ธปท.เผยคนไทยออมเงินเพิ่มขึ้น แต่มีแค่ 38% เงินสำรอง พอใช้เกิน 3 เดือน

28 ต.ค. 64

ธปท.เผยผลสำรวจ ทักษะทางการเงินของไทยปี 2563 พบโควิดทำคนไทยตระหนักถึงการออมเงินมากขึ้น แต่มีแค่ 38% ที่มี เงินสำรอง อยู่ได้เกิน 3 เดือนหากหยุดงานกะทันหัน ​

วันที่ 28 ต.ค.64 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิด ผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทยปี 2563 พบว่าคนไทยมีพัฒนาการระดับทักษะทางการเงินดีขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 71.0 สูงกว่าการสำรวจครั้งก่อนในปี 2561 (ร้อยละ 66.2) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยการสำรวจทักษะทางการเงินครั้งล่าสุดของ OECD ในปี 2563 (ร้อยละ 60.5)

เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของทักษะทางการเงินทั้ง 3 ด้าน พบว่าคนไทยมีพัฒนาการดีขึ้นในทุกด้าน โดยความรู้ทางการเงินอยู่ที่ร้อยละ 62.9 (ร้อยละ 55.7 ในปี 2561) ปรับตัวดีขึ้นในทุกหัวข้อแต่ยังมีหัวข้อที่สามารถพัฒนาและส่งเสริมเพิ่มเติม ได้แก่ การคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากทบต้น การกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และมูลค่าของเงินตามกาลเวลา ด้านพฤติกรรมทางการเงินอยู่ที่ร้อยละ 71.1 (ร้อยละ 67.8 ในปี 2561) โดยหัวข้อการจัดสรรเงินก่อนใช้และศึกษาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือมีคะแนนเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ดี หัวข้อการบริหารจัดการเงินเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเงินไม่พอใช้มีคะแนนลดลง

ขณะที่ด้านทัศนคติทางการเงินอยู่ที่ร้อยละ 82.0 (ร้อยละ 78.0 ในปี 2561) มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทัศนคติในเรื่องการวางแผนเพื่ออนาคตในระยะยาวเป็นหัวข้อที่มีพัฒนาการจากปี 2561 มากที่สุด ซึ่งความไม่มั่นคงทางรายได้จากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 น่าจะมีส่วนทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ในอนาคตมากขึ้น

สำหรับการสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมการออม พบว่าสัดส่วนผู้มีเงินออมในกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.7 ในปี 2563 (จากร้อยละ 72.0 ในปี 2561) และคนส่วนใหญ่มีความตระหนักเรื่องการออมเงินเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน และการออมเพื่อการเกษียณ ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชนตระหนักถึงความจำเป็นของการเก็บเงินสำรองมากขึ้น อย่างไรก็ดี มีเพียงร้อยละ 38 ที่มีเงินสำรองอยู่ได้เกิน 3 เดือนหากต้องหยุดงานกะทันหัน แสดงให้เห็นว่ายังมีความจำเป็นต้องส่งเสริมการออมให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้ แรงจูงใจสำคัญในการออมมาจากการมีเป้าหมายหรือแผนที่ชัดเจนที่จะต้องใช้เงินในอนาคต แต่มีเพียงร้อยละ 19.7 ที่จัดสรรเงินเพื่อออมก่อนนำเงินไปใช้จ่ายจึงอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เป้าหมายการออมไม่สำเร็จ

249032306_1537288946620527_41

เมื่อพิจารณาระดับทักษะทางการเงินตามช่วงวัย พบว่า ทุกวัยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกด้านสอดคล้องกับภาพรวมของประเทศ โดย Gen Y มีระดับทักษะทางการเงินดีที่สุดเมื่อเทียบกับวัยอื่น มีคะแนนด้านความรู้และพฤติกรรมทางการเงินสูง เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้านการจัดสรรเงินและศึกษาข้อมูลก่อนซื้อผลลิตภัณฑ์ทางการเงินค่อนข้างมาก แต่ยังควรส่งเสริมด้านการไตร่ตรองก่อนใช้จ่ายเพื่อเลี่ยงปัญหาใช้เงินเกินตัว

ขณะที่ Gen X ระดับทักษะทางการเงินค่อนข้างดี ทัศนคติทางการเงินเป็นหัวข้อที่มีคะแนนสูงสุดเมื่อเทียบกับวัยอื่น รวมถึงยังทำคะแนนได้ดีในด้านความรู้และพฤติกรรมทางการเงิน เป็นช่วงวัยที่ให้ความสำคัญในการตั้งเป้าหมายระยะยาว แต่มีแนวโน้มประสบปัญหาเงินไม่พอใช้ และเลือกกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวมากกว่าวัยอื่น ๆ

ด้าน Gen Z ระดับทักษะทางการเงินค่อนข้างน้อย มีความรู้ปานกลาง และมีคะแนนด้านพฤติกรรมและทัศนคติทางการเงินน้อยที่สุดในทุกช่วงวัย อย่างไรก็ตาม วัยนี้มีพัฒนาการของคะแนนทักษะทางการเงินดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับคะแนนปี 2561 โดยเฉพาะค้านความรู้และพฤติกรรมทางการเงิน จึงควรพัฒนาพฤติกรรมทางการเงินในภาพรวมอย่างต่อเนื่องต่อไป

ส่วน Gen Baby Boomer ขึ้นไป ระดับทักษะทางการเงินน้อยที่สุด มีคะแนนด้านความรู้น้อยที่สุดในทุกหัวข้อ แต่มีทัศนคติทางการเงินค่อนข้างดี เป็นช่วงวัยที่ประสบปัญหาเงินไม่พอใช้น้อยกว่าช่วงวัยอื่น และมีแนวโน้มไม่กู้เงินเมื่อประสบเหตุดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ควรพัฒนาเรื่องการเปรียบเทียบและศึกษาข้อมูลจากแหล่งที่เหมาะสมก่อนเลือกซื้อผสิตภัณฑ์ทางการเงิน

8_11

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

กรมอนามัย เผยโพลปชช. 92.4% ใน 17 จังหวัดท่องเที่ยว ห่วง เปิดประเทศ ทำระบาดระลอกใหม่
ธนาคาร คืนเงินครบแล้ว 130 ล้าน เหยื่อ ดูดเงิน บัตรเดบิต-เครดิต
กรมสรรพากร เตือนอย่าหลงเชื่ออีเมลปลอมการแจ้งคืนภาษี

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม