ปริมาณน้ำทั้งประเทศตอนนี้อยู่ที่ 68% แม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

6 ต.ค. 64

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 ต.ค. 64 ดังนี้

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง

แม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยกเว้นภาคเหนือมีแนวโน้มลดลง

242708493_425896852266621_872

ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 55,808 ล้าน ลบ.ม. (68%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 49,098 ล้าน ลบ.ม. (69%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 16 แห่ง (บึงบอระเพ็ด อ่างฯ แม่มอก อ่างฯ แควน้อยบำรุงแดน อ่างฯ ทับเสลา อ่างฯป่าสักชลสิทธิ์ อ่างฯกระเสียว อ่างฯ จุฬาภรณ์ อ่างฯ อุบลรัตน์ อ่างฯ ลำตะคอง อ่างฯ ลำพระเพลิง อ่างฯ มูลบน อ่างฯ ลำแซะ อ่างฯ ลำนางรอง อ่างฯ ขุนด่านปราการชล อ่างฯ นฤบดินทรจินดา และอ่างฯ หนองปลาไหล)

244374574_429915181864788_821

กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำหลากจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” ในช่วงวันที่ 23 ก.ย. - 6 ต.ค. 64 พบว่า มีพื้นที่ประสบอุทกภัย รวม 32 จังหวัด 208 อำเภอ 1,130 ตำบล 7,618 หมู่บ้าน 298,901 ครัวเรือน โดยล่าสุดสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 16 จังหวัด ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 16 จังหวัด 74 อำเภอ 410 ตำบล 2,176 หมู่บ้าน 101,005 ครัวเรือน

243480067_429412308581742_577

ที่ผ่านมา กอนช. ได้มีการติดตามสถานการณ์น้ำรวมทั้งได้ วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สสน. กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร จังหวัดและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ ในการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ โดยการตรวจสอบอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ รวมทั้งเตรียมแผนเผชิญเหตุ บุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อบูรณาการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที โดยมีการสื่อสารแจ้งเตือนอุทกภัยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการปรับแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัยและให้สถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ