อินไซต์เศรษฐกิจ

ยอดปิดโรงงานไตรมาสแรก 67 พุ่ง เลิกกิจการ 367 แห่ง ตกงานกว่า 1 หมื่นคน

6 พ.ค. 67
ยอดปิดโรงงานไตรมาสแรก 67 พุ่ง เลิกกิจการ 367 แห่ง ตกงานกว่า 1 หมื่นคน

กรมโรงงานอุตสาหกรรมเปิดเผยตัวเลขน่าตกใจ! ไตรมาสแรกปี 2567 มีโรงงานปิดกิจการพุ่งสูงถึง 367 แห่ง ส่งผลให้สูญเสียเงินลงทุนรวมกว่า 9,417.27 ล้านบาท และพนักงานถูกเลิกจ้างมากถึง 10,066 คน SPOTLIGHT รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปิดกิจการของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงแนวทางในการปรับตัวของภาคธุรกิจและลูกจ้างที่ต้องเผชิญความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ 

ยอดปิดโรงงานไตรมาสแรก 67 พุ่ง เลิกกิจการ 367 แห่ง ตกงานกว่า 1 หมื่นคน

ยอดปิดโรงงานไตรมาสแรก 67 พุ่ง เลิกกิจการ 367 แห่ง ตกงานกว่า 1 หมื่นคน

จากข้อมูลของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่า โรงงานที่เลิกกิจการส่วนใหญ่เป็นโรงงานจำพวก 3 (หรือโรงงานที่มีเครื่องจักรเกิน 75 แรงม้า) จำนวน 348 แห่ง คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 9,221.79 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นโรงงานจำพวก 2 (โรงงานที่มีเครื่องจักรไม่เกิน 75 แรงม้า) จำนวน 19 แห่ง มูลค่าเงินลงทุน 195.38 ล้านบาท โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการปิดโรงงานในครั้งนี้ ได้แก่ ชลบุรี กรุงเทพมหานคร และพระนครศรีอยุธยา

แยกเป็นรายเดือนจำนวนโรงงงานและมูลค่าการลงทุนที่ปิดกิจการ 

  • มกราคม 67  มีโรงงานเลิกกิจการ 91 แห่ง สูญเสียเงินลงทุน 3,885.94 ล้านบาท พนักงานถูกเลิกจ้าง 2,592 คน
  • กุมภาพันธ์ 67  มีโรงงานเลิกกิจการ 116 แห่ง สูญเสียเงินลงทุน 2,325.61 ล้านบาท พนักงานถูกเลิกจ้าง 3,330 คน
  • มีนาคม 67  มีโรงงานเลิกกิจการ 160 แห่ง สูญเสียเงินลงทุน 3,205.72 ล้านบาท พนักงานถูกเลิกจ้าง 4,144 คน
เดือน   จำนวนโรงงาน(โรง)  จำนวนเงินลงทุน(ล้านบาท)     จำนวนคนงาน(คน)    
2564 2565 2566 2567 2564 2565 2566 2567 2564 2565 2566 2567
มกราคม 67 74 31 91 13,100.94 3,915.23 272.92 3,885.94 2,755 3,836 605 2,592
กุมภาพันธ์ 69 65 82 116 1,960.28 9,463.91 1,564.38 2,325.61 1,555 1,784 2,032 3,330
มีนาคม 66 58 56 160 1,641.17 1,218.55 595.42 3,205.72 1,416 1,860 1,108 4,144
เมษายน 39 48 17   942.92 1,601.66 35,797.10   1,123 1,542 390  
พฤษภาคม 68 79 41   2,295.80 1,214.59 1,231.56   1,800 1,116 1,389  
มิถุนายน 64 139 131   2,884.14 2,426.94 2,622.72   1,526 2,873 1,795  
กรกฏาคม 53 107 217   1,865.02 4,160.90 4,676.84   1,565 1,883 6,314  
สิงหาคม 43 137 299   887.86 1,223.88 5,823.72   1,496 2,334 7,928  
กันยายน 45 92 212   6,082.48 1,403.62 5,227.33   2,618 4,090 4,921  
ตุลาคม 42 102 86   1,635.58 3,760.65 1,305.68   1,452 3,471 1,905  
พฤศจิกายน 57 56 105   2,497.14 2,001.24 3,443.88   1,339 2,184 2,187  
ธันวาคม 65 40 60   2,697.24 1,620.50 2,232.82   1,901 920 1,454  
รวม 678 997 1,337 367 38,490.56 34,011.66 64,794.38 9,417.26 20,546 27,893 32,028 10,066

ตารางรายงานเปรียบเทียบจำนวนโรงงาน จำนวนเงินลงทุน และจำนวนคนงาน ที่เลิกประกอบกิจการ ระหว่างปี 2564-2567

5 อันดับประเภทธุรกิจที่ปิดตัวมากที่สุด

ยอดปิดโรงงานไตรมาสแรก 67 พุ่ง เลิกกิจการ 367 แห่ง ตกงานกว่า 1 หมื่นคน

  1. การขุดลอกกรวดทรายหรือดิน
  2. การทำพลาสติกเป็นเม็ดแท่งท่อหลอดแผ่นชิ้นผง หรือรูปทรงต่าง ๆ
  3. การทำภาชนะบรรจุเครื่องมือหรือเครื่องใช้จากไม้ และรวมถึงชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
  4. การกลึงเจาะขวานกัดใสเจียนหรือเชื่อมโลหะทั่วไป
  5. โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยก

เทียบกับช่วงเดียวกัน ไตรมาส 1/2566 สถิติการปิดตัวลงของโรงงานในประเทศไทยพุ่งสูงสุด มีจำนวนโรงงานปิดตัวทั้งสิ้น 169 แห่ง คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 2,432.72 ล้านบาท ส่งผลให้มีพนักงานถูกเลิกจ้างจำนวน 3,745 คน โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพฯ และชลบุรี และ ประเภทของโรงงานที่ปิดตัวลง

  1. การขุดลอก กรวด ทราย หรือดิน
  2. การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม
  3. การดูดทราย
  4. การทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเรือนพลาสติก
  5. การต้มนึ่งหรืออบพืชหรือเมล็ดพืช

และยังมี การเป่าหัวพืชหรือทำหัวพืชให้เป็นเส้นแว่นหรือแท่ง, การทำวงกบขอบประตูหน้าต่าง บานหน้าต่าง, การทำภาชนะบรรจุหรือถุงหรือกระสอบ, การทำพลาสติกเป็นแท่ง เม็ด ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผงหรือรูปทรงต่าง ๆ, การทำสปริงเหล็ก สลัก แป้น เกลียววงแหวนหมุนย้ำ, ผลิตประกอบดัดแปลงหรือซ่อมแซมเครื่องจักรเฉพาะที่ใช้ไฟฟ้า และการซ่อมแซมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์

สถานการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการจ้างงาน ภาครัฐและภาคเอกชนควรเร่งหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการและพนักงานที่ได้รับผลกระทบ

แนวทางการแก้ปัญหาสำหรับเจ้าของกิจการ

ยอดปิดโรงงานไตรมาสแรก 67 พุ่ง เลิกกิจการ 367 แห่ง ตกงานกว่า 1 หมื่นคน

วิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหา ในวันที่ยอดปิดโรงงานไตรมาสแรกปี 67 พุ่ง คนตกงานกว่า 1 หมื่นคน สำหรับเจ้าของกิจการและผู้ประกอบการ แบ่งเป็น 2 กลยุทธ์หลัก ได้ดังนี้

1.กลยุทธ์ระยะสั้น

  • ติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจ: เจ้าของกิจการควรติดตามข้อมูลเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ และคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้า
  • ปรับแผนธุรกิจ: ทบทวนแผนธุรกิจเดิม ปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง มองหาโอกาสใหม่ ๆ ในตลาด
  • บริหารจัดการต้นทุน: หาวิธีลดต้นทุนการผลิต ควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้: ติดต่อเจ้าหนี้เพื่อขอผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ ขอขยายเวลาผ่อนชำระ หรือลดอัตราดอกเบี้ย
  • ขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ: ศึกษาและเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการจากภาครัฐ เช่น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เงินทุนสนับสนุน การอบรมพัฒนาทักษะ

2. กลยุทธ์ระยะยาว

  • พัฒนากลยุทธ์ธุรกิจ: ศึกษาและวิเคราะห์ตลาด พัฒนากลยุทธ์ธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด หาช่องทางการเพิ่มรายได้ใหม่ ๆ
  • ปรับโครงสร้างธุรกิจ: พิจารณาทบทวนธุรกิจที่มี ศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนธุรกิจ หาทางเพิ่มมูลค่าสินค้าหรือบริการ พัฒนาทักษะพนักงาน
  • ขยายตลาด: มองหาตลาดใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พัฒนาช่องทางการขายออนไลน์ เพิ่มการเข้าถึงลูกค้า
  • นำเทคโนโลยีมาใช้: ศึกษาและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิ A.I หรือ เครื่องจักร มาใช้ในธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน พัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่
  • พัฒนาศักยภาพของพนักงาน: ส่งเสริมการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพของพนักงาน พัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า: รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเก่า หาลูกค้าใหม่ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
  • บริหารจัดการความเสี่ยง: ศึกษาและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ วางแผนรับมือกับความเสี่ยง
  • พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน: คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน สร้างภาพลักษณ์องค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ เจ้าของกิจการควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ศึกษาข้อมูลข่าวสาร พัฒนาธุรกิจให้ยืดหยุ่น ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง สื่อสารกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ สร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน ร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา

แนวทางการปรับตัวของลูกจ้างในวันที่เศรษฐกิจไม่ดี ความเสี่ยงจะโดนเลิกจ้าง

ยอดปิดโรงงานไตรมาสแรก 67 พุ่ง เลิกกิจการ 367 แห่ง ตกงานกว่า 1 หมื่นคน

เมื่อพูดถึงแนวทางการแก้ปัญหา สำหรับ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการไปแล้วจะไม่พูดถึง ลูกจ้างหรือพนักงาน ได้อย่างไรในเมื่อ เศรษฐกิจที่ถดถอยส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน รวมไปถึงภาคการจ้างงาน พนักงานหลายคนมีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้าง ดังนั้น พนักงานควรเตรียมตัวและปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ดังนี้

  • ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ: ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจและคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้า ประเมินผลกระทบของเศรษฐกิจถดถอยต่อธุรกิจและองค์กรที่ตนเองทำงานอยู่
  • พัฒนาทักษะและความรู้: ควรเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งพัฒนาทักษะเดิมให้มี
  • ประสิทธิภาพมากขึ้น และควร ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและองค์กรที่ตนเองทำงานอยู่
  • สร้างความมั่นคงทางการเงิน: เริ่มเก็บออมเงินเป็นประจำ วางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ และอย่างลืมสร้างแหล่งรายได้เสริม
  • เตรียมแผนสำรองเผื่อไว้: เผื่อกรณีฉุกเฉิน มองหาวิธีหารายได้เสริม เช่น รับจ้างทั่วไป ขายของออนไลน์ สอนพิเศษ หรือให้บริการต่างๆ ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจส่วนตัว หรืออาชีพอิสระ เตรียมแผนสำรองเผื่อกรณีถูกเลิกจ้าง เช่น จะหางานใหม่ที่ไหน จะทำธุรกิจส่วนตัว หรือจะไปเรียนต่อ

และอย่างลืมดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ การจัดการความเครียด ความวิตกกังวล และความกลัวก็สำคัญ ลองไปปรึกษาเพื่อน ครอบครัว หรือผู้เชี่ยวชาญ หากรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า

สุดท้ายนี้การปรับตัวในภาวะเศรษฐกิจถดถอย เหล่าลูกจ้างและพนักงานควรมีสติ คิดบวก และพยายามหาวิธีแก้ปัญหา พัฒนาทักษะ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งจะช่วยให้พนักงานมีโอกาสได้งานใหม่ หรือประกอบอาชีพอิสระได้

ที่มา กรมโรงงานอุตสาหกรรม,สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,ธนาคารแห่งประเทศไทย,และ สภาหอการค้าไทย

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT