เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านปศุสัตว์ 14 จังหวัด กำชับพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมซ้ำ

3 ต.ค. 66

เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านปศุสัตว์ 14 จังหวัด กำชับพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมซ้ำ

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า สั่งการให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด/อำเภอ รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ เข้าช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัย โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์รายงานการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้

  • พื้นที่ได้รับผลกระทบ 141 หมู่บ้าน 56 ตำบล 29 อำเภอใน 14 จังหวัดได้แก่ จันทบุรี  ชัยภูมิ ยโสธร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์  ขอนแก่น นครพนม ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู เชียงราย แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก และอุตรดิตถ์
  • เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 4,708 ราย
  • สัตว์ได้รับผลกระทบ 199,818 ตัว เป็นโค 10,400 ตัว กระบือ 3,683 ตัว สุกร 4,963 ตัว แพะ/แกะ 323 ตัว และ  สัตว์ปีก 180,449 ตัว
  • แปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ได้รับผลกระทบ 659 ไร่       

เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านปศุสัตว์ 14 จังหวัด กำชับพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมซ้ำ

สำหรับการให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าที่ดำเนินการไปแล้ว มีดังนี้

  1. พืชอาหารสัตว์ 159,060 กิโลกรัม
  2. อพยพสัตว์ 15,012 ตัว
  3. สนับสนุนชุดส่งเสริมสุขภาพสัตว์ (แร่ธาตุ/ยาปฏิชีวนะ/วิตามิน) 1,066 ชุด
  4. รักษาสัตว์ 311 ตัว
  5. ถุงยังชีพ 396 ถุง

เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านปศุสัตว์ 14 จังหวัด กำชับพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมซ้ำ

นายสัตวแพทย์สมชวนกล่าวเพิ่มเติมว่า สั่งการให้ทุกหน่วยงานของกรมปศุสัตว์เตรียมพร้อมเข้าช่วยเหลือเกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัยอย่างทันท่วงที เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ระหว่างวันที่ 1-10 ตุลาคม 2566 จะมีฝนตกลงมาเพิ่ม เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำมากอยู่แล้ว ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ อาจเกิดน้ำท่วมซ้ำได้

เร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านปศุสัตว์ 14 จังหวัด กำชับพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมซ้ำ

สำหรับการรับมือภัยธรรมชาติของกรมปศุสัตว์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกำหนดมาตรการต่างๆ อย่างชัดเจน ตั้งแต่การป้องกันก่อนเกิดภัย การช่วยเหลือขณะเกิดภัย และการฟื้นฟูหลังจากภัยพิบัติคลี่คลายแล้ว เพื่อลดผลกระทบต่อเกษตรกรให้ได้มากที่สุด

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม