สยองสักแล้วเน่า เหยื่อแฉร้านไม่รับผิด ขอผ่อนจ่ายแค่หมื่น จบคดี (คลิป)

5 ก.ค. 60
จากกรณีเพจเฟซบุ๊ก "แหม่มโพธิ์ดำ" ได้โพสต์เรื่องราวสุดสยองของคนที่ชอบ “การสัก” พร้อมข้อความเตือนภัยว่า #อุทธาหรณ์สอนใจคนชอบสัก #เลือกร้านไม่ดีคิดผิดจนตาย #ขาเน่าแผลติดเชื้อทรมานเหมือนตายทั้งเป็น โดยระบุ ข้อความว่า “สวัสดีค่ะเเอดมิน รบกวนสอบถามหน่อยค่ะ หนูไปสักมา พอ 3 วันให้หลัง ก็ปวดเเดงขึ้น และเป็นหนอง ดังรูป
ข้อความที่ผู้เสียหายส่งทางเพจแหม่มโพธิ์ดำ
ล่าสุดวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 น้องกรด (นามสมมติ) เจ้าของรอยสัก เปิดเผยกับทีมข่าวว่า ได้ไปสักบริเวณน่อง ที่ขาซ้าย เมื่อ 3 เดือนก่อน โดยไปสักกับช่าง ที่เพื่อนแนะนำให้ แต่ไม่มีหน้าร้าน โดยไปสักที่บ้านของช่าง อยู่ที่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี  สำหรับลวดลายที่จะสักบนผิวหนัง ได้เลือกสัญลักษณ์ชนเผ่า และหลังจากสักได้ประมาณ 3-4 วัน เริ่มเห็นว่า ผิวหนังมีลักษณะบวม แดง และมีอาการปวด จึงได้กินยาแก้ปวด แต่อาการดังกล่าวก็ไม่หาย หนำซ้ำแผลยิ่งอักเสบ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นหนอง จึงตัดสินใจไปหาหมอ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา
น้องกรด (นามสมมติ) เจ้าของรอยสัก
ทางหมอ ให้ทานยาฆ่าเชื้อ อย่างต่อเนื่อง พร้อมแนะนำการรักษา 2 แนวทาง โดยแนวทางแรก ต้องทำการผ่าตัดแล้วเอาเนื้อที่ขามาแปะบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ส่วนแนวทางที่ 2 คือ ต้องผ่าตัดเลาะเอาเนื้อ บริเวณรอยสักออกเรื่อยๆ จนกว่าเนื้อร้ายจะหมดไป อย่างไรก็ตามสาเหตุการอักเสบ แพทย์มีความเห็นว่า เกิดจากอุปกรณ์ที่ใช้ เช่นเข็มสัก ไม่สะอาด รวมทั้งสีที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน หลงจากนั้นจึง เรียกเงินค่ารักษากับช่างสัก เป็นจำนวน 10,000 บาท พร้อมทั้งโทรไปสอบถามว่า ได้เปลี่ยนเข็มกับสี ให้ตนหรือไม่ แต่ช่างกลับบ่ายเบี่ยงตอบเพียงว่า ทำอาชีพช่างสักมา 6-7 ปี แต่ก็ไม่เคยมีใครเป็นแบบนี้ ส่วนเงินค่ารักษาพยาบาล ช่างสักรับปากว่าจะผ่อนจ่ายให้
รอยสักที่ผู้เสียหายไปสักแล้วเกิดแผล
ทางด้าน นายแพทย์ไพบูลย์ สิริพิสุทธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสักรักษา และความงาม โรงพยาบาลยันฮี มีความเห็นว่า ลักษณะเป็นแผลอักเสบ ติดเชื้อ เป็นหนอง เนื่องจากผู้ที่สัก ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จึงทำให้บาดแผลจากรอยสัก ลุกลามกินเป็นบริเวณกว้าง สาเหตุเกิดจากอุปกรณ์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เข็มไม่เปลี่ยน หรือว่าอาจเกิดจากสีที่ใช้สัก ไม่ใช่สีที่ใช้เฉพาะทาาง และมีสารปนเปื้อน รวมทั้งความสะอาดของ สิ่งแวดล้อม ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ส่วนการสักที่ได้รับการรับรองจากการแพทย์ ช่างต้องได้รับการอบรม โดยจะเน้นเรื่องความสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และจะต้องให้ความรู้ผู้ที่สัก ในการดูแลตัวเองหลังการสัก ไม่ได้แผลติดเชื้อ ส่วนแนวทางการรักษาหากแผลอักเสบ จะให้ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และทำแผลให้สะอาด ซึ่งในรายที่อักเสบรุนแรง แพทย์จะต้องเป็นผู้ทำแผลให้
ภาพบาดแผลของน้องกรด (นามสมมติ) เจ้าของรอยสัก
นายแพทย์ไพบูลย์ จึงฝากกรณีนี้ไว้เป็นอุทาหรณ์ และขอเตือนผู้ชื่นชอบในการสักว่า “สักนั้นไม่ยาก แต่แก้ยาก” หากจะสักกับใคร ต้องสอบถามข้อมูล ประวัติ ตรวจสอบสถานที่ อุปกรณ์ให้สะอาด ปลอดภัย ต้องมีการฆ่าเชื้อทุกครั้ง และช่างสัก ควรแนะนำผู้สักเรื่องการดูแลตัวเอง และทำความสะอาดบาดแผล หากปล่อยปะละเลย ก็เสี่ยงที่แผลจะเน่าและติดเชื้อ เหมือนกรณีดังกล่าวได้

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ