อดีต กรธ. 60 ชี้ไม่มีกลไกสืบทอดอำนาจให้ สว. มีสิทธิ์เลือกนายกฯ

18 มี.ค. 62
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2562 เพจเฟซบุ๊กเพจ

" target="_blank" rel="noopener">คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ2560 ของอดีตคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ2560 ได้โพสต์ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีการกระจายข้อมูลบิดเบือนว่า "คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) หมกเม็ดกลไกการสืบทอดอำนาจไว้โดยให้ ส.ว. มีสิทธิ์เลือกผู้จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วง 5 ปีแรก" โดยมีเนื้อหาน่าสนใจดังนี้... อย่าได้บิดเบือน ยิ่งใกล้เลือกตั้ง ก็ยิ่งมีการกระจายข้อมูลที่บิดเบือน ข่าวเต้า หรือข่าวโกหก หรือ Fake news ใน social network อย่างกว้างขวางโดยหวังให้พี่น้องประชาชนเกิดความเข้าใจผิดเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เรื่องนี้ผิดทั้งศีลธรรมอันดีและผิดกฎหมาย นี่ขนาดยังไม่ได้เป็นผู้ใช้อำนาจรัฐยังโกหกพกลมกันขนาดนี้ ถ้าได้รับเลือกเข้าไปบริหารบ้านเมืองจะไม่ยิ่งไปกันใหญ่หรือ ประเด็นหนึ่งที่มีการปล่อยของกันอย่างเมามันก็คือ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้หมกเม็ดกลไกการสืบทอดอำนาจไว้ด้วยโดยให้ ส.ว. มีสิทธิ์เลือกผู้จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วง 5 ปีแรกด้วย คงเพราะเห็นว่า กรธ. สิ้นสภาพไปแล้ว ไม่มีใครมาแถลงตอบโต้แน่ ๆ โยนให้ กรธ.เป็นแพะตามทฤษฎีสมคบคิดไปเลยดีกว่า นี่เรียกว่านอกจากจะบกพร่องทางจริยธรรมมากแล้ว ยังผิดกฎหมายด้วย ความจริงร่างรัฐธรรมนูญที่ กรธ. เสนอไปนั้น เสนอให้ ส.ส. เท่านั้นที่เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรีจากผู้ซึ่งพรรคการเมืองได้ประกาศชื่อให้ประชาชนทราบตั้งแต่ตอนหาเสียงครับ เพื่อป้องกันมิให้มีการแอบไปงุบงิบกันเสนอใครก็ไม่รู้มาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ถ้าเลือกคนในบัญชีที่ประกาศไปแล้วไม่ได้เสียที กรธ. วางกลไกไว้ว่าก็ให้เสนอรัฐสภาพิจารณาอนุมัติให้เลือกจากผู้ซึ่งพรรคการเมืองไม่ได้เสนอชื่อได้ ถ้ารัฐสภาเห็นด้วย ก็ให้ ส.ส. เสนอชื่อและดำเนินการเลือกนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ แต่ในชั้นการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติท่านได้เสนอให้ทำประชามติใน “คำถามพ่วง” ไปด้วย 1 คำถาม โดยคำถามพ่วงที่ว่านี้เขาถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี” ปรากฏว่าคำถามพ่วงนี้ได้รับเห็นชอบในการลงประชามติ 58.11% ไม่เห็นชอบ 41.89% ดังนั้น เมื่อผู้มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติข้างมากเขาเห็นชอบ จึงต้องมีการปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามผลการออกเสียงประชามติในคำถามพ่วงนี้ ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงนี้ได้ปรากฏอยู่ในวรรคสามของคำปรารภของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วย ดังนั้น ใครก็ตามที่ปล่อยข่าวว่า กรธ. ได้หมกเม็ดให้ ส.ว. มีสิทธิ์เลือกผู้จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วง 5 ปีแรกจึงบกพร่องทางจริยธรรมอย่างรุนแรง และเข้าลักษณะเป็นการชี้นำให้มีการเลือกหรือไม่เลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง อันเป็นการทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมด้วย ซึ่งผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายเลือกตั้งคงต้องดำเนินการกับบุคคลเหล่านี้ให้เด็ดขาดเสียที และควรเป็นหน้าที่ของ กกต. ที่จะต้องไต่สวนและสั่งระงับการบิดเบือนนี้โดยพลัน.

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ