"โนรู" ทำฝนตกหนัก น้ำเหนือมาก ต้องเร่งระบายท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

29 ก.ย. 65

กรมชลประทาน ชี้แจงกรณีการระบายน้ำเพิ่มเขื่อนเจ้าพระยา สาเหตุจากน้ำเหนือเพิ่มขึ้น และรองรับผลกระทบจากอิทธิพลพายุ “โนรู” ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า อิทธิพลของพายุ “โนรู” ที่ส่งผลให้เกิดฝนตกกระจายตัวทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ทำให้มีปริมาณน้ำจากทางตอนบน ไหลลงมาสมทบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นจำนวนมาก ก่อนจะไหลมารวมกับน้ำที่มาจากลุ่มน้ำสะแกกรัง ส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมชลประทาน จึงจำเป็นต้องปรับการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในอัตรา 2,400 ลบ.ม./วินาที (29ก.ย.65 เวลา 11.00 น.) เพื่อเร่งระบายน้ำจากทางตอนบน

307308105_478165757691367_860

ทั้งนี้ หากระดับน้ำทางตอนบนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว จะปรับลดอัตราการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ลงเหลือในอัตรา 2,300 – 2,500 ลบ.ม/วินาที ในระหว่างวันที่ 1-7 ต.ค. 65 ตามที่ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำหนด พร้อมจัดจราจรทางน้ำ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุดต่อไป

309547865_478165804358029_530

ปัจจุบัน (29 กันยายน 2565) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน 56,260 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 74 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 19,842 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 16,915 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 7,956 ล้าน ลบ.ม.

310002904_478099224364687_269

อย่างไรก็ตาม กรมชลประทาน ได้มีการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางของทั้งประเทศตลอดทั้งปี สามารถใช้ในการบริหารจัดการน้ำได้อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่พื้นที่ด้านท้าย จึงขอให้ประชาชนมั่นใจว่าเขื่อนที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน ยังมีความมั่นคง แข็งแรงดี ซึ่งกรมชลประทาน จะเก็บกักน้ำไว้ในอ่างฯให้ได้มากที่สุด สำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งหน้าได้อย่างเพียงพอ

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส