'ชาย-วิกกี้' แชร์ประสบการณ์ครอบครัวยุคใหม่ เรียนรู้-วางรากฐานสู่อนาคตของลูก

31 ก.ค. 62
ผลสำรวจชี้ อนาคตของลูกเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองทุกคนกังวลมากที่สุด โดยพบว่ากังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพ อาชีพที่มั่นคง และการมีทักษะที่พร้อมสำหรับอนาคต ขณะที่ผู้ปกครองไทย 90% ระบุเหตุผลที่เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ของลูก เพราะต้องการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย จัดเสวนา "HP New Asian Learning Experience เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ของครอบครัวยุคใหม่" นำโดย ปวิณ วรพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย ร่วมเสวนากับ ศาสตราจารย์ ดร. สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และครอบครัวยุคใหม่ ชาย ชาตโยดม หิรัญยัษฐิติ พร้อมภรรยา วิกกี้ สุนิสา เจทท์ ร่วมแสดงวิสัยทัศน์เปิดมุมมองเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กยุคเทคโนโลยี นายปวิณ วรพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย เผยว่า ได้แสดงผลวิจัยโครงการ New Asian Learning Experience ซึ่งเป็นการสำรวจทัศนคติและบุคลิกลักษณะของ พ่อแม่ยุคใหม่ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยรอบด้านของผู้ปกครองกลุ่มมิลเลนเนียล จำนวน 3,177 คน จาก 7 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ อินเดีย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย พบว่า ความเชื่อ และความคาดหวังที่แตกต่างกันไปนั้น ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการกำหนดการเรียนรู้ของลูก การเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเด็กเรียนรู้ ตลอดจนการเสียสละต่างๆ เพื่ออนาคตของลูก นอกจากนี้ ยังพบกระบวนความคิดของผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็ก แบ่งได้ 5 ลักษณะ ได้แก่ กระบวนความคิดแบบกังวล (The Concerned), กระบวนความคิดแบบสัจนิยม (The Realist), กระบวนความคิดตามขนบ (The Typical), กระบวนความคิดที่เน้นประสบความสำเร็จ (The Overachiever) และ กระบวนความคิดแบบปลีกตัว (The Detached) ซึ่งสะท้อนลักษณะวิธีการที่ผู้ปกครองให้ความหมายต่อการเรียนรู้ การให้คุณค่าของการเรียนรู้จากประสบการณ์ของพวกเขา บทบาทการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้ รวมถึงความห่วงใยต่ออนาคตของลูก อย่างไรก็ดี กระบวนความคิดของผู้ปกครองไทยอยู่ในกลุ่มสัจนิยมมากที่สุด 31% รองลงมาคือกลุ่มกังวล 22% และพบว่า กลุ่มปลีกตัวและกลุ่มตามขนบเท่ากันที่ 17% ส่วนกลุ่มเน้นประสบความสำเร็จมีเพียง 15% ด้าน ศาสตราจารย์ ดร. สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ระบบการศึกษาไทยเหมือนเป็นการเลี้ยงไข้มานานกว่า 20 ปี สิ่งอื่นๆ ที่เราพบ โดยเฉพาะชนชั้นกลางจะไม่แต่งงานกันเยอะขึ้น เพราะข้อห่วงของพวกเขาคือ เมื่อแต่งงานแล้ว มีบุตร แล้วจะเลี้ยงเขาอย่างไรให้มีอนาคต ให้มีความมั่นคงอย่างไร จะเห็นได้ว่าเด็กเกิดใหม่น้อยลง จากปีละ 1,000,000 คน เหลือราว 700,000 คน ซึ่งต่อจากนี้ไปเรื่องการศึกษาจะเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง การเรียนรู้จะเกิดที่โรงเรียน 30%, พ่อแม่ 40% และสื่อดิจิทัลต่างๆ อีก 30% พ่อแม่จะต้องจัดการ และออกแบบการเรียนรู้ของลูกให้เหมาะสม "สิ่งที่ดีที่สุดในการเลี้ยงบุตรหลาน ควรให้เขามีส่วนร่วมในการทำงานบ้าน เราอย่ากลัวว่าเขาจะลำบาก หรือกลัวเลอะ แล้วปล่อยให้เขานั่งเล่นแท็บเล็ต ซึ่งการให้เขาได้มีส่วนช่วยเหลืองานบ้านจะช่วยเรื่องวินัย คุณธรรม จริยธรรม การอ่านจะช่วยให้เขามีสมาธิ พ่อแม่เวลานั่งอยู่กับลูก หมั่นพูดคุย และชมเชยเขา อย่ามัวแต่นั่งเล่นโทรศัพท์" ศาสตราจารย์ ดร. สมพงษ์ กล่าว ขณะที่ครอบครัวยุคใหม่ ชาย ชาตโยดม หิรัญยัษฐิติ พร้อมภรรยา วิกกี้ สุนิสา เจทท์ ได้แชร์ประสบการณ์ให้ฟังว่า การเลี้ยงลูกในแบบของเรามีการพูดคุยกันตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์แล้วว่า เราอยากให้เขาเป็นเด็กเอาท์ดอร์ เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ได้เล่นกับดิน แต่ในความเป็นจริงกับสิ่งที่เราคิดเอาไว้บางทีมันไม่ค่อยตรง เพราะเราไม่สามารถที่จะไปควบคุมสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่เข้ามากระทบลูกได้ และเราก็ไม่สามารถไปบังคับให้ลูกเป็น หรือทำในสิ่งที่เราต้องการได้เช่นกัน "เราต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน พอเมื่อลูกค่อยๆ โตขึ้นมา เราก็จะเริ่มเห็นแล้วว่า ลูกเราชอบอะไร ไม่ชอบอะไร สนใจกับอะไรมากเป็นพิเศษ และเราในฐานะพ่อแม่ก็จะปรับตัวตามเขา" ชาย ชาตโยดม กล่าว วิกกี้ สุนิสา กล่าวทิ้งท้ายว่า ในยุคดิจิทัลเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกมันไปไหวมาก อย่างตัวกี้เองทำงานออนไลน์อยู่ที่บ้าน เวลาที่พี่เลี้ยงลาหยุด ถ้าเปิดเทคโนโลยีจะทีวี หรือโทรศัพท์มือถือจะพบว่าลูกเราจะนิ่ง กี้ก็จะทำงานได้ แต่เราก็ทราบนะคะว่ามันไม่ดี แต่กี้ก็ควบคุมการดู การเล่นของลูก สิ่งที่กี้ให้ลูกดูคือ การเรียนรู้ตัวอักษร เอ บี ซี หรือการดูสื่อที่เป็นของเด็กวัยเขาจริงๆ อย่าง เรื่องสี, เรื่องเพลง เป็นต้น ซึ่งก็พบว่า ลูกเรามีพฒนาการ และมีการเรียนรู้เรื่องตัวอักษร สี ได้เร็ว.

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวบันเทิง เป็นกระแส