ศธ.-สธ.แจงมาตรการความปลอดภัยรับ เปิดเทอม แบบ On-site วันที่1 พ.ย. 64

28 ต.ค. 64

28 ต.ค. 64 เปิดเทอม 1 พ.ย. 64 น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ, นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และนพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย แถลงถึง ความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ของสถานศึกษาสังกัด ศธ. ในวันที่ 1 พ.ย. 2564

น.ส.ตรีนุช ระบุว่าได้มีการออกประกาศ ศธ.เรื่องหลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 (ฉบับที่ 34 ) เพื่อกำกับดูแลและเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน ครู และประชาชนทั่วไป

ประกาศ ศธ.ฉบับนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถานศึกษา เงื่อนไขของมาตรการ แนวปฏิบัติ แผนเผชิญเหตุ และรายละเอียดต่าง ๆ ระบุไว้อย่างชัดเจน โดยมีสาระสำคัญ 5 ส่วน คือ

1. เงื่อนไขหลักของมาตรการ Sandbox Safety Zone in School รองรับการเปิดภาคการศึกษาที่ 2/2564 โดยจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาแบบ on site จำแนกตามเขตพื้นที่การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19

2. เงื่อนไขข้อกำหนดของ 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC), 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) และแนวทาง 7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศึกษา (ประเภทไป-กลับ)

3. หลักเกณฑ์การพิจารณาสำหรับการใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) หรือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม)

4. มาตรการตามแผนเผชิญเหตุตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของสถานศึกษา

5. หลักเกณฑ์การพิจารณาสำหรับการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เพื่อการสอบ การฝึกอบรม หรือ การทำกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

น.ส.ตรีนุช เปิดเผยว่า การเปิดเรียนแบบ On-site จะต้องผ่านการประเมินความพร้อมผ่าน Thai Stop Covid Plus (TSC+) และรายงานการติดตามการประเมินผล ครูและบุคลากรในพื้นที่สีแดงเข้มและพื้นที่สีแดง จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ตั้งแต่ร้อยละ 85 ขึ้นไป

ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้สำรวจจำนวนโรงเรียน พบว่า ในภาคเรียนที่ 2/2564 มีทั้งขอเปิดแบบ on-site 100% หรือ on-site ส่วนใหญ่ รวมกว่า 10,000 โรงเรียน มีบางแห่งขอใช้รูปแบบผสมผสาน และมีบางพื้นที่ที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดยังไม่ให้เปิดแบบ on-site ในวันที่ 1 พ.ย.นี้ แต่ให้เลื่อนไปเปิดวันที่ 15 พ.ย.2564 แทน

อย่างไรก็ตาม การเปิดโรงเรียน จะมีการประเมินจากพื้นที่การแพร่ระบาดว่าอยู่ในพื้นที่ไหน ตามโซนสี รวมถึงปริมาณการฉีดวัคซีนโควิดของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะพื้นที่สีแดงและสีแดงเข้ม ครูและบุคลากรจะต้องฉีดวัคซีนครบทั้งสองเข็มร้อยละ 85 และเสนอเรื่องไปที่คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดให้ความเห็นชอบ หากได้รับความเห็นชอบก็สามารถเปิดเรียนในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ได้

ขณะที่ นพ.โอภาส กล่าวว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับเด็กอายุ 12 -18 ปี ตอนนี้มีการแจ้งความประสงค์เข้ารับการฉีดวัคซีมเพิ่มอีก 500,000 คน ซึ่งกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขได้ทยอยจัดสรรวัคซีนลงไปยังพื้นที่ต่างๆ เพิ่มเติมแล้ว ส่วนผลข้างเคียงของวัคซีนไฟเซอร์ที่ผู้ปกครองกังวลนั้น นพ.โอภาส ชี้แจงว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้แต่เกิดน้อย และสามารถรักษาหายได้ ซึ่งข้อมูลทางการแพทย์เมื่อเด็กติดเชื้อโควิด ภายนอกเหมือนไม่มีอาการแต่ภายใน อวัยวะเกิดการอักเสบ และส่งผลต่อระยะยาว โดยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์จึงเห็นว่า การฉีดวัคซีนโควิดมีประโยชน์ โดยแนะนำให้เด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนเพียงแต่ให้มีความระมัดระวัง หากฉีดครบ 2 เข็มแล้วควรพักร่างกายและงดออกกำลังกายประมาณ 7 วัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- บิ๊กตู่ ฉีดไฟเซอร์ กระตุ้น เข็ม 3 ก่อนไปประชุมสิ่งแวดล้อมที่สกอตแลนด์
- ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดเงื่อนไขจอง โมเดอร์นา-ซิโนฟาร์ม เข็มกระตุ้นและครบโดส 29 ต.ค.นี้
- กรมควบคุมโรค เผยวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส ถึงไทยตามกำหนด

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส