เลือกตั้งผู้ว่า กทม. 2565 รวมทุกอย่างที่ชาวกรุงเทพฯ ต้องรู้

12 พ.ค. 65

ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับ เลือกตั้งผู้ว่า กทม. 2565 หรือการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ซึ่งในครั้งนี้ถือเป็นการเลือกตั้งในรอบกว่า 9 ปี คนกรุงเทพฯ ต้องรู้อะไรบ้าง และต้องเตรียมตัวอย่างไร อมรินทร์ออนไลน์ ได้รวบรวมทุกเรื่องที่ควรต้องรู้มาให้แล้ว! และชวนมาเกาะติดเลือกตั้ง 65 ไปพร้อมกัน

   

เลือกตั้งผู้ว่า กทม. และ ส.ก. วันไหน?

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.และสมาชิกสภากรุงเทพฯ (ส.ก.) ในครั้งนี้ จัดขึ้นในวันที่ 22 พ.ค.2565 เวลา 08.00-17.00 น. ซึ่งถือเป็นวันครบรอบ 8 ปี การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อีกด้วย ซึ่งหัวหน้า คสช.ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ปลดหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ในขณะนั้น และแต่งตั้ง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมืองเป็นผู้ว่าฯ กทม.แทนเมื่อปี 2559 ทำให้ตามปฏิทินเดิมที่ชาวกรุงเทพฯ ควรได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ในปี 2560 ต้องถูกลากยาวมาจนถึงปีนี้

 

เลือกตั้งผู้ว่า กทม

 

อายุเท่าไหร่ถึงไปเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ได้?

ประชาชนชาวกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม.และ ส.ก.ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป 

 

ใครมีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม และ ส.ก. บ้าง? 

คุณสมบัติสำคัญของผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.และส.ก. ประกอบด้วย

  1. มีสัญชาติไทย หากแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง คือเกิดก่อนวันที่ 24 พ.ค.2547
  3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง

ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถตรวจสอบรายชื่อของตนเอง พร้อมหน่วยเลือกตั้งและสถานที่เลือกตั้งจากหนังสือแจ้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งสำนักงานเขตได้จัดส่งให้ หรือตรวจสอบผู้มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น

 

ต้องพกอะไรไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.บ้าง? 

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้เตรียมหลักฐานยืนยันตัวตน คือ บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรหมดอายุก็ใช้ได้) หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่ทางราชการออกให้ ที่มีภาพถ่ายและเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ไปยังหน่วยเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่

 

 เลือกตั้งผู้ว่า กทม

 

ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. มีใคร เบอร์อะไรบ้าง?

ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.2565 มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง 31 คนด้วยกัน ได้แก่ 

  • หมายเลข 1 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล)
  • หมายเลข 2 พันโทหญิงฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 3 นายสกลธี ภัททิยกุล (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 4 ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
  • หมายเลข 5 นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนา (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 7 นางสาวรสนา โตสิตระกูล (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 9 นางสาววัชรี วรรณศรี (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 10 ดร.ศุภชัย ตินติคมน์ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 11 น.ต.ศิธา ทิวารี (พรรคไทยสร้างไทย)
  • หมายเลข 12 ดร.ประยูร ครองยศ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 13 นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 14 นายธเนตร วงษา (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 15 พล.อ.ต.ทูตปรีชา เลิศสันทัดวาที (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 16 นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 17 นายอุเทน ชาติภิญโญ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 18 นางสาวสุมนา พันธุ์ไพโรจน์ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 19 นายไกรเดช บุนนาค (ผู้สมัครอิสระ) ถูกตัดสิทธิเหตุมีลักษณะต้องห้าม
  • หมายเลข 20 นางอมรพรรณ อุ่นสุวรรณ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 21 นายนิพัทธ์พนธ์ สุวรรณชนะ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 22 นายวรัญชัย โชคชนะ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 23 นายเฉลิมพล อุตรัตน์ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 24 นายโฆสิต สุวินิจจิต (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 25 นายประพัฒน์ บรรจงศิริเจริญ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 26 พล.ต.ท.มณฑล เงินวัฒนะ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 27 ดร.ภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์ (ผู้สมัครอิสระ)
  • หมายเลข 28 นายสราวุธ เบญจกุล (ผู้สมัครอิสระ) ถูกตัดสิทธิเหตุมีลักษณะต้องห้าม 
  • หมายเลข 29 นายกฤตชัย พยอมแย้ม (พรรคประชากรไทย)
  • หมายเลข 30 นายพงศา ชูแนม (พรรคกรีน)
  • หมายเลข 31 นายวิทยา จังกอบพัฒนา (ผู้สมัครอิสระ)

 

เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม และ ส.ก. ล่วงหน้าได้ไหม เลือกได้ที่ไหน?

การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า ในกรณีที่ไม่สะดวกเดินทางไปเลือกตั้ง จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่น (ผู้อำนวยการเขต) ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทำหนังสือ ระบุตัวเลขประชาชนที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน แจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ โดยต้องลงทะเบียนภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง (15-21 พ.ค.) หรือใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง (23-29 พ.ค.) หรือแจ้งผ่านเว็บไซต์ สำนักบริหารการทะเบียน หรือแอปพลิเคชั่น Smart Vote

 

เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม

 

ติดตามผลการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ได้ที่นี่

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

เปิดวิธีเพิ่ม-ถอนชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ภายใน 11 พ.ค.นี้
เปิดไทม์ไลน์ เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 คนกรุงต้องทำอะไรต่อบ้าง?
ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 ผู้ไม่สามารถไปใช้สิทธิ 22 พ.ค. ต้องทำอย่างไรบ้าง

 

advertisement

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส