ญี่ปุ่นพบ ไวรัสเยโซ คาดต้นตอจากถูกเห็บกัด จับตาหวั่นเป็นโรคใหม่

7 ต.ค. 64

ญี่ปุ่นพบไวรัสปริศนาไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน ที่ฮอกไกโด ชื่อ ไวรัสเยโซ คาดต้นตอมาจากถูกเห็บกัด จับตาหวั่นเป็นโรคใหม่

วันที่ 7 ต.ค.64 มีรายงานข่าว นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น พบไวรัสใหม่ชื่อว่า ไวรัสเยโซ (Yezo virus) คาดติดเชื้อจากการถูกเห็บกัด พบมีความสัมพันธ์กับเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดไข้เลือดออก ไข้เลือดออกไครเมียน-คองโก และเชื้อโรคแกะไนโรบี โดยมีอาการอาการไข้สูง และลดจำนวนเกล็ดเลือดและเซลล์เม็ดเลือดขาว

นายเคตะ มัตสึโนะ นักไวรัสวิทยา จากสถาบันควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มหาวิทยาลัยฮอกไกโด ระบุว่า ขณะนี้มีรายงานอย่างน้อย 7 คนติดเชื้อไวรัสนี้ นับตั้งแต่ปี 2557 อย่างไรก็ดียังไม่รุนแรงถึงมีขั้นมีผู้เสียชีวิต แต่เชื่อว่าอาจมีการระบาดในพื้นที่อื่นๆ นอกฮอกไกโดอีก จึงต้องมีการสอบสวนโรคต่อไป

ก่อนหน้านี้ในปี 2562 พบผู้ป่วยเป็นชายอายุ 41 ปี เข้าโรงพยาบาลด้วยอาการไข้สูง และปวดขา คาดเกิดจากถูกเห็บกัดขณะเดินป่าในฮอกไกโด ใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการรักษาจนหายดี ผลการสอบสวนโรคพบว่าชายคนดังกล่าวมีผลตรวจออกมาเป็นลบ ในการตรวจหาเชื้อไวรัสที่มีเห็บเป็นพาหะทุกๆ โรคเท่าที่รู้จักกันอยู่ในขณะนั้น ก่อนที่ปีถัดมาจะพบผู้ป่วยถูกเห็บกัดเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการที่คล้ายคลึงกัน

คณะนักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์พันธุกรรมในผู้ป่วยทั้ง 2 ราย และค้นพบไวรัสชนิดใหม่ ให้ชื่อว่า "ไวรัสเยโซ" ก่อนจะพบว่ามีผู้ป่วยอีก 5 รายซึ่งติดเชื้อไวรัสดังกล่าว

นักวิจัยได้พยายามค้นหาแหล่งตอของไวรัสเยโซนี้ โดยพบอาร์เอ็นเอ (RNA) ของไวรัสเยโซ ในเห็บ 3 สายพันธุ์ ซึ่งพบในพื้นที่เกาะฮอกไกโด และยังพบแอนติบอดีต้านไวรัสตัวนี้ในกวางซีกาและแรคคูนที่อยู่ในพื้นที่อีกด้วย จึงเชื่อว่ามีแนวโน้มที่ไวรัสเยโซจะเกิดขึ้นในพื้นที่ฮอกไกโด และเป็นการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนผ่านทางเห็บ ทั้งนี้แนะนำให้โรงพยาบาล ตรวจหาการติดเชื้อหากพบผู้ป่วยที่มีอาการที่คล้ายการติดไวรัสเยโซ

ที่มา - https://consumer.healthday.com/b-10-7-japanese-scientists-discover-new-disease-carried-by-ticks-2655219091.html 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลทดสอบ โมลนูพิราเวียร์ ยาเม็ดต้านโควิด ลดป่วยหนัก-ตายได้ 50%
อินเดีย พบ ไข้ลึกลับ คร่าชีวิตเด็ก 8 คนในช่วง 10 วัน
อนามัยโลกจับตา โควิดสายพันธุ์ใหม่ มิว เสี่ยงหลบภูมิคุ้มกันได้ พบแล้วใน 39 ประเทศ

 

 

 

advertisement

ข่าวยอดนิยม