ศิริราชแจ้งผลวิจัย แอสตร้าเซนเนก้า - ไฟเซอร์ เข็ม 3 แบบฉีดเข้าผิวหนังและกล้ามเนื้อ

2 พ.ย. 64

กรณีผลวิจัย แอสตร้าเซนเนก้า - ไฟเซอร์ เข็ม 3 ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รายงานผลวิจัยล่าสุด ณ 28 ต.ค.64 ถึงการทดลองฉีดวัคซีนโควิด19 กระตุ้นเข็ม 3 โดยเปรียบเทียบการฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง และฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (แบบที่ฉีดกันในปัจจุบัน) ซึ่งผลวิจัยพบว่า ผู้ฉีดวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็ม ถูกกระตุ้นเข็ม 3 ได้ดี ด้วยวัคซีนแอสตร้าฯ และไฟเซอร์ ทั้งการฉีดเข้ากล้ามเนื้อและเข้าผิวหนัง

ส่วนผู้ฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ ครบสองเข็ม ควรกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งได้ผลดีทั้งแบบเข้ากล้ามเนื้อหรือผิวหนัง ดังนี้

1.กลุ่มฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม

-ฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยไฟเซอร์ เข้าในชั้นผิวหนัง 0.05cc ได้ระดับภูมิคุ้มกัน IgG 3,209 BAU/mL ซึ่งใกล้เคียงกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อในขนาด ครึ่งโดส(0.15cc) ซึ่งได้ระดับ 3,981 BAU/mL แต่ต่ำกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แบบเต็มโดส (0.3cc) ซึ่งให้ค่าเฉลี่ย 5,152 BAU/mL

-ฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยแอสตร้าเซเนก้า เข้าในชั้นผิวหนัง 0.1cc ให้ระดับ IgG เฉลี่ย 2,810 BAU/mL ซึ่งสูงกว่าการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อซึ่งมีระดับเฉลี่ย 1,358 BAU/mL ประมาณ 2 เท่า

2.กลุ่มฉีดแอสตร้าเซเนก้าครบ 2 เข็ม

-ฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ เข้าในชั้นผิวหนัง 0.05cc ให้ระดับภูมิคุ้มกันสูง1,490 BAU/mL ใกล้เคียงกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อในขนาดครึ่งโดส (0.15cc) 1,962 BAU/mL แต่ต่ำกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อขนาดเต็มโดส (0.3cc) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 2,377 BAU/mL

-ฉีดเข็ม 3 ด้วยไฟเซอร์ ไม่ว่าจะเป็นเข้ากล้ามเนื้อหรือในชั้นผิวหนังให้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่า หลังฉีดเข็ม 2 ของแอสตร้าเซเนก้า (278 BAU/mL) 5-8 เท่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- ให้ไว! นนท์พร้อม เปิดลงทะเบียนฉีด ซิโนแวค+ไฟเซอร์ ไม่จำกัดเชื้อชาติ และที่พักอาศัย
- 10 จังหวัดติดโควิดรายใหม่สูงสุด ปัตตานี พุ่งเบียด กทม.
- รพ.ธรรมศาสตร์ ยุตินำเข้าโมเดอร์นา บริจาคจากโปแลนด์ จำนวน 3 ล้านโดส

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส