กสทช.เผย 8 ภารกิจสำคัญต่อเนื่องปี 2565-2566

26 ธ.ค. 65

8 ภารกิจสำคัญ ต่อเนื่อง ปี 2565-2566

ศาสตราจารย์ ดร. พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์

 

ผลงานสำคัญที่ได้ดำเนินการในปี พ.ศ. 2565

1.ความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพ 3 องค์กร สร้างระบบส่งต่อและติดตามเรื่องร้องเรียนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 สำหรับเรื่องที่เข้าข่ายผิดจริยธรรมและเรื่องที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย

โดย กสทช. ร่วมส่งเสริมสนับสนุนกลไกการกำกับดูแลกันเองของสื่อ โดยผลักดันให้องค์กรวิชาชีพทำหน้าที่กำกับดูแลกันเองภายใต้มาตรฐานจริยธรรม ตามมาตรา 28 (18) แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และ มาตรา 39, 40 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนให้กับประชาชน ให้สามารถร้องเรียนเนื้อหารายการที่เข้าข่ายละเมิดจริยธรรม

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถร้องเรียนผ่าน 3 องค์กรวิชาชีพสื่อ ได้แก่ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สมาคมสภาวิชาชีพกิจการแพร่ภาพและกระจายเสียง (ประเทศไทย) และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ซึ่งจะมีคณะกรรมการประสานงานรับและติดตามเรื่องร้องเรียน นอกเหนือไปจากการร้องทุกข์ไปที่สถานีโทรทัศน์โดยตรง หรือการแจ้งมาที่ กสทช. เพื่อการดูแลแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที และมีประสิมธิภาพมากขึ้น โดยจะระบุขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการเพื่อให้ผู้ร้องเรียนได้รับทราบด้วย

 

  1. (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้รับใบอนุญาต ผู้ผลิตรายการ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ..... (ฉบับปี 2565) ซึ่งเป็นไปตาม มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551

ทั้งนี้ ได้มีการหารือกับองค์กรวิชาชีพสื่อเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมเข้าที่ประชุมบอร์ดเพื่อทำประชาพิจารณ์ตามขั้นตอนต่อไป

 

3.การพิจารณาแนวทางอนุญาตและกำหนดลักษณะการให้บริการโทรทัศน์ ประเภทบริการชุมชน

ในพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มีการกำหนดใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ประเภทบริการชุมชน แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้ จะต้องมีการพิจารณาแนวทางอนุญาตและกำหนดลักษณะการให้บริการโทรทัศน์ ประเภทบริการชุมชน ก่อน

อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน มีการจัดคณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้ ในด้านความพร้อมและความเข้มแข็งของชุมชน และการศึกษาในเชิงเทคโนโลยี ว่าแบบใดจะเกิดความคุ้มค่าที่สุด คาดว่าจะมีการออกใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการโทรทัศน์ชุมชนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2566

4.การเข้าเยี่ยมและหารือกับผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัล ณ ที่ทำการ จำนวน 8 ราย และผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวี และทีวีดาวเทียม เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคที่ผู้ประกอบการได้ประสบ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนและเตรียมความพร้อมสู่ปี 2572 ซึ่งครบกำหนดสิ้นสุดใบอนุญาต เพื่อให้สอดคล้องกับนิเวศวิทยาของสื่อที่เปลี่ยนไป เนื่องมาจาก digital disruption

5.สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงประกาศ Must Carry ได้มีการศึกษาเรื่องสถานการณ์และปัญหาในการบังคับใช้ประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (Must Carry) และประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในรายการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (Must Have) ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการให้บริการในกิจการโทรทัศน์ โดยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นในส่วนของภาคอุตสาหกรรม และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจความคิดเห็นในส่วนของประชาชนที่รับชม

นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงร่างประกาศหลายฉบับ ได้แก่ ประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 2) ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม กสทช.ครั้งที่ 35/2565 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 และจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นในช่วงเดือนมกราคม 2566 และได้อยู่ในระหว่างการจัดทำร่างประกาศการนับระยะเวลาการโฆษณาและโฆษณาแฝง

 

แผนการดำเนินงานที่สำคัญ สำหรับปี พ.ศ. 2566

1.ร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับส่งเสริมและการพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตาม มาตรา 52 พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 “ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่ารายการใดเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือสมควรส่งเสริมให้มีการผลิตรายการ หรือผู้ประกอบการรายใดปฏิบัติตามมาตรการในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการและคนด้อยโอกาสตามมาตรา 36 คณะกรรมการอาจพิจารณาให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด”

เบื้องต้น ได้กำหนดเกณฑ์สำหรับสนับสนุนโดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกสำหรับรายการที่มีเนื้อหาใน 3 ลักษณะ ได้แก่

        1.รายการเพื่อเด็กและเยาวชน

        2.รายการที่ส่งเสริมความหลากหลายในมิติต่างๆ

        และ 3. รายการที่มีศักยภาพในการผลิตร่วมกับผู้มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ

คาดว่า ร่างประกาศฯ น่าจะร่างเสร็จในไตรมาสแรก และเปิดสำหรับประชาพิจารณ์ได้ในไตรมาสที่ 2 และในช่วงกลางปีจะเปิดให้มีการสมัครขอรับทุนสนับสนุนได้

 

2.การวางระบบ Social Scoring, การ monitor ทางเทคโนโลยี (algorithm) Social Credit การตรวจสอบและส่งเสริมเนื้อหารายการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเฝ้าระวังสิ่งผิดกฎหมายจากการออกอากาศในกิจการโทรทัศน์ (Media Alert)

มีการทำ Quality Rating ประเมินเนื้อหาในกิจการโทรทัศน์ด้วยเกณฑ์ทางคุณภาพ (ที่ไม่ใช่เกณฑ์ทางปริมาณผู้ชม)

มีทั้งการใช้ monitoring ตรวจ เฝ้าระวังเนื้อหาตามประเด็นทางสังคมทุกไตรมาสโดยคณะวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ และการพัฒนา AI ในลักษณะ machine learning เพื่อประเมินคุณภาพเนื้อหาในมิติที่เป็นความเสี่ยง เช่น ความรุนแรง เรื่องทางเพศ ภาษาที่ไม่เหมาะสม และความเสี่ยงทางสังคมอื่นๆ เช่น การสร้างความเกลียดชัง การข่มเหงรังแก (bully) การกีดกันกลุ่มทางสังคมต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ คาดว่าระบบการประเมินจะมีความพร้อมภายในสิ้นปี ซึ่งจะมีการให้รางวัลเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการ

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม