นพ.เฉลิมชัย เผย 4 อาการโอมิครอน และยกตัวอย่างคลัสเตอร์หมู่เกาะฟาโรห์

27 ธ.ค. 64

อาการโอมิครอน นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค Chalermchai Boonyaleepun เกี่ยวกับ ความรู้เรื่องCOVID-19 (ตอนที่1052) 26ธค2564 ว่า

ไวรัส Omicron ทำให้ผู้ฉีด Pfizer ครบ 3 เข็มและมีพฤติกรรมเสี่ยง ติดโควิดสูงถึง 63.6% แต่อาการไม่แรง ( กรณีคลัสเตอร์หมู่เกาะฟาโรห์ )

เนื่องจากไวรัสสายพันธุ์ Omicron เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่องค์การอนามัยโลกเพิ่งประกาศได้ประมาณหนึ่งเดือน ( 26 พฤศจิกายน 2564 )
ทำให้เรามีข้อมูลและสถิติของไวรัสชนิดนี้ ที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์มากนัก

การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ จะทำให้มนุษย์เรา สามารถเข้าใจธรรมชาติของไวรัส Omicron มากขึ้น เพื่อให้สามารถรับมือการระบาดของไวรัสได้ดียิ่งขึ้น

เป็นที่ทราบในเบื้องต้นว่า ไวรัส Omicron มีการแพร่ระบาดได้รวดเร็วและกว้างขวาง แพร่ระบาดไปแล้วกว่า 100 ประเทศทั่วโลก มีการดื้อต่อวัคซีน แต่อาการไม่ค่อยรุนแรงมากนัก การเก็บตัวเลขในกลุ่มคลัสเตอร์ที่ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ จึงเป็นประโยชน์อย่างมาก

วันนี้มีรายงานการศึกษาที่หมู่เกาะฟาโรห์ ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก และเป็นเขตที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงสุดในลำดับต้นของโลก

รวมทั้งมีการตรวจการติดเชื้อที่สูงมากคือตรวจถึง 12 เท่าของจำนวนประชากร หมู่เกาะนี้มีประชากรประมาณ 50,000 คน คือมีการตรวจประมาณ 600,000 เทสต์ การระบาดเป็นกลุ่มก้อนครั้งนี้ เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่จัดงานสังสรรค์เป็นส่วนตัวจำนวน 33 ราย

หลังจากนั้นไม่กี่วัน บางรายมีอาการคล้ายโควิด จึงได้ทำการตรวจพีซีอาร์ พบผลเป็นบวกหรือติดโควิด ที่สำคัญคือ ในคลัสเตอร์ดังกล่าว ทุกคนได้รับการฉีดวัคซีน Pfizer ครบ 3 เข็มแล้ว เป็นเวลาประมาณ 2 เดือนเศษ ซึ่งจะมีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงเพียงพอ

อัตราของผู้ติดเชื้อยังคงสูงมากถึง 63.6% คือ 21 ราย จาก 33 ราย และในจำนวน 21 รายนี้ ได้ตรวจคอนเฟิร์มแล้วว่าเป็นไวรัส Omicron ถึง 17 ราย ผู้ติดเชื้อมีอาการหมดทุกราย (100%) ในระดับน้อยถึงปานกลาง ไม่มีรายใดที่ต้องนอนโรงพยาบาล

อาการประกอบด้วย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย และมีไข้ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการสูญเสียการได้กลิ่นและรับรส พบว่ามีระยะฟักตัวค่อนข้างสั้นคือ 3.24 วัน (2-6 วัน) และมีอาการประมาณ 1-9 วัน จึงทำให้เป็นข้อมูลสำคัญ ที่ช่วยยืนยันว่าไวรัส Omicron ดื้อต่อวัคซีนหรือทำให้ประสิทธิผลของวัคซีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และในคลัสเตอร์ที่หมู่เกาะฟาโรห์ ยิ่งทำให้เกิดความเป็นห่วง เพราะทุกคนฉีดวัคซีนไฟเซอร์ครบ 3 เข็ม ก็ยังติดเชื้อถึง 63.6% เพียงแต่วัคซีนช่วยทำให้ไม่มีผู้ใดป่วยจนอาการหนักต้องเข้าโรงพยาบาล

ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยป้องกันการระบาดของไวรัส Omicron จากรายงานฉบับนี้ จึงได้แนะนำว่า

1) ให้งดเว้นการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ โดยเฉพาะในอาคาร และมีการระบายอากาศไม่ดี
2) หลีกเลี่ยงพฤติกรรม การหัวเราะ ร้องเพลง และพูดจาเสียงดัง
3) หลีกเลี่ยงการถอดหน้ากากอนามัยออกในการพบปะผู้คน
4) เร่งฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 เพื่อช่วยลดความรุนแรงของการเป็นโรค ถ้าบังเอิญติดเชื้อขึ้นมา

กล่าวโดยสรุป การป้องกันการติดไวรัส Omicron ควรดำเนินการดังนี้

1) ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อออกจากบ้าน
2) งดการเลี้ยงสังสรรค์ที่เป็นกลุ่มก้อน โดยเฉพาะที่อยู่ในอาคารและระบบระบายอากาศไม่ดี
3) หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดและมีการพูดคุย หัวเราะเสียงดัง หรือร้องเพลง
จะทำให้ลดโอกาสการติดไวรัส Omicron ได้อย่างมีนัยสำคัญ

ส่วนกรณีการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 จะทำให้ติดเชื้อลดลงได้บ้าง แต่ที่สำคัญคือจะลดอาการเจ็บป่วยรุนแรงถ้าบังเอิญติดเชื้อขึ้นมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- เช็ก อาการโอไมครอน ใหม่ 5 ข้อ จากการเปิดเผยของแพทย์ผู้รักษา
- เปิดไทม์ไลน์ โอมิครอน สุรินทร์ 3 รายใหม่ 1 คนร่วมงานช้างแฟร์ดูคอนเสิร์ต ปู พงษ์สิทธิ์
- เชียงใหม่ แถลงเจอ โอมิครอน 2 ราย เป็น นทท.ต่างชาติ เข้าไทยด้วยระบบ Test&Go
- กาฬสินธุ์ หนัก! คลัสเตอร์โอมิครอน ผัวเมียกลับจาก เบลเยียม แพร่อีก 38 ราย ลามข้ามอำเภอ 12 ราย 

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส