วันพระวันไหน ปฏิทินวันพระ ปี 2567 เดือนมกราคม-ธันวาคม ตรงกับวันไหนบ้าง

7 ธ.ค. 66

ปฏิทินวันพระ ปี 2567 เดือนมกราคม-ธันวาคม แต่ละเดือนมี 4 วัน ตรงกับวันไหนบ้าง

ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา เนื่องด้วยประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาสังคมไทยจึงมีหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ วิถีชีวิตของชาวพุทธไทยแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้เข้าวัด ทำบุญ ตักบาตร ถวายภัตตาหาร รับศีล และฟังพระธรรมเทศนาใน วันธรรมสวนะ หรือ วันพระ ซึ่งเป็นวันกำหนดประชุมฟังธรรมอันเป็นประเพณีนิยมของพุทธบริษัทมาแต่ครั้งพุทธกาลและถือว่าการฟังธรรมตามเวลาที่กำหนด ย่อมก่อให้เกิดสติปัญญาและเป็นสิริมงคลแก่ผู้ฟัง

พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าในแต่ละเดือนมีวันกำหนดประชุมฟังธรรม 4 วัน คือ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ)

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้

ปฏิทินวันพระเดือนมกราคม - ธันวาคม ปี พ.ศ. 2567 (ปีเถาะ - ปีมะโรง)

ปฏิทินวันพระ เดือนมกราคม 2567
• วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีเถาะ
• วันพุธที่ 10 มกราคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีเถาะ
• วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
• วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ

ปฏิทินวันพระ เดือนกุมภาพันธ์ 2567
• วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
• วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
• วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
• วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ (วันมาฆบูชา)

ปฏิทินวันพระ เดือนมีนาคม 2567
• วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
• วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
• วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
• วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ

ปฏิทินวันพระ เดือนเมษายน 2567
• วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
• วันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
• วันอังคารที่ 16 เมษายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง
• วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง

ปฏิทินวันพระ เดือนพฤษภาคม 2567
• วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง (วันแรงงาน)
• วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง
• วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง
• วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง (วันวิสาขบูชา)
• วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง (วันอัฏฐมีบูชา)

ปฏิทินวันพระ เดือนมิถุนายน 2567
• วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง
• วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
• วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
• วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง

ปฏิทินวันพระ เดือนกรกฎาคม 2567
• วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
• วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง
• วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง (วันอาสาฬหบูชา)
• วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2567 แรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง (วันเข้าพรรษา)
• วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง (วันเฉลิมฯ ร.10)

ปฏิทินวันพระ เดือนสิงหาคม 2567
• วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง
• วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง (วันเฉลิมฯ วันแม่)
• วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง
• วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง

ปฏิทินวันพระ เดือนกันยายน 2567
• วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง
• วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
• วันอังคารที่ 17 กันยายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
• วันพุธที่ 25 กันยายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง

ปฏิทินวันพระ เดือนตุลาคม 2567
• วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
• วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
• วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง (วันออกพรรษา)
• วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
• วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง

ปฏิทินวันพระ เดือนพฤศจิกายน 2567
• วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง
• วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง (วันลอยกระทง)
• วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง
• วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง

ปฏิทินวันพระ เดือนธันวาคม 2567
• วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
• วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
• วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
• วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง

000_32a68qk

การเตรียมตัวไปทำบุญ

1.การเตรียมกาย ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว เรียบ หรือสีที่ไม่ฉูดฉาด ไม่หลวมไม่คับเกินไป เนื่องจากจะไม่คล่องตัว ไม่ประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับ ไม่ใช้เครื่องประทินผิว เช่น น้ำหอม เป็นต้น รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มจนอึดอัด เพื่อประทังความหิว เนื่องจากหากมีอาการหิวกระหายจะทำให้จิตใจไม่สบายไปด้วย ควรงดเว้นอาหารที่อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น

2. การเตรียมใจ ให้ตัดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น เช่น เรื่องครอบครัว เรื่องการงาน เป็นต้น

3.การเตรียมสิ่งของ ให้จัดเตรียมดอกไม้ ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ อาหารหวานคาว รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ (ปัจจัยไทยธรรม) เพื่อไปถวายพระสงฆ์ตามกำลังและความศรัทธา

ขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม

การปฏิบัติกิจกรรมในการทำบุญของแต่ละวัดอาจจะแตกต่างกันในรายละเอียด แต่หลักปฏิบัติโดยส่วนใหญ่แล้วทุกวัดจะปฏิบัติเหมือนกัน คือ

1.การทำวัตรสวดมนต์ พระสงฆ์จะทำวัตรสวดมนต์ก่อน เมื่อพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์จบแล้ว อุบาสก อุบาสิกาจึงทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระสงฆ์ บางวัดอาจจะสวดมนต์แปล แต่บางวัดอาจจะสวดมนต์เป็นภาษาบาลีล้วนๆ ไม่สวดแปล ให้ทำตามธรรมเนียมของวัดนั้นๆ

2. การรับศีล ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานเบญจศีล (ศีล 5) ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) จะสมาทานอุโบสถศีล (หรือศีลอุโบสถมี 8 ข้อ)

3. การฟังธรรม หลังจากสมาทานศีลจบแล้ว มรรคนายกจะเป็นผู้อาราธนาธรรม ผู้ที่ไปร่วมทำบุญทุกคนพึงนั่งประนมมือ ตั้งใจฟังธรรมอย่างสงบ ไม่พูดคุยกันขณะพระแสดงธรรม อันเป็นการแสดงความเคารพในพระธรรมและแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ผู้แสดงธรรมด้วย

4. การบำเพ็ญจิตภาวนา หลังจากพระสงฆ์แสดงธรรมจบแล้ว จะมีการปฏิบัติธรรมโดยการบำเพ็ญจิตภาวนาหรือนั่งสมาธิ เป็นเวลาประมาณ 5-10 นาที ซึ่งพระสงฆ์จะชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ ให้ทราบ ผู้ปฏิบัติธรรมพึงกระทำตามที่ท่านแนะนำ

5. การถวายสังฆทาน คือ การถวายทานแด่พระสงฆ์โดยไม่จำเพาะเจาะจงพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (หากเจาะจงพระสงฆ์จะไม่เป็นสังฆทาน)

advertisement

ข่าวยอดนิยม