รวมเหตุการณ์เด่นโลกไอที ปี 2022 กับความปั่นป่วนของโลกออนไลน์

29 ธ.ค. 65

เมื่อช่วงเวลาเดินผ่านไป ความเปลี่ยนแปลงก็เริ่มย่างเข้ามาทำให้หลายสิ่งอย่างเกิดการพัฒนาอยู่เสมอ เช่นเดียวกับโลกของไอที ที่มักจะมีสิ่งแปลกใหม่เข้ามาทำให้เราได้ตื่นและตื่นเต้นอยู่เสมอ ทั้งเรื่องของเทคโนโลยี แพลตฟอร์มออนไลน์ หรือแม้แต่การเสิร์ชข้อมูลด้วยการใช้ AI เข้ามาช่วยก็เป็นอีกสิ่งที่ทำให้ต้องทึ่งไม่น้อย ซึ่งในปี 2565 ก็มีเรื่องที่น่าจับตามากมาย เช่น

Meta ยุคตกอับของ Facebook โดนแอปฯ น้องใหม่ดีดตกอันดับความนิยม

1_27

เมื่อพูดถึงเรื่องรราวไอที ใกล้ตัวที่สุดหากจะไม่พูดก็ไม่ได้เลยนั่นก็คือ Facebook หรือในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น “Meta” แล้วหลังจากใช้ชื่อบริษัทว่า 'Facebook' มาเป็นเวลากว่า 17 ปีเพื่อก้าวเข้าสู่โลกเมตาเวิร์ส (Metaverse) แต่แอปพลิเคชันในเครือจะยังคงใช้ชื่อเดิม เช่น Facebook, Instagram, Whatsapp เป็นต้น รวมถึงสัญลักษณ์ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน จากเดิมที่ใช้ “FB” จะเปลี่ยนเป็น “MVRS” ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นมา

ภายหลังจากการเปลี่ยนชื่อบริษัทแล้ว มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งบริษัท Facebook ได้ลุยสร้างโลกเสมือนโดยหวังว่าจะทำให้กลายเป็นสถานที่ซึ่งผู้คนสามารถโต้ตอบและใช้พื้นที่เสมือนจริงร่วมกันได้ แต่ Metaverse กลับส่อแววที่จะไปไม่รอด หลังจากที่เจ้าของโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก แชร์ภาพโลก Horizon Worlds พร้อมกับเซลฟี่ตัวละครของตัวเอง แต่กลับไปรับฟีดแบคจากชาวเน็ตไม่ดีนัก อีกทั้งยังกลายเป็นกระแสล้อเลียนอยู่ช่วงหนึ่ง เพราะภาพที่ถูกเผยแพร่ออกมามันค่อนไปทางแย่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของคนบนโลกโซเชียล

ในปี 2022 ที่ผ่านมา อาจไม่ใช่ปีทองของ Facebook อย่างแท้จริง เพราะต้องเจอกับมรสุมคนรุ่นใหม่หันไปเล่นแพลตฟอร์มน้องใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นภายหลังแต่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอาทิ TikTok ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในกลุ่มของคนรุ่นใหม่ จนทำให้อันดับความนิยมของ Facebook ในสหรัฐร่วงลงออกไปจาก Top 10 แอปฯ ยอดนิยมใน App Store และถึงแม้ว่า Facebook จะสร้างฟีเจอร์ให่เข้ามาสู้ให้มีความคล้ายกับ TikTok อย่าง Reals เพื่อเรียกผู้ใช้ทั้งเก่าและใหม่ให้กลับมา แต่ก็ไม่สามารถที่จะสู้กับน้องใหม่ได้

เมื่อบริษัทต้องประสบกับปัญหาผู้ใช้งานไหลเข้าไปใช้แพลตฟอร์มอื่นอย่างต่อเนื่อง เม็ดเงินที่นำไปลงทุนกับ Metaverse ยังไม่ออกผลตามที่ควร พร้อมกับต้องเจอกับการที่ผู้ใช้งานสมาร์ทโนทั้ง IOS และ Android สามารถเลือกการปิดกั้นไม่ให้แอปฯ ติดตาม เพื่อยิงโฆษณามาหาผู้ใช้งานได้แล้วทำให้รายได้หลักลดลงอย่างมาก จนทาง Meta ต้องประกาศปลดพนักงานระลอกใหญ่ 11,000 คน ด้วยเหตุผลดังกล่าว และการประเมินสภาพธุรกิจหลังช่วง Covid-9 ผิดไป ทั้งการแข่งขันของแอปโซเชียลต่าง ๆ ที่ดุเดือดขึ้นกว่าที่ผ่านมา

 

ELON MUSK ป่วน Twitter ผู้ใช้หด เปิดโหวตปลดตัวเองออกจาก CEO

2_23

เรียกได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ทำเอาทั้งคนในบริษัทและผู้ใช้งานต่างปั่นป่วนไปไม่ต่างกันหลังจากที่ “อีลอน มัสก์” ปิดดีลการซื้อขายและได้ครอบครองทวิตเตอร์ด้วยการทุ่มเงินมูลค่ากว่า 44,000 ล้านดอลลาร์ และขึ้นแท่นเป็น  CEO คนใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้เจ้าตัวได้ออกมาทวีตข้อความว่าสนใจซื้อ และได้ทำการตกลงซื้อขายกับทางทวิตเตอร์ และถึงแม้ว่าระหว่างทางตลอดปีที่ผ่านมาจะไม่ราบรื่นนักเพราะทางทวิตเตอร์ก็ได้ออกมาฟ้อง อีลอน มัสก์ เกี่ยวกับเรื่องของข้อมูลที่ทางทวิตเตอร์ให้ไปไม่ครบ แต่จนแล้วจนรอด เขาก็ได้เป็นเจ้าของดังใจหวัง แต่ได้มาในราคาที่สูงกว่ามูลค่าของตลาด

หลังจากนั้น เรื่องราวความปั่นป่วนก็ได้เกิดขึ้นเมื่อ อีลอน มัสก์ ได้ปลดพนักงานของบริษัทออกเป็นว่าเล่น ทั้งระดับของ CEO เองก็โดนปลด โดยให้เหตุผลว่าเพื่อต้องการลดต้นทุนของบริษัทและเพิ่มรายได้ให้กับ “ทวิตเตอร์” แต่ อีลอน มัสก์ ก็กลับลำ ต้องประกาศของจ้างพนักงานกลับมาทำงานอีกครั้งเพราะไม่มีใครทำงานให้เขา

และด้วยความปั่นปว่นขององค์กรที่เกิดขึ้นทำให้ เอเจนซี่ยักษ์ใหญ่ ต้องออกมาเตือนหลายแบรนด์ให้หยุดลงโฆษณากับทาง “ทวิตเตอร์”  เป็นระยะเวลากว่า 1 สัปดาห์ และถึงแม้ว่าการเข้าซื้อของ อีลอน มัสก์ ที่เข้ามาเป็นเจ้าของคนใหม่จะเคยกล่าวเอาไว้ว่า เหตุผลที่ทำให้เขาสนใจแพลตฟอร์มนั้นไม่ได้เกี่ยวกับการสร้างรายได้ แต่เป็นการเข้าซื้อเพื่อที่จะทำให้ ทวิตเตอร์ กลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีไว้สำหรับ ช่วยเหลือมนุษยชาติ เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก และต้องการให้เกิดอารยธรรมดิจิทัลร่วมกัน  แต่กลับกัน เมื่อมีคนมาแสดงความคิดเห็นในเชิงลบกับ อีลอน มัสก์ เจ้าตัวกลับเลือกที่จะปิดบัญชีผู้ใช้นั้นทิงไปสะดื้อๆ

ไม่เพียงแค่การออกมาประกาศเตือนให้หยุดลงทุน หรือลงโฆษณา แต่ทางด้านของผู้ใช้งานทวิตเตอร์เองก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน การแก้ระบบ Twitter Blue จากที่เคยให้เฉพาะกับบัญชีทางการ บุคคล หรือองค์กรที่มีชื่อเสียง ก็ทำให้ทุกคนสามารถมีเครื่องหมายนี้ได้ ทำให้ผู้ใช้งานต่างสับสนกับข่าวปลอมที่เต็มหน้าฟีด ในแต่ละวัน โดย อีลอน มัสก์ เจ้าตัวได้ทวีตข่าวปลอมลงมาบนแพลตฟอร์ม ซึ่งต่อมาทาง “new york time” ก็ออกมาทวีตข้อความในเชิงแซะว่า เจ้าของ ทวีตข่าวปลอมเสียเองเลยหรือนี่ ก่อนที่ อีลอน มัสก์ จะทวีตตอบกลับไปว่า “new York time” เองก็เป็นแหล่งรวบรวมข่าวปลอมเช่นเดียวกัน

ท้ายที่สุดนี้ ความปั่นป่วนจะจบลงหรือไม่อาจลุ้นได้จากการที่ อีลอน มัสก์ ทวีตข้อความผ่านบัญชีของตัวเอง โดยถามผู้ใช้งานว่า “เขาควรลงจากตำแหน่งหัวหน้าของทวิตเตอร์หรือไม่” ซึ่งผู้ใช้งานส่วนใหญ่ต่างโหวตให้เขาลงจากตำแหน่งนั้น และเจ้าตัวเองก็กำลังที่จะประกาศหาคนมานั่งเก้าอี้ CEO แทนเขาที่เพิ่งจะประกาศถอนตัวไปตามสัญญา

 

เอไอดอล “เน็ตไอดอล-อินฟลูอินเซอร์” สร้างด้วยเทคโนโลยี Ai

3_24

ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา ต้องบอกเลยว่าทำให้เกิดเรื่องราวมากมายขึ้นบนโลกออนไลน์จนหลายคนตามแทบไม่ทันกันเลยทีเดียว ทั้งการถือกำเนิดของแพลตฟอร์มใหม่ๆ การบูมของแอปฯ ซื้อขายออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการแจ้งเกิดของ “เน็ตไอดอล” หลายคน ที่ใช้เวลาว่างระหว่างกักตัวและไม่สามารถออกไปไหนมาไหนได้มาสร้างคอนเทนต์เพื่อให้คนบนโลกออนไลน์เกิดความสนใจและสร้างรายได้จากการจ้างงานของแบรนด์สินค้าให้กับตัวเอง

และสิ่งนี้เองทำให้ Virtual Influencer หรือ AI Influencer (อินฟลูเอนเซอร์เสมือน) เน็ตไอดอลที่เกิดจากการสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี AI ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 เป็นต้นมา และหากย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีก่อน Lil Miquela virtual influencer หญิงสาวหน้าตาดีสัญชาติอเมริกัน วัย 19 ปี นักร้อง-นางแบบที่มีเรื่องราวชีวิตประจำวันบนอินสตาแกรม ที่ชื่อว่า @lilmiquela ได้ทำให้ Virtual Influencer เริ่มกลายเป็นที่รู้จัก และในช่วงปลายปีนั้น ประเทศไทยเองก็ได้มีการสร้าง อินฟลูเอนเซอร์เสมือน ขึ้นมาถึงสองคน คือ “ไอรีน” ครีเอทีฟสาววัย 21 ปี เปิดตัวมาด้วยแคแร็กเตอร์โฉบเฉี่ยว น่าค้นหา มั่นใจในตัวเอง ตอบรับแนวคิดโลก Metaverse ที่สร้างสรรค์ทุกอย่างได้บนโลกออนไลน์ อินสตาแกรม @ai_ailynn และ กะทิ หรือ เคธี่ อินสตาแกรม @Katii.Katie ถูกโพสต์ขึ้นวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564

สำหรับ Virtual Influencer เป็นอินฟลูอินเซอร์ที่สามารถสร้างปรากฎการณ์ที่บางทีมนุษย์อาจจะมีข้อจำกัดด้วยชื่อเสียง รูปลักษณ์ แต่อินฟลูเอนเซอร์เสมือนเหล่านี้ กลับฉีกทุกกฎในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งหน้าตา รูปร่าง ทรงผม การแต่งตัว หรือแม้กระทั่งเพศ และ แบรนด์ดังหลายชื่อก็เริ่มที่จะนำอินฟลูฯเหล่านี้มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ของผลิตภัณฑ์มากมาย หรือแม้กระทั่งบนปกนิตยสารบางเล่มเอง เราก็เริ่มจะได้เห็นพวกเขาบนนั้นแล้ว โดยพวกเขาเหล่านี้สามารถสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ได้อย่างมหาสาร ด้วยคุณสมบัติที่ไร้ขีดจำกัดของพวกเขา

เมื่อเร็วๆ นี้ ในประเทศไทยของเราเองก็ได้เริ่มนำเทคโนโลยี Virtual Influencer เข้ามาสร้างไอดอลคนใหม่ ที่ทำเอาวงการ T-POP เองก็ต้องมีแรงสั่นสะเทือนอยู่ไม่น้อย โดย บริษัท T-Town Digital Studio ได้เปิดตัว “VAVA” (วาวา) ศิลปินที่สร้างด้วยเทคโนโลยี Ai เสมือนมนุษย์จริงคนแรกของประเทศไทย ที่มาพร้อมกับทักษะการร้องเพลงและการเต้นอันโดดเด่น มีลักษณะภาพลักษณ์และนิสัยคล้ายมนุษย์มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย จึงถือเป็นปรากฎการณ์และเป็นก้าวใหม่ของวงการเพื่อช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมเพลงไทยก้าวไปสู่ระดับสากลและโลกคู่ขนานเสมือนจริง (Metaverse) ในอนาคต

 

 

Huawei เปิดดีลค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ ต้านถูกแบนเทคโนโลยี

4_7

 

ท่ามกลางการแข่งขันของตลาดมือถือสมาร์ทโฟน ที่ไม่ว่าเจ้าไหนๆ ก็ต้องงัดไม้เด็ดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานให้ได้อย่างมากที่สุด อีกทั้งหลายค่ายยังได้มีการจดสิทธิบัตรเพื่อถือครองสิทธิ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีบางตัวให้เป็นไม้เด็ดสำหรับตีตลาดสมาร์ทโฟนให้เหนือคู่แข่ง และสร้างเม็ดเงินให้กับแบรนด์ของตัวเอง

โดยช่วงปีที่ผ่านมา Huawei หนึ่งในเจ้าตลาดมือถือสมาร์ทโฟน ได้ออกมาร่วมดีลแลกสิทธิบัตรกับค่ายอื่นกว่า 20 บริษัท หลังจากที่ Huawei โดนสหรัฐฯ สั่งแบนไม่ให้ทำธุรกิจกับบริษัทในอเมริกา ทำให้เทคโนโลยี 5G ที่ Huawei มีอยู่ในตอนนี้ไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้ต้องออกมาประกาศเซ็นสัญญาให้ใช้ตามสิทธิบัตรแบบแลกเปลี่ยนกับแบรนด์มือถือยักษ์อย่าง OPPO และ Samsung เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีหลายอย่างของ Huawei รวมทั้ง 5G ออกมาใช้งานได้ และนอกจากเทคโนโลยีนี้จะถูกนำไปใช้และพัฒนาแล้ว ยังถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างเม็ดเงินเข้าบริษัทได้อีกด้วย

ซึ่งการแลกเปลี่ยนสิทธิบัตรในครั้งนี้จะทำให้ทาง OPPO สามารถใช้เทคโนโลยี 5G ระดับสูงจาก Huawei และในทางกลับกัน Huawei ก็จะสามารถเข้าถึงสิทธิบัตรเทคโนโลยีของ OPPO ได้เช่นเดียวกัน

นอกจากสถานการณ์การร่วมจดสิทธิบัตรของแบรนด์ยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศแล้ว ในปีนี้ก็ยังคงมีเรื่องราวที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2564 โดยประเทศไทยมีเรื่องเกี่ยวกับการร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ TRUE กับ DTAC โดยระบุว่า การควบกิจการระหว่างทั้งสองฝ่ายจะเป็นประโยชน์กับทางผู้ใช้งาน เนื่องจากจะสามารถช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยทั้งสองบริษัทพยายามที่จะควบรวมให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปี 2566

อย่างไรก็ตาม ทางด้านของ กสทช. เองก็ได้รับทราบเรื่องราวการควบรวมของทั้งสองบริษัท พร้อมทั้งยังสั่งกำชับในเรื่องของเพดานอัตราค่าบริการไม่ให้สูงเกินไป ตามมาตรการเงื่อนไขคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อรักษาประโยชน์ผู้ใช้บริการอย่างเคร่งครัด

เช่นเดียวกัน เมื่อมีการควบรวมการให้บริการเครือข่าวมือถือแล้ว ฝั่งของ AIS ก็ไม่ยอมที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว โดยเลือกในฝั่งของเน็ตบ้าน ประกาศซื้อหุ้นทริปเปิลทรีบรอดแบนด์หรือ 3BB รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน JASIF โดยดีลการควบรวมด้วยการซื้อขายในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใชงานอินเทอร์เน็ตบ้านของ AIS จาก 2 ล้านรายให้กลายเป็น 4.4 ล้านราย ในไตมาสแรงของปี 2566 เช่นเดียวกัน

 

“อับดุลเอ้ย! Google ถามอะไรตอบได้ แต่ ChatGPT ตอบได้มากกว่า”

5_4

 

อยากรู้อะไรก็ลองถาม “google” ดูสิ ประโยคนี้อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป เมื่อทางด้านของ google ก็เริ่มหวั่นไหวกับการถือกำเนิดของ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่มีความฉลาดล้ำจนทำให้ผู้ใช้งานหลายคนต่างต้องอึ้งตาค้างกันมาแล้วอย่าง ChatGPT

ChatGPT คิดค้นโดยบริษัท OpenAI ที่ก่อตั้งโดย อีลอน มัสก์ โดยเป็น AI ที่มาในรูปแบบของ แชตบอต (Chatbot) แบบถามไปตอบมา ซึ่งผู้ใช้หลายรายต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการเรียนรู้ของ AI ตัวนี้จะฉลาดกว่า Siri, Google Assistant และ Amazon Alexa เสียด้วยซ้ำ ทั้งความสามารถที่ช่วยเขียนเรื่องราว การเขียนโค้ด สร้างร้านค้าออนไลน์ หรือแม้แต่เรื่องทั่วไปอย่างการจัดทริปท่องเที่ยวก็ทำได้เช่นกัน

สิ่งที่ทำให้ เสิร์ชเอนจิน ยักษ์ใหญ่อย่าง Google ต้องหวาดกลัวคือ การที่ผู้ใช้งาน ChatGPT สามารถได้คำตอบจากการพิมพ์ถามโดนไม่ต้องสุ่มเลือกเว็บจากหน้าการค้นหาเช่นเดียวกับของ Google ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วให้กับผู้ใช้งานได้อย่างมาก แต่ถึงแม้จะได้คำตอบอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบัน ChatGPT ยังสามารถทำได้แค่ให้คำตอบในรูปแบบของข้อความเท่านั้น แต่อีกไม่นาน เราคงได้เห็น AI ที่ถูกพัฒนาเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล หรือแม้แต่การให้ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ ใช้มนุษย์เราได้มากมายยิ่งขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตาม ทางด้านของ Google ได้ประกาศให้ ChatGPT ติดรหัสแดง (Code Red)  ซึ่งอาจหมายความได้ว่านี่เป็นสัญญาณของภัยคุกความต่อบริษัท Google จึงได้เรียกประชุมทีมพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อหาทางรับมือเจ้า AI น้องใหม่ที่อาจพัฒนาขึ้มาเหียบรู่นพี่อย่าง Google ได้ในอนาคต

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม