เซ็นทรัล ซื้อ Grab 4,500 ล้านบาท ต่อยอดค้าปลีกยุคดิจิทัล

2 ธ.ค. 64

นายญนน์ โภคทรัพย์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น(CRC) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 OAL Holding Limited (OAL) ได้ใช้สิทธิขายคืนหุ้น Porto บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา OAL Holding Limited (OAL) ใช้สิทธิขายคืนหุ้น Porto Worldwide Limited (Porto WW) จำนวน 133,545,740 หุ้น คิดเป็น 67% ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาซื้อขายหุ้นที่ทำไว้เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.62 ให้แก่ Hillborough Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ CRC มีมูลค่าไม่เกิน 4,500 ล้านบาท โดยบริษัทจะใช้แหล่งเงินทุนจากกระแสเงินสดภายในของบริษัทนและวงเงินสินเชื่อ

 

ทั้งนี้ Porto WW ถือหุ้น 40% ในบริษัท แกร็บแท็กซี่ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ดังนั้น CRC จึงคาดว่าการลงทุนในธุรกิจ Grab ในประเทศไทยจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาอีโคซิสเต็มและแพลตฟอร์มออมนิแชนแนลของบริษัทให้แข็งแกร่ง เนื่องจาก Grab เป็นผู้นำแพลตฟอร์มบริการออนไลน์สู่ออฟไลน์ที่มีการเติบโตและมีการขยายให้บริการอย่างรวดเร็วทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในไทย Grab มีบริการหลากหลายและครบถ้วน ทั้งบริการส่งอาหาร บริการเดินทาง บริการระบบโลจิสติกส์ บริการจองโรงแรมและที่พัก และบริการการเงิน ที่จะส่งเสริมและผลักดันองค์กรให้เป็น Digital Retail อย่างสมบูรณ์แบบ และช่วยในการต่อยอดการดำเนินธุรกิจของบริษัทในอนาคต

 

นอกจากนี้ CRC อาจได้รับประโยชน์อีกด้านหนึ่ง หาก Porto WW ใช้สิทธิแลกหุ้นแกร็บแท็กซี่ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ที่มีอยู่ทั้งหมดหรือบางส่วนไปเป็นหุ้นของ Grab Holdings Limited (GHL) ประเภท Class A Ordinary Share ที่จะทำการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่ 2 ธ.ค.64 ในราคาหุ้นละ 6.1629 ดอลลาร์สหรัฐ

 

โดย Porto WW สามารถใช้สิทธิการแลกหุ้นดังกล่าวได้ภายใน 60 วัน หลังจากวันแรกที่หุ้น GHL เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ในกรณีที่ Porto WW ใช้สิทธิในการแลกหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมด จะถือหุ้น GHL Class A Ordinary Shares ประมาณ 1.06% ของจำนวนหุ้น GHL Ordinary Shares ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 14,000 ล้านบาท ณ ราคา GHL IPO ที่ 10 ดอลลาร์สหรัฐ/หุ้น และหาก Porto WW ประสงค์ใช้สิทธิแลกหุ้น บริษัทจะดำเนินการขออนุมัติและปฎิบัติตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป

  

นายญนน์ กล่าวว่า Grab ถือเป็นบริษัทสตาร์ทอัพระดับ Decacorn รายแรกของอาเซียน (บริษัท สตาร์ทอัพที่มีมูลค่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป) การตัดสินใจลงทุนใน Grab เพราะเล็งเห็นถึงศักยภาพของ Grab Superapp ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน สำหรับในประเทศไทย เซ็นทรัล รีเทล เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญกับ Grab มาตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาเปิดธุรกิจในประเทศไทย จนทำให้ Grab ประสบความสำเร็จเป็นผู้นำอันดับ 1 ของแพลตฟอร์มการบริการที่ครบวงจร ครอบคลุมธุรกิจ บริการเดินทาง บริการส่งอาหาร บริการระบบโลจิสติกส์ บริการจองโรงแรมและที่พัก และบริการทางด้านการเงิน

advertisement

Powered by อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ข่าวยอดนิยม