“ธรรมนัส” ติดตามน้ำท่วมสุดแดนใต้ ลั่นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้

28 ธ.ค. 66

“ธรรมนัส” ติดตามน้ำท่วมสุดแดนใต้ ลั่นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย พร้อมมอบถุงยังชีพให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ ต.สุไหงโก-ลก อ.สุไหงโก-ลก จำนวน 500 ชุด ในพื้นที่ ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จำนวน 500 ชุด และในพื้นที่ ต.บาโงสะโต อ.ระแงะ จำนวน 300 ชุด รวม 1,300 ชุด หลังเกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2566 ถึงปัจจุบัน จนเกิดปริมาณน้ำสะสม ทำให้เกิดอุทกภัยฉับพลัน ส่งผลทำให้พื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนของประชาชนเกิดน้ำท่วมขัง และยังมีถนนสายหลักและถนนภายในหมู่บ้านมีน้ำท่วมสูง ถนนบางสายยานพาหนะทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้

“ธรรมนัส” ติดตามน้ำท่วมสุดแดนใต้ ลั่นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดเร่งสำรวจความเสียหายด้านการเกษตร และเข้าให้การช่วยเหลือประชาชนและเกษตรกรอย่างเร่งด่วน โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ร่วมกับมูลนิธิธรรมนัส พรหมเผ่า ดำเนินการจัดตั้งโรงครัวเพื่อผลิตข้าวกล่องและมอบน้ำดื่มให้กับผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ ยังได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และสนับสนุนหญ้าแห้งเสบียงอาหารสัตว์ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ด้วย อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาว ในการบริหารจัดการน้ำและภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น

“ธรรมนัส” ติดตามน้ำท่วมสุดแดนใต้ ลั่นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้

ในส่วนของสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ธ.ค. 66) ระดับน้ำในแม่น้ำและลำคลองแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง บางพื้นที่ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งแล้ว แต่กรมชลประทานยังคงเฝ้าระวังสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และยังคงเร่งสูบระบายน้ำในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อฟื้นฟูและบรรเทาผลกระทบ ให้พี่น้องประชาชนได้กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติในช่วงปีใหม่นี้

“ธรรมนัส” ติดตามน้ำท่วมสุดแดนใต้ ลั่นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้

สำหรับพื้นที่ประสบอุทกภัยในครั้งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล สำรวจความเสียหายด้านการเกษตร (ข้อมูล ณ วันที่ 27 ธ.ค. 66) แบ่งเป็น

  • ด้านพืช พื้นที่ได้รับผลกระทบ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เกษตรกร 15,524 ราย พื้นที่ 29,722 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 10,603 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 2,949 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่น ๆ 16,170 ไร่ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
  • ด้านประมง พื้นที่ได้รับผลกระทบ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลา และนราธิวาส เกษตรกร 1,420 ราย พื้นที่ (บ่อปลา) 548 ไร่ กระชัง 4,723 ตร.ม. อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
  • ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ได้รับผลกระทบ 1 จังหวัด คือ จังหวัดนราธิวาส เกษตรกร 13,443 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 181,655 ตัว แบ่งเป็น โค 17,181 ตัว กระบือ 611 ตัว สุกร 4,849 ตัว แพะ/แกะ 7,278 ตัว สัตว์ปีก 151,736 ตัว แปลงหญ้า 7,164 ไร่ อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

“ธรรมนัส” ติดตามน้ำท่วมสุดแดนใต้ ลั่นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้

ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น

  1. สนับสนุนเครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
    1. เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 51 เครื่อง ประกอบด้วย จังหวัดยะลา 2 เครื่อง ปัตตานี 6 เครื่อง นราธิวาส 11 เครื่อง และสงขลา 32 เครื่อง
    2. เครื่องสูบน้ำ Hydro Flow 17 เครื่อง ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส 6 เครื่อง และสงขลา 11 เครื่อง
    3. เครื่องผลักดันน้ำ 15 เครื่อง ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส 2 เครื่อง และสงขลา 13 เครื่อง
  1. สนับสนุนเรือตรวจการประมง เรือยาง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จังหวัดนราธิวาส และปัตตานี 3 ลำ เจ้าหน้าที่ 14 นาย พร้อมทั้งมอบถุงยังชีพ 10 ชุด
  2. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 64.79 ตัน ถุงยังชีพสัตว์ 469 ถุง ส่งเสริมสุขภาพสัตว์ 59 ชุด รักษาสัตว์ 146 ตัว และอพยพสัตว์ 10,544 ตัว

“ธรรมนัส” ติดตามน้ำท่วมสุดแดนใต้ ลั่นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้

advertisement

ข่าวยอดนิยม