สธ.แถลงเตือนภัยระดับ 3 โอมิครอน เผยแบบจำลองหลังปีใหม่อาจติดเชื้อวันละ 3 หมื่นคน เสียชีวิต 170-180 ราย

27 ธ.ค. 64

สธ.แถลงเตือนภัยระดับ 3 โอมิครอน วันนี้ (27 ธันวาคม) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด ฉากทัศน์การแพร่ระบาด และการปฏิบัติตัวของประชาชน ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ว่าตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคมเป็นต้นมา ประเทศไทยสามารถคัดกรองผู้เข้าประเทศ

ทั้งนี้ คิดเป็นโอไมครอนสะสม 514 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในการควบคุม มีบางส่วนที่เล็ดลอดและไปเยี่ยมญาติ อาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อก่อนหน้านี้ แต่ต้นเชื้อมีประมาณ 500 กว่าราย ส่วนอาการของผู้ป่วยประมาณ 90% เป็นอาการน้อยหรือไม่มีอาการ อาการเล็กน้อยอยู่ประมาณ 10% และอาการมาก 3-4% อย่างไรก็ตาม ที่ประเทศอังกฤษมีการศึกษาและรายงานว่า ความรุนแรงของโอไมครอนเมื่อเทียบกับเดลตาจะน้อยกว่า และมักพบว่าเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณหลอดลม ไม่ค่อยลงปอด แต่หากลงปอดก็มีอาการรุนแรงเหมือนสายพันธุ์เดลตา

นพ.เกียรติภูมิยังนำเสนอฉากทัศน์ของการแพร่ระบาดโอไมครอน 3 ฉากทัศน์ ดังนี้

569082

1. ฉากทัศน์แรก (Least Favourable) พบการระบาดของเชื้อโควิด และฉีดวัคซีนใกล้เคียงในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ประชาชนส่วนใหญ่ย่อหย่อนต่อการปฏิบัติตาม UP (Universal Prevention) คาดการณ์ Worst Case Scenario มีผู้ติดเชื้อตั้งแต่เดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2565 จำนวน 30,000 คนต่อวัน เสียชีวิต 170-180 คนต่อวัน

2. ฉากทัศน์ที่ 2 (Possible) โอกาสติดเชื้อเพิ่มสูงช่วงปีใหม่ ฉีดวัคซีนใกล้เคียงช่วงเดือนธันวาคม 2564 ขณะที่ทุกภาคส่วนยังคงปฏิบัติตามมาตรการ VUCA (Vaccine Universal Prevention Covid Free Setting ATK) อย่างเคร่งครัด คาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อช่วงตั้งแต่เดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2565 มากกว่า 15,000 คนต่อวัน ผู้เสียชีวิต 60-70 คนต่อวัน

3. ฉากทัศน์ที่ 3 (Most Favourable) คือแบบดีที่สุด ผลจากโอกาสติดเชื้อเพิ่มปานกลาง เร่งฉีดวัคซีนให้เร็วขึ้นในทุกกลุ่ม และทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการ

ด้าน นพ.โอภาส กล่าวว่า ตามที่ท่านปลัดฯ แจ้งให้ทราบว่า สธ.ประเมินสถานการณ์และประกาศแจ้งการเตือนภัยด้านสาธารณสุขเป็นระดับ 3 จากทั้งหมด 5 ระดับ เพื่อป้องกัน ตรวจจับการระบาด ควบคุมโรคและสถานการณ์ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือความร่วมมือของประชาชน ฉะนั้น หากมีการแจ้งเตือนภัยด้านสาธารณสุขเป็นระดับ 3 สิ่งที่ต้องเน้นย้ำและขอความร่วมมือ คือ

202997

1.ปฏิบัติตามมาตรการ Covid-19 free settings อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสถานที่เสี่ยงระบบปิด เช่น ร้านอาหารที่เป็นห้องปรับอากาศ ที่แออัด พนักงานจะต้องฉีดวัคซีนให้ครบถ้วน รวมถึงสุ่มตรวจ ATK เป็นระยะ และคัดกรองลูกค้า เว้นระยะห่าง ซึ่งที่มาผ่านพบว่าดำเนินการได้ดี แต่ยังพบหลายร้านย่อหย่อนไปบ้าง เช่น ไม่ได้ตรวจสอบการฉีดวัคซีนกับพนักงานใหม่ ซึ่งหากมีความแออัด จะต้องใช้ระบบจองคิว แนะนำลูกค้าปฏิบัติตามมาตราการ ทำความเข้าใจกับลูกค้า

2.ความสามารถรองรับผู้ป่วย เตียงเขียว เหลือง แดง ซึ่งจะเน้นย้ำในผู้ป่วยหนัก นอกจากนั้น ยังดูการฉีดวัคซีนครอบคลุมกลุ่มเสี่ยง คู่กับการระบาดในคลัสเตอร์ว่าควบคุมได้อย่างในระดับพื้นที่

สำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งตอนนี้พบว่าคนไทยเดินทางไปค่อนข้างเยอะ แต่อย่างที่ทราบคือประเทศเราปลอดภัยกว่าค่อนข้างเยอะ เช่นหลายคนไปยุโรปก็เดินทางเอาเชื้อกลับมาฝาก ดังนั้น เมื่อเดินทางกลับมาไทยแล้วก็ขอให้พึงระลึกเสมอว่าแม้ตรวจ RT-PCR ไม่พบเชื้อ แต่ในสัปดาห์แรกที่เราพบตัวอย่างในคลัสเตอร์หลายจังหวัด เช่น กาฬสินธุ์ ขอให้กลับมาเพื่อสังเกตอาการ อย่าเพิ่งไปทำกิจกรรมที่พบคนเยอะ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารร่วมกัน ในระบบปิด ซึ่งเป็นการสร้างความเสี่ยงให้กับตัวท่าน ชุมชนและจังหวัด

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังปีใหม่อาจมีการระบาดมากขึ้น โดยเฉพาะโอมิครอนที่ติดเชื้อง่าย ดังนั้น ขอให้ท่านปฏิบัติมาตรการทำงานจากที่บ้าน(Work From Home) อย่างต่อเนื่อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- 27 ธ.ค. 64 ศบค. เผยพบผู้ติดเชื้อโควิด โอมิครอน ในไทย 514 ราย กระจาย 10 จังหวัด
- กาฬสินธุ์ พบผู้ป่วยใหม่เชื่อมโยง คลัสเตอร์ผัวเมียกลับจาก ตปท. เพิ่มอีก 39 ราย
- วง คลัสเตอร์กาฬสินธุ์ แพร่อีก หนองบัวลำภู พบผู้ป่วย โอมิครอน รายแรกของ จว.

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส