หมอธีระวัฒน์ ชี้โควิดปี 65 จบหาก โอมิครอน ระบาดแทนที่ เดลตา ได้หมดจด

19 ธ.ค. 64

หมอธีระวัฒน์ ชี้โควิดปี 65 จบหาก โอมิครอน ระบาดแทนที่ เดลตา ได้หมดจด แต่หากแทนที่ไม่ได้ เกิดเป็นคู่หูระบาด หรือผสมเป็นไฮบริด จะยุ่งยากมากขึ้น

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.64 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ถึงสถานการณ์โควิด ปี 2565 ระบุว่า 

สถานการณ์โควิด 2565 จบหรือเริ่มใหม่?

จบ…ถ้า โอไมครอน มาแทนกลุ่มอื่นได้หมดจด ทั้งนี้คนที่เคยติดเชื้อมาก่อนสามารถกัน โอไมครอน ได้ เพียง 19% และวัคซีนมาตรฐาน ในต่างประเทศสองเข็มลดการติดเชื้อที่มีอาการได้ 30% และประมาณว่าถ้าได้เข็มสามจะได้ 70% แต่บอกไม่ได้ว่าอยู่นานเท่าใด

ทั้งนี้โดยต้องแบกรับ จำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลและมีอาการหนัก ถึงแม้เปอร์เซนต์จะน้อยกว่าเดลต้า แต่อธิบายจากจำนวนติดเชื้อมหาศาล และจำนวนผู้ป่วยอาการหนักที่เกิดขึ้นจากเดลต้าเดิม ที่พักฟื้น ตามวัฎจักรเชื้อโควิด ที่กลายเป็นติดเชื้อโดยไม่มีอาการและต่อมาปรับตัวเป็นรุนแรงใหม่ ดังที่เห็นจากประเทศ ตะวันตกต่างๆ แล้วถ้าเป็นเช่นนั้นจริงที่โอไมครอนแทนที่ได้หมด จะมีภูมิต่อโอไมครอน ทั้งพื้นที่ ทั้งประเทศ

จะไม่จบ….ถ้า โอไมครอน แทนที่เดลต้าได้ไม่สนิท และเดลต้ายังปรับความรุนแรงขึ้นได้ จะเกิด “คู่หูระบาด” (twin endemic)
และจะซับซ้อนขึ้นถ้าคู่หูประกอบร่างใหม่เป็น ไฮบริด ทั้งนี้โดยที่โอไมครอนก็นำโคโรนาหวัด 229E เข้ามาควบรวมไปแล้ว และมีเป็น ไฮบริด อาจมีศักยภาพในการสร้างความรุนแรงมากขึ้น หรือแม้แต่โอไมครอนเดี่ยวๆ ปรับตัวมากขึ้น

ทั้งนี้จะยุ่งยากมากขึ้น ถ้าภูมิจากการติดเชื้อหรือวัคซีนก่อนหน้าที่ไม่ใช่โอไมครอนหรือเดลต้า เบต้า ตรงๆ กลับนำชิ้นส่วนไวรัสเข้าในเซลล์ที่สร้างการอักเสบและเกิดการอักเสบรุนแรงมากกว่าปกติ และอื่นๆ

ทำไม…ไวรัส เก่ง? ในด้านตัวเชื้อ โคโรนาไวรัสมีวิวัฒนาการมาเนิ่นนานด้วยการผันแปรของรหัสพันธุกรรมแต่ละท่อน ซึ่งมีหน้าที่จำเพาะในการเกาะติดที่เซลล์ ในการกดการต่อสู้ของร่างกายเพื่อเอื้ออำนวยให้ไวรัสสามารถอยู่ได้ในเซลล์และเพิ่มปริมาณได้ ในขณะเดียวกันเข้าไปควบคุมเซลล์เจ้าบ้านให้เอื้ออำนวยพลังงานให้กับไวรัสโดยไม่สามารถขจัดไวรัสออกจากเซลล์ได้ (incomplete autophagy) และในขณะเดียวกันรบกวนการใช้พลังงานในเซลล์จนกระทั่งเกิดภาวะพลังงานล้มเหลว (bioenergetic failure) นอกจากนั้นมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มจำนวนโดยผ่านทาง เอนไซม์ และที่สำคัญก็คือมีท่อนรหัสพันธุกรรมที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างการอักเสบ ที่รุนแรงเกินควร ผ่านระบบ innate และโยงใยไปถึงการที่มีเลือดข้น เส้นเลือดตันเส้นเลือดอักเสบ อวัยวะหลายส่วนเสียหาย

ส่วนสำคัญที่ไม่สามารถอธิบายจากรหัสพันธุกรรมของไวรัสเท่านั้นเป็นกลไกเหนือยีน (epigenetics) และเป็นตัวกำหนดตำแหน่งแห่งที่ ที่ไวรัสสามารถอยู่ได้โดยบรรพบุรุษของโคโรนา จะอยู่ในลำไส้ และค่อยๆปรับเปลี่ยนมาอยู่ในระบบทางเดินหายใจจนกระทั่งถึงถุงลมและพัฒนาเข้าเลือดรวมกระทั่งถึงเม็ดเลือดขาว ทั้งนี้เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สู้กับระบบปกป้องไวรัสของร่างกายของเนื้อเยื่อนั้นๆ คือ ZAP หรือ Zinc finger antiviral protein และ APOBEC3G ที่มีประสิทธิภาพมาก ในปอด เม็ดเลือดขาว

จุดที่ยังเป็นปริศนา กำเนิดของโควิดไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามาจากสัตว์ป่าเพราะเชื้อที่ได้จากสัตว์ป่าไม่มีคุณสมบัติพอที่จะติดเชื้อในมนุษย์และก่อโรคได้อย่างแพร่หลาย เป็นการเพิ่มเติมดัดแปลงไวรัสที่อยู่ในสัตว์ป่าที่มีมาก่อนหน้านี้หรือไม่ และทำให้การระบาดไม่สามารถหยุดยั้งได้แม้จะผ่านไปสองปีแล้ว 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมอธีระวัฒน์ ฉีด โมเดอร์นา เข้าชั้นผิวหนัง ย้ำได้ภูมิเท่ากับฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
หมอธีระวัฒน์ แนะเด็ก 3 ขวบขึ้นไป ฉีดวัคซีน เชื้อตาย 2 เข็ม ตามด้วย mRNA ปริมาณน้อย
หมอธีระวัฒน์ เผย 6 อย่าช่วงโควิด และข้อควรระวังจากลิ่มเลือดอุดตัน

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส