เหลือแค่ในการ์ตูน!? นักวิจัยเชื่อว่า Blue Macaw อาจจะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว

17 ธ.ค. 61
เมื่อเอ่ยชื่อ Blue Macaw หรือ Spix's macaw แล้ว น้อยคนอาจนึกไม่ออกว่ามันคือนกแก้วมาคอว์พันธุ์อะไรกันแน่ แต่หากพูดถึงการ์ตูนอย่าง Rio ที่มีเจ้านกแก้วสีฟ้าเป็นตัวเอกในการเดินเรื่องล่ะก็ เชื่อว่าคงไม่มีใครที่ไม่เคยเห็นเจ้าตัวสีฟ้าที่กลายเป็นความหวังในการรักษาเผ่าพันธุ์ของมันแน่ และดูเหมือนมันจะทำสำเร็จด้วยการสร้างครอบครัวเล็กๆ ของมันขึ้นได้ แต่แน่นอนว่าเรื่องราวในชีวิตจริงคงไม่หอมหวานเหมือนในหนังการ์ตูนที่มนุษยสร้างขึ้นแน่ เพราะเจ้านกแก้วมาคอว์พันธุ์สปิกซ์นั้น ถูกต้องสงสัยจากนักวิจัยว่า...มันอาจจะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว เรื่องราวหวานอมขมกลืนนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 2016 เมื่อองค์กร BirdLife International ได้เดินทางสำรวจป่าฝนในประเทศบราซิลเพื่อค้นหาร่องรอย ที่อาจบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของนกแก้วมาคอว์ที่หายากที่สุดในโลกชนิดนี้ แต่จนล่วงมาถึงปี 2018 คณะวิจัยก็แทบไม่เคยพบหลักฐานที่สามารถอ้างอิงถึงการมีอยู่ของนกแก้วมาคอว์พันธุ์นี้ในธรรมชาติได้ และได้มีข้อสันนิษฐานว่า...นกชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ไปจากป่าของบราซิลแล้ว และสาเหตุก็มาจากการการทำลายป่าไม้ที่แหล่งอาศัยของนกชนิดนี้ และสัตว์ป่าอีกหลายร้อยชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไม่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม ความหวังที่จะรักษาสายพันธุ์หายากของนกแก้วมาคอว์ชนิดนี้ก็ยังคงหลังเหลืออยู่ เมื่อองค์กรอนุรักษ์ในบราซิลได้มีแผนที่จะเพาะขยายพันธุ์นกชนิดนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยการรวบรวมนกมาคอว์พันธุ์สปิกซ์ที่ถูกเลี้ยงอยู่ในกรงจากทั่วโลก เพื่อนำมาขยายพันธุ์ใหม่และนำไปปล่อยสู่ธรรมชาติ แต่จากข้อมูลเมื่อปี 2012 พบว่านกชนิดนี้ที่สามารถระบุตัวได้เพียง 97 ตัว โดยเป็นตัวผู้ 37 ตัว ตัวเมีย 47 ตัว กับอีก 19 ตัวที่ไม่สามารถยืนยันเพศได้ และแม้จะมีความพยายามในการขยายพันธุ์นกแก้วพันธุ์นี้ แต่ก็มีอุปสรรคที่มาคอว์พันธุ์สปิกซ์นั้นจับคู่ยากมากในสถานที่เลี้ยง และมีแนวโน้มที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ซึ่งจากข้อมูลในปี 2013 พบว่ามีลูกนกที่เกิดจากการเพาะพันธุ์เพียง 57 ตัวเท่านั้น แม้จะมีความหวังที่จะฟื้นคืนมาคอว์พันธุ์สปิกซ์ให้กลับมาโบยบินเหนือผืนป่าบราซิล ซึ่งเป็นบ้านเกิดของนกสายพันธุ์นี้อีกครั้ง แต่เนื่องจากนกชนิดนี้ชอบที่จะอาศัยอยู่ใต้ร่มเงาไม้ของต้นคาราไบรา (Caraibeira) ซึ่งเป็นต้นไม้หายากชนิดหนึ่งเช่นกัน และยังถูกคุกตามเพราะการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้โอกาสที่นกแก้วที่เกิดจากการเพาะพันธุ์จะสามารถมีชีวิตอยู่รอดจนถึงขั้นขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติ

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม