Zipmex ตั้งโต๊ะแถลง เร่งหาเงินคืนลูกค้า ไม่น้อยกว่า 2 พันล้านบาท เปิดทางออก ขายกิจการ หรือ เพิ่มทุน

1 ส.ค. 65

จากกรณีปัญหาที่ก่อนหน้านี้ บริษัท ซิปเม็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Zipmex Thailand แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอเรนซีชื่อเจ้าใหญ่ในไทย มีปัญหารประกาศระงับการฝาก ถอนเงินบาท และคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งปัจจุบันสามารถกลับมาซื้่อขายได้เบิกถอนได้สำหรับในกลุ่มบัญชี Trade Wallet แต่ในผลิตภัณฑ์ Zipup+ ที่ใช้งานใน Z Wallet ยังไม่าสามารถใช้งานได้ เพราะโดนผลกระทบความเสียหายจากผลิตภัณฑ์ Zipup+ ที่ Zipmex Asia นำไปลงทุนกับ Babel Finance มูลค่าประมาณ 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Celsius มูลค่าประมาณ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แพลตฟอร์มปล่อยกู้คริปโท ในต่างประเทศ ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินวิกฤตโดมิโน ส่งผลให้เกิดความเสียหายมูลค่ารวมเกือบ 2,000 ล้านบาท สร้างความเสียหายกับลูกค้าไทยมากถึงจำนวน 60,000-70,000 ราย

 

จนทำให้ Zipmex Asia Pte Ltd ได้ยื่นเรื่อง 5 คดี ต่อศาลสูงสิงคโปร์เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2565 เพื่อขอการพักชำระหนี้ (Moratorium) ของบริษัทในกลุ่มทั้งหมดจำนวน 5 บริษัท เป็นเวลา 6 เดือน

 

 

Zipmex ตั้งโต๊ะแถลงเปิดใจยอมรับเป็นผลกระทบวิกฤตขาลงคริปโท

Zipmex ตั้งโต๊ะแถลงเปิดใจยอมรับเป็นผลกระทบวิกฤตขาลงคริปโท

 

ขณะที่ล่าสุดวันนี้ (1 ส.ค. 65) ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง ซิปเม็กซ์ (ประเทศไทย) ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวกับสื่อมวลชนเพื่อชี้ประเด็นข้อสงสัยต่างๆ กับปัญหาที่ Zipmex กำลังประสบอยู่ โดยซีอีโอของ ซิปเม็กซ์ (ประเทศไทย) ออกมายอมรับว่า สถานการ์ที่เกิกขึ้นกับริษัทตอนนี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงและเป็นวิกฤตที่บริษัทต้องแก้ไข โดยขอชี้แจงข้อมูลเพราะมีในช่วง 4-5 วันที่ผ่านมามีข้อมูลข่าวสารที่ของบริษัทที่รายงานออกเป็นข่าวที่ผิดหรือ "เฟคนิวส์" ออกมาจำนวนมาก ดังนั้นอยากชี้แจงข้อมูลของบริษัทเพื่อสื่อมวลชนนำข้อมูลข้อเเท็จจริงที่ถูกต้องไปรายงานต่อได้ ซึ่งขอยืนยันว่าบริษัทมีความตั้งใจจะแก้ปัญหาให้กับลูกที่ได้รับผลกระทบจากการลงทุน Zipup+ ที่โดนผลกระทบจากตลาดคริปโทที่เป็นขาลง

 

 'Zipmex' เปิดให้โอน-ถอน เหรียญเข้า Trade Wallet

zip02

ดร.เอกลาภ ระบุ ถึงแผนความคืบหน้าในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นว่า ในช่วงเย็นวันนี้ (1 ส.ค.) เตรียมให้ลูกค้า ZipUp+ เริ่มทยอยถอน-โอนเหรียญ "เฉพาะ 3 เหรียญ" คือ SOL, ADA และ XRP ได้บางส่วนมายัง Trade Wallet ได้ ก่อนเพื่อบรรเทาความเสียหาย ส่วนเหรียญใหญ่ใน ZipUp+ อย่าง BTC,ETH นั้น คาดว่าจะเริ่มประกาศให้โอนถอนได้ในช่วงกลางเดือน ส.ค. 2565 นี้

 

นอกจากนี้ ล่าสุด Zipmex Asia บริษัทแม่ จะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายชดเชยความเสียหายจำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรองรับความเสียหายที่เกิดจาก Celsius โดยจะนำเงินมาเฉลี่ยจ่ายคืนเพื่อบรรเทาความเสียหายให้กับลูกค้าที่ลงทุนใน Zipup+ ที่เสียหายจาก Celsius โดยจะนำเงินมาเฉลี่ยจ่ายคืนเพื่อบรรเทาความเสียหายให้กับลูกค้าที่ลงทุนใน Zipup+ ที่อยู่ใน 4 ประเทศที่กลุ่ม Zipmex ทำธุรกิจอยู่ ได้แก่ สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย และไทย

 

 

 

Zipmex Asia เล็งระดมทุนหาเงินไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท คืนลูกค้า

zipasia

ส่วนที่เสียหายจาก Babel Finance มูลค่า 48 ล้านดอลลาร์นั้น Zipmex Asia จะระดมทุนหาเงินไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท ด้วยการขายธุรกิจ/เพิ่มทุน เพื่อหาเงินมาคืนให้ลูกค้า โดยล่าสุดบริษัทแม่ Zipmex Asia ได้มีลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU) ร่วมกับนักลงทุนรายใหม่ที่สนใจนิติบุคลลจำนวน 2 ราย ซึ่งในตอนนี้มี 1 รายที่ยอมเงินมัดจำ เพื่อบริษัทได้เข้าสู่กระบวนการสอบทาน หรือ Due Diligence ซึ่งคือหนึ่งในขั้นตอนของการลงทุน โดยแนวทางที่จะใช้ระดมทุนคาดหวังว่าจะได้เงินเข้ามาไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 แนวทางคือ 1. การซื้อกิจการ Zipmex Asia ของนักลงทุนรายใหม่ 2.การเพิ่มทุนในรูปแบบขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง(PP) กับการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิม(RO) ซึ่งขั้นตอนดังกล่าว

 

โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการทำ Due Diligence ประมาณ 3 เดือน โดยเชื่อว่าเป็นวิธีการระดมเงินเข้ามาในบริษัทที่เร็วกว่าการฟ้องร้องคู่ค้า ซึ่งจะทำให้มีโอกาสนำเงินมาคืนลูกค้าผู้เสียหายที่ลงทุนใน ZipUp+ ได้เร็วขึ้นซึ่งลูกค้าในไทยมีจำนวนมากที่สุดรวมประมาณ 60,000-70,000 รายหรือมีสัดส่วนประมาณ 70% ของ Zipup+ ทั้งหมด ซึ่งลูกค้ารายที่ลงทุนสูงสุดมีมูลค่าราว 30-40 ล้านบาท อีกทั้งขณะนี้ผู้ถือหุ้นปัจจุบันของ Zipmex ที่มีการลงทุนเพิ่มเติมในเหรียญ ZMT

 


ชี้แจง ก.ล.ต. รู้ว่ามีผลิตภัณฑ์ ZipUp+

626891

 

นอกจากนี้ชี้แจงกรณีที่สำหนักงาน ก.ล.ต. ที่ออกแถลงว่าไม่เคยรับทราบว่าซิปเม็กซ์ (ประเทศไทย) มีผลิตภัณฑ์ "ZipUp+" โดยยืนยันว่า ก.ล.ต. รับทราบเรื่องผลิตภัณฑ์ ZipUp+ และมีหลักฐาน แต่ไม่ขอลงรายละเอียด

  

ส่วนประเด็นที่ผลิตภัณฑ์ "ZipUp+" ซึ่งเป็นของ Zipmex สิงคโปร์ แต่กลับให้บริการบนแพลตฟอร์ม Zipmex ประเทศไทยที่ ก.ล.ต.รับรองนั้น บริษัท ขอยืนยันว่าในประเด็นนี้มีการให้ลูกค้า "กดยินยอม" หรืออนุญาต ก่อนจะใช้ ZipUp+ อยู่แล้ว ซึ่งก็มีลูกค้าหลายคนที่ไม่ยินยอมดังนั้นสินทรัพย์ก็จะยังอยู่กับ Zipmex ประเทศไทย

 

"เรื่องที่ ก.ล.ต. บอกว่าไม่เคยรู้เรื่อง ZipUp+ นั้นไม่เป็นความจริง ขอพูดแค่นี้ ผมเป็นสุภาพบุรุษ ผมเป็นลูกผู้ชาย เรามีเอกสาร หลักฐาน เรายึดถือเรื่องความโปร่งใส แต่ผมขอไม่ลงในรายละเอียด"

 

ดังนั้น การจะบอกว่า Zipmex ประเทศไทยนำพาลูกค้าไปสิงคโปร์หรือไม่ โดยขอชี้แจงว่าประเด็นนี้คงต้องลงรายละเอียดกันอีก แต่สิ่งที่โฟกัสอันดับแรกในตอนนี้คือ ขอเวลาในการทำงานเพื่อเร่งนำเงินมาคืนใหักับลูกค้าก่อน เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

  

นอกจากนี้ยืนยัน "กลุ่มบริษัทไม่ได้ล้มละลาย Zipmex" โดยการที่ยืนขอพักชำระหนี้กับศาลนั้น เป็นกระบวนการที่เป็นไปตามกฎหมายของสิงคโปร์ที่ได้ยื่นขอการพักชำระหนี้ (Moratorium) เพื่อจะได้มีเวลาแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้เร็วที่สุด และทุกเรื่องที่ชี้แจงออกประกาศไปคือข้อเท็จจริง อยากให้ฟังข้ออมูลข่าวสารจากบริษัท Zipmex ชี้แจงโดยตรง

  

"อยากขอให้เวลา Zipmex ได้ทำงาน นี่ก็เพิ่งจะผ่านมาประมาณ 10 วันให้เราทำงานหานักลงทุนเข้ามา บริษัทมี value อย่าลืมว่าต่อไปนี้ใครจะมาขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมันไม่ง่ายแล้ว ดังนั้น Zipmex จึงยังมีมูลค่า การแก้ปัญหาเร็วที่สุดคือการระดมทุน เพื่อให้กิจการกลับมาปกติเพราะปัญหาคือเงินก็ต้องแก้ด้วยเงิน คือการระดมทุนเพื่อนำมาคืนให้ลูกค้าให้เร็วที่สุดซึ่งหากมีความคืบหน้าบริษัทก็จะแถลงข่าวหรืออัพเดตข้อมูลผ่านการไลฟ์" ดร.เอกลาภ กล่าว

 

 

ผู้เสียหายแนะ ก.ล.ต. ตั้งผู้เชี่ยวชาญคนนอก ตรวจธุรกรรม Zipmex

500935

 


ขณะที่รายงานข่าวว่าเช้าวันนี้(1 ส.ค. 65) ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างตัวแทนกลุ่มผู้เสียหาย Zipmex Thailand กับผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยมีนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. เข้าร่วมรับฟังข้อมูล พร้อมทีมงาน โดยทางตัวแทนผู้เสียหายจาก Zipmex Thailand

 

นอกจากทวงถาม ก.ล.ต. ในเรื่องการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ ZipUp+ แล้วยังเสนอให้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อรวบรวมข้อมูลจากผู้เสียหายทั่วประเทศ และให้ดึงผู้เชี่ยวชาญคนนอกเข้าร่วมตรวจสอบข้อมูลธุรกรรมของบริการ Zipup+ บนบล็อกเชน เพื่อให้การดำเนินการรวดเร็ว และรอบด้านขึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคจึงไม่ควรมีแค่ตัวแทนจาก Zipmex และ ก.ล.ต. เท่านั้น

 

นอกจากนี้ ฝั่งผู้เสียหายยังพยายามอธิบายให้ ก.ล.ต. เห็นด้วยว่า Trade Wallet และ Z Wallet เป็นคนละบัญชีแต่อยู่บนแอปพลิเคชั่นเดียวกัน ดังนั้นการที่ ก.ล.ต. บังคับให้ zipmex เปิดซื้อขายในบัญชี Trade Wallet จึงไม่ได้ส่งผลต่อสินทรัพย์ที่มีการล็อกอยู่ใน ZipUp+ แต่อย่างใด

 

“ก.ล.ต.เองก็ยังไม่มีข้อมูลว่า มีผู้เสียหายที่ล็อกสินทรัพย์ไว้ใน ZipUp+ กี่ราย มีมูลค่าจริงเท่าใด และจะได้คืนได้อย่างไร แม้จะผ่านมากว่า 10 วันแล้ว การพูดคุยหารือครั้งนี้จึงเป็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใช้งานจริงบนแอปพลิเคชั่นจากผู้เสียหาย และเสนอให้รวบรวมข้อมูลจากผู้เสียหายที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้นักกฎหมายของ ก.ล.ต. มีข้อมูลตรงกับข้อเท็จจริงที่สุด"

 

นอกจากนี้ผู้เสียยังแนะนำ ก.ล.ต. ด้วยว่าควรจะนำหมายเลขธุรกรรมบนบล็อกเชนที่ Zipmex ใช้เคลื่อนย้ายเงินมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาด้วย” 

 

 

ก.ล.ต. ชี้ Zipmex อาจผิด 3 ข้อ แต่ไม่ถึงขั้น 'ถอนใบอนุญาต'

252462

 นางสาวรื่นฤดี ระบว่า ในเบื้องต้นกรณี Zipmex อาจเข้าข่ายความผิด 3 ประการ คือ 1.การผิด Trading Rules หรือระงับการซื้อขายโดยไม่มีเหตุอันควร 2.อาจเข้าข่ายประกอบธุรกิจอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 3.ผิดตามกฎหมายอื่น นอกเหนือจาก พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่ง ก.ล.ต.ได้ประสานร่วมหน่วยงานอื่นแล้ว


สำหรับการเอาผิดนั้น นางสาวรื่นวดีระบุว่า อาจจะไม่ถึงขั้น “เพิกถอนใบอนุญาต” เนื่องจากความผิดที่ปรากฎคือการผิด Trading Rules ซึ่งทาง ก.ล.ต. ได้สั่งให้ Zipmex ดำเนินการเปิดซื้อขายแล้วตามมาตรา 35 ของ พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล หากไม่แล้วเสร็จก็ต้องมีโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ส่วนความผิดอื่น ๆ ยังต้องพิจารณาเป็นรายประเด็นไป

 

advertisement

Powered by อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ข่าวยอดนิยม