ศาลรัฐธรรมนูญ เผยเอกสาร มีมติ 6 ต่อ 3 ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ไปต่อในตำแหน่งนายกฯ

30 ก.ย. 65

ศาลรัฐธรรมนูญ เผยเอกสารต่อสื่อมวลชน มีมติ 6 ต่อ 3 ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ไปต่อในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สําคัญและเป็นที่สนใจ ดังนี้

ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๔๒ ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๑๕๔ วรรคสี่ หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ ๑๗/๒๕๖๕)

ประธานสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ร้อง) ส่งคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้อง) ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีครบกําหนดเวลาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า “นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะ เป็นการดํารงตําแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจาก ตําแหน่ง” เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งรับคําร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยและมีคําสั่งให้ ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีนับตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๕ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๒ วรรคสอง ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งรับคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คําร้องเพิ่มเติม ความเห็นเป็นหนังสือ และข้อมูลพร้อมเอกสารหลักฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมไว้ในสํานวนและเห็นว่า คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวนตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง

ผลการพิจารณา

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (๖ ต่อ ๓) วินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามความในมาตรา ๒๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ นับแต่วันที่ 5 เมษายน ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๕ ผู้ถูกร้องดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรียังไม่ครบกําหนดเวลา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๕๘ วรรคสี่ ความเป็นรัฐมนตรี ของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๗๐ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่

s__7463094

advertisement

ข่าวยอดนิยม