มีอึ้งเจอคนถือมีดบนเรือ หมอถอดรหัสคนบ้าโยงมีด K2 กรีดหมูเทียบแผลแตงโม (คลิป)

16 พ.ค. 65

คืบหน้ากรณีแตงโม ล่าสุด เฟซบุ๊กส่วนตัวของหมอธวัชชัย มีการลงเนื้อหาในพร้อมกับมีการลงคลิปในขณะที่มีการใช้มีดพก ในการกรีดเนื้อหมูก้อนใหญ่ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า ลักษณะบาดแผลของเนื้อหมูสามารถสร้างได้

168915

โดยจะให้มีความลึกมากหรือน้อย ตามลักษณะของสภาพศพจริงของนางสาวแตงโม พร้อมกับมีการกลางผังซึ่งเป็นบอร์ดในการเขียนความลึกของแผลจริง เทียบกับหมูที่มีการทดสอบ

728627960924

ซึ่งจากการทดสอบด้วยมีด K2 นั้น ตรงกับลายมือบนสมุดที่แม่ของแตงโมได้รับ ช่วงหลังจากเกิดเหตุที่แตงโมพลัดตกน้ำเสียชีวิต ซึ่งสังคมตั้งถามว่าอักษรดังกล่าว เกี่ยวโยงอย่างไรกับหลักฐานหรือไม่นั้น

837986

นอกจากนี้ มีการเทียบเคียงจากภาพที่มีคนบนเรือสปีดโบ๊ตสบัดมือ คล้ายกับการทดลองสบัดมีด K2 เพื่อใช้งานมีดดังกล่าว ซึ่งเป็นมีดพับ สอดรับกับจากข้อมูลที่นายอัจฉริยะบอกว่ามีข้อมูลที่คนบนเรือพกมีดด้วย

691005426786

ด้าน นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยว่า ลักษณะบาดแผลที่เกิดจากการถูกทำร้าย ในทางนิติเวช จะเป็นบาดแผล 2 ชนิด คือแบบของการถูกแทง และการถูกฟัน ซึ่งแผลที่เกิดจากการถูกฟันจะเกิดจากของมีคม และมีความยาวพอสมควร และการจะถูกฟันจะต้องถูกใช้แรงฟันค่อนข้างแรง มีการลงน้ำหนัก จนทำให้เกิดแผลเป็นทางยาว โดยลักษณะแผลที่ถูกฟัน ส่วนต้นและส่วนปลายจะเกิดเป็นแผลลึกน้อยกว่าส่วนกลาง

358313

ขณะที่แผลของการถูกแทง จะเป็นลักษณะคมมีดไปแหลมจะแทงเข้าสู่ร่างกายของเหยื่อโดยตรง และเป็นการแทงเข้าไปอย่างเต็มแรง จึงทำให้เกิดเป็นแผลลึกบริเวณจุดที่แทง จากนั้นเมื่อดึงมีดออกก็จะกลายเป็นแผลลึกเพียงแค่แผลเดียว แต่ในทางกลับกันหากเป็นกรณีการแทงและรากหรือกรีดเป็นทางยาว หากเป็นลักษณะแบบแทงและกรีดลากเป็นทางยาว บริเวณจุดที่แทงจะมีความลึก ส่วนจุดที่มีการลากเป็นทางยาวจะมีลักษณะตื้น ดังนั้นส่วนต้นเจาะลึก ส่วนกลางจะตื้น และส่วนปลายจะตื้นที่สุด

เช่นเดียวกับกรณีการทดลองโดยการกรีดลงบนเนื้อหมู ฉะนั้นเมื่อมีการใช้คมมีดกรีดหรือแทงเข้าไปบนเนื้อหมู ก็สามารถที่จะลงน้ำหนักหรือทำให้เกิดลักษณะอย่างไรอย่างหนึ่งตามที่ผู้ทำการทดสอบมีการกรีด ซึ่งก็ทำให้สัมพันธ์กับข้อสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้ตั้งแต่แรก ว่าต้องการให้แผลมีลักษณะออกมาเป็นอย่างไร สามารถทำให้เหมือนหรือแตกต่างได้ และทั้งนี้การตรวจเปรียบเทียบอาวุธที่ใช้ในการก่อเหตุทางนิติเวช ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การตรวจสอบความกว้าง ความยาว และความลึก แต่จะต้องดูที่ลักษณะแผล ขอบของแผล ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบหลัก ในการตรวจสอบแผลว่ามีลักษณะเรียบ หรือเป็นลักษณะถูกตัดอย่างไร และมีความเข้ากันได้กับวัตถุพยานหรือหลักฐานได้มากน้อยเพียงใด ฉะนั้นจึงไม่สามารถที่จะมีการตรวจเปรียบเทียบจากภาพถ่ายหรือการทดลองในบางกรณีได้ เว้นแต่ว่ามีการทดสอบแล้วนำแผลจริงมาเทียบจึงจะรู้ว่าเป็นลักษณะเดียวกันหรืออาวุธเดียวกันหรือไม่

 

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ทุบโต๊ะข่าว เป็นกระแส