หมอโพสต์ทวง ค่าเสี่ยงภัยโควิด รอนาน 6 เดือน ได้คำตอบแค่ได้อยู่

16 พ.ค. 65

หมอรอไม่ไหวโพสต์ทวง "ค่าเสี่ยงภัยโควิด" หลังผ่านมา 6 เดือนยังไร้วี่แวว อ้างสำนักงบประมาณยังไม่ได้จัดสรรเงินลงมา ให้ทำงานไปก่อน

เมื่อวันที่ 16 พ.ค.65 เฟซบุ๊กเพจ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ได้โพสต์เรื่องราวของหมอรายหนึ่ง ซึ่งได้โพสต์ข้อความทวงถึง "ค่าเสี่ยงภัยโควิด" ที่ต้องรอนานกว่า 6 เดือน พร้อมกับได้ระบข้ออ้างว่า สำนักงบประมาณยังไม่ได้จัดสรรเงินลงมา ได้แน่ๆ แต่ให้ทำงานไปก่อน โดยโพสต์ดังกล่าวระบุข้อความว่า

“งบค่าเสี่ยงภัยโควิด ตั้งแต่ ตค พย ธค 64
เพิ่งอนุมัติ 22 มีค 2565 ผ่านไปนานกว่า 6 เดือน แล้วยังบอกอีกว่าสำนักงบประมาณยังไม่ได้จัดสรรเงินลงมา ขณะนี้ผ่านมาแล้วกว่า 2 เดือน ยังไร้วี่แวว

งบค่าเสี่ยงภัยโควิด เดือน มค กพ มีค 65 บอกว่าได้อยู่ แต่ให้ทำงานไปก่อน What????

เงินกู้ 1 ล้านล้านที่บอกว่าเอามาจัดการโควิด เนี่ยมันเอาไปทำอะไร เขียนซะดิบดีบอกเงินค่าเสี่ยงภัยเพื่อขวัญกำลังใจในการทำหน้าที่ ผ่านไปเป็นปีไม่เห็นมีอะไรมาเลย

สมัยนี้นะ ความดีและความเสียสละ มันซื้อข้าวกินไม่ได้ ซื้อน้ำมันพืชยังไม่ได้เลย”

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "งบค่าเสี่ยงภัยโควิด ตั้งแต่ ตค พย ธค 64 เพิ่งอนุมัติ 22 มีค 2565 ผ่านไปนานกว่า 6 เดือน แล้วยังบอกอีกว่า สำนักงบประมาณยังไม่ได้ดัดสรง ขณะนี้ผ่านมาแล้วกว่า 2 เดือน ยังไร้วี่แวว งบค่าเสี่ยงภัยโควิด เดือน มค กพ มีค 65 กวย แต่ให้ทำงานไปก่อน What???? เงินกู้1 ล้านล้านที่บอกว่าเอามาจัดการโควิ เนี่ยมันเอาไปทำอะไร ชนาสคิบดคึกอิงยผหา ผ่านไปเป็นปีไม่เห็นมีอะไรมาเลย สมัยนี้นะ ความดีและความเสียสละ มันซื้อข้าวกินไม่ได้ ซื้อน้ำมันพืช ยังไม่ได้เลยย สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว กระทรวงสาธารณสข"

อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2565 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว ตามขั้นตอนกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ต้องเสนอแผนการใช้งบประมาณไปยังสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณา และอนุมัติงบลงมา ซึ่งขณะนี้สำนักงบประมาณยังไม่ได้จัดสรรงบดังกล่าว โดยทุกอย่างต้องดำเนินการตามขั้นตอน แต่งบที่ผ่านมติ ครม. อย่างงบค่าเสี่ยงภัยที่หลายคนกังวลว่า จะไม่ได้นั้น อย่างไรเสียได้แน่นอน เพียงแต่ต้องรอขั้นตอนและการจัดสรรจากสำนักงบประมาณก่อน

ผู้สื่อข่าวถามว่ามีบุคลากรที่ปฏิบัติงานโควิดร้องว่า ในพื้นที่มีบางคนได้รับเงินค่าฉีดวัคซีนนอกสถานที่แล้ว แต่ทำไมค่าเสี่ยงภัยจึงยังไม่ได้รับ นพ.ธงชัย กล่าวว่า ต้องไปดูว่า เงินค่าฉีดวัคซีนนอกสถานที่ เป็นเงินของงบประมาณปีก่อนหรือไม่ เพราะงบฯใหม่ที่ผ่านครม. ยังไม่ได้มีการจัดสรร ซึ่งจากการสอบถามงบค่าฉีดวัคซีนนอกสถานที่ที่มีการจัดสรรไปแล้วนั้น เป็นงบประมาณของปีก่อน ไม่ใช่ของใหม่ล่าสุดที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ

“งบประมาณที่ผ่านครม. เมื่อวันที่ 22 มี.ค.2565 ที่ผ่านมา ต้องรอขั้นตอน โดยงบประมาณค่าตอบแทนเสี่ยงภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานโควิดของเดือน ต.ค. พ.ย. และธ.ค. 2564 อยู่ในขั้นตอนขอทางสำนักงบประมาณ ย้ำว่า ไม่ต้องห่วง หากเป็นผู้ปฏิบัติงานจริงเป็นไปตามเงื่อนไข ได้รับงบประมาณแน่นอน” นพ.ธงชัย กล่าว

เมื่อถามกรณีงบค่าตอบแทนเสี่ยงภัยโควิดของเดือน ม.ค. ก.พ. และ มี.ค.2565 จะมีการดำเนินการให้อีกหรือไม่ นพ.ธงชัย กล่าวว่า เป็นไปตามขั้นตอนเหมือนกับงบค่าเสี่ยงภัย ต.ค. พ.ย. และธ.ค. 2564 ที่ผ่านมา โดยของใหม่ในปี 2565 ก็ต้องรอจบเดือน มี.ค. เนื่องจากการจ่ายงบส่วนนี้จะต้องมีการทำงานไปก่อน และรวบรวมข้อมูลเอกสารเสนอของบประมาณ ดังนั้น ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน อย่างไรก็ตาม หากบุคลากรมีข้อสงสัยให้สอบถามไปยังรพ.หรือหน่วยงานที่ตนสังกัด หรือสอบถามสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้

ผู้สื่อข่าวรายงาวน่า สำหรับงบประมาณโควิดที่ผ่าน ครม. เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2565 รวมจำนวน 8,458,385,141 บาท เป็นในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมอนามัย ประกอบด้วย

- ค้างจ่ายค่าตอบแทนเสี่ยงภัยและฉีดวัคซีนนอกสถานที่รวมงบประมาณมากกว่า 3,373 ล้านบาท
- ค้างจ่ายค่ารักษาผู้ป่วยไร้สิทธิ์งบประมาณมากกว่า 2,785 ล้านบาท
- ค้างจ่าย ค่ายาฟาวิพิราเวียร์ และเรมเดซิเวียร์ งบประมาณกว่า 1,778 ล้านบาท
- งบจัดซื้อยาแพกซ์โลวิดอีก 500 ล้านบาท

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส