบอะไรที่แปลกและแหวกแนวเพื่อถ่ายทำคอนเทนต์ส่วนตัวไว้โชว์เพื่อนๆ ส่วนลูกค้าที่เฉยๆ กับเรื่องนี้ก็จะสั่งเป็นหม้อจุ่มชาบูแบบปกติมารับประทาน ซึ่งทางร้านก็มีให้บริการไว้เช่นกัน และในอนาคตตนมีความคิดว่าจะนำบาตรแบบสแตนเลสไปเจาะหูสำหรับจับทั้งสองข้างเพื่อความสะดวกในการให้บริการและดูแตกต่างจากบาตรพระออกไป โดยในอนาคตตนจะสั่งทำฝาบาตรให้เป็นแบบวัสดุที่สามารถปิ้งย่างได้พร้อมกันอีกด้วย นายคุณาทิป กล่าว 

จะเหมาะสมหรือไม่ก็คิดดูเอาเอง

พระราชธรรมนิเทศ หรือ พระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว กล่าวว่า มันค่อนข้างจะเรียกว่าสะดุดตาชาวพุทธไปหน่อย แต่จะเป็นโทษผิดกฎหมายหรือไม่ ก็ไม่รู้ว่ากฎหมายได้ร่างเขียนไว้หรือยัง อย่างแต่งกายเลียนแบบพระก็มีสิทธิ์ผิด แต่เลียนแบบเอาบาตรของพระไปใช้ทำแบบนั้น จะเหมาะสมหรือไม่ก็คิดดูเอาเอง 

หม้อจานชามไหก็มีเยอะแยะ ถ้าร้านคิดว่าอาศัยใช้โลโก้ของศาสนาแล้วจะทำให้ขายดิบขายดี แต่ต้องเสี่ยงกับเสียงตำหนิ เพราะมันหมิ่นเหม่ไปขัดหูขัดตาชาวพุทธ เพราะบาตรพระ พระสงฆ์ใช้อุ้มเป็นภาชนะเพื่อบิณฑบาต ไม่ควรที่จะนำไปเป็นภาชนะนำเป็ดไก่หรือหมูไปจิ้มอย่างที่คิดทำกันอยู่

“ขอฝากไว้ว่าอะไรที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวพุทธเราควรรักษา ดูอย่างคนพม่าหรือชาวพุทธพม่าแม้แต่การใส่รองเท้าเข้าไปในวัดยังไม่ได้เลย อะไรที่เป็นสัญลักษณ์เจดีย์โบสถ์วิหาร เขาจะไม่เสียความเคารพ เพราะฉะนั้นการเคารพสัญลักษณ์ของพระและของศาสนา ถ้ามีไว้สักนิดก็น่าจะดีกว่านี้” พระพยอม กล่าว

พระพยอม

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส