"บิ๊กตู่" ลั่นไม่ทิ้งเก้าอี้นายกฯ ก็ลงสนามการเมืองได้ ปัดรัฐบาลได้เปรียบ เทียบปี 54 "ยิ่งลักษณ์" ยังชนะได้

1 ก.พ. 62
วันที่ 1 ก.พ. 62 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวช่วงท้ายของการแถลงผลงาน 4 ปี รัฐบาล ว่า หลักการณ์ที่จะพิจารณาว่าจะลาออกจากตำแหน่งนายกฯหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกับการรับหรือไม่รับให้พรรคการเมืองเสนอชื่อเป็นนายกฯ เพราะเรื่องการรับหรือไม่รับการเสนอชื่อจากพรรคการเมือง อยู่ที่นโยบายของพรรคนั้น ว่าตนโอเคหรือไม่ อาจจะต้องมีการปับแก้บ้างหรือไม่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ส่วนหลักการที่ต้องพิจารณาว่าต้องลาออกจากตำแหน่งนายกฯหรือไม่ จำคำพูดของตนไว้ ทั่วโลกที่เป็นระบอบประชาธิปไตย สังคมนิยม ผู้นำรัฐบาลไม่เคยมีใครลาออกเพื่อการเลือกตั้ง เช่น นายบารัค โอบามา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ลงชิงตำแหน่งครั้งที่สอง หรือประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนมีใครลาออกหรือไม่ เพราะหลักการเป็นอย่างนี้ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ กฎกติกา และธรรมเนียมปฏิบัติ หรือมารยาทเกี่ยวกับเลือกตั้งทั่วโลก ไม่มีกฎหมายใดบอกว่าผู้สมัครรับเลือกตั้ง เมื่อมีตำแหน่งบริหารอยู่ด้วยต้องลาออก ซึ่งรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่ปี 2475 ถึงปัจจุบัน ไม่มีกำหนดว่าให้นายกฯ ต้องลาออก และในทางปฏิบัติจริงไม่เคยมีใครใดลาออกขณะเลือกตั้งใช่หรือไม่ "อย่าไปไล่ล่ากันมากนัก พอไล่คนนี้แล้วลาออก แล้วเดี่ยวมาไล่นายกฯออก ก็กฎหมายว่าอย่างนี้ มึงมาไล่ดูสิ ไล่ให้ได้สิ ตนไม่ท้าทายแต่ไม่ออก การที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แพ้การเลือกตั้งปี 54 ในการแข่งกับ น.ส.ยิงลักษณ์ ชินวัตร ทำไมแพ้ล่ะ เป็นรัฐบาลหรือเปล่า ทำไมแพ้ แสดงว่าการเป็นรัฐบาลไม่น่าจะทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นมาแต่อย่างใด ขึ้นอยู่กับรัฐบาลมีผลงานหรือไม่ หากไม่มีประชาชนก็ไม่เลือกอยู่แล้ว ก็ไปหวังในสิ่งใหม่ ๆ ที่เขาพูดออกมาจริงบ้างไม่จริงบ้าง นั่นคือการเมืองไทย" "วันนี้ รัฐธรรมนูญปี 60 มาตรา 264 265 สั่งตน คือ นายกฯ และหัวหน้าคสช. ต้องอยู่ต่อจนกว่ามีรัฐบาลใหม่ ลาออกไม่ได้ ถ้านายกฯ ลาออก ครม.ต้องลาออกทั้งหมด ถ้าตนลาออก แล้วใครจะอยู่จัดงานพระราชพิธี เข้าใจหรือยัง อย่ามาถามอีกนะ ไม่ต้องมาไล่หรอก"

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ