วิธีแก้กรรม ขอขมากรรม ถอนคำสาบาน "พระกลักฝิ่น" วัดสุทัศน์

17 ส.ค. 66

วิธีแก้กรรม ขอขมากรรม ถอนคำสาบาน "พระกลักฝิ่น" วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พร้อมเปิดบทสวดแก้กรรม ใครชีวิตติดขัด ไม่สมหวัง ไม่ควรพลาด

เปิดพิกัดสายมูไม่ควรพลาด ใครชีวิตติดขัด ผิดพลาด ไม่สมหวัง แนะวิธีแก้กรรม ขอขมากรรม ถอนคำสาบานต่อหน้า “พระพุทธเสรฏฐมุนี” หรือ "พระกลักฝิ่น" ประธานวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

 

พระพุทธเสรฏฐมุนี

“พระพุทธเสรฏฐมุนี” หรือ "พระกลักฝิ่น" พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นพระพุทธรูปที่หล่อจากกลักฝิ่น ซึ่งเป็นทองเหลืองและโลหะอื่นๆ จำนวนมาก หลอมหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบ 1 นิ้ว ตามพุทธศิลปะแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีลักษณะเป็นพิเศษเฉพาะ ที่สำคัญ คือ พระวรกายเพรียวบาง นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นกว้างวางอยู่กลางพระวรกาย ประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พระกลักฝิ่น
ภาพจาก : วัดสุทัศนเทพวราราม Wat Suthat

 

ประวัติพระพุทธเสรฏฐมุนี (พระกลักฝิ่น)

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ 3 ทรงปกป้องผืนแผ่นดิน เพื่อรักษาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองทรงทำนุบำรุงพสกนิกรให้เป็นพลเมืองดี มีศีลธรรม มีความรู้ มีปัญญา เพื่อเป็นกำลังของชาติบ้านเมือง ปรากฎว่าในรัชสมัยของพระองค์ ชาวต่างชาติได้นำฝิ่นเข้ามาเผยแพร่ในพระราชอาณาจักร ฝิ่นเป็นสิ่งเสพติด มอมเมาพลเมืองทำให้สติปัญญาเสื่อมถอย เป็นการบั่นทอนความมั่นคงของบ้านเมือง ผู้ที่ค้าฝิ่นคือเสี้ยนหนามบ้านเมืองและพระพุทธศาสนา

พระกลักฝิ่น
ภาพจาก : วัดสุทัศนเทพวราราม Wat Suthat

จึงมีพระบรมราชโองการให้ปราบฝิ่นอย่างเด็ดขาด พุทธศักราช 2382 ได้กวาดล้างจับฝิ่นครั้งใหญ่ได้ฝิ่นดิบ 3,700 หาบ ฝิ่นสุก 2 หาบ รวมน้ำหนัก 222,120 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเวลานั้นกว่า 18 ล้านบาท มากกว่างบประมาณแผ่นดินหลายเท่า โปรดรวมมาเผาทำลายที่สนามชัย หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท

วัดสุทัศน์
ภาพจาก : วัดสุทัศนเทพวราราม Wat Suthat

เมื่อวันที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2382 แล้วทรงนำกลักฝิ่นจำนวนมากหล่อเป็นพระพุทธปฏิมากร ณ โรงหล่อของหลวง ในพระบรมมหาราชวัง อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหารเมื่อแรกผู้คนเรียกว่า "พระกลักฝิ่น" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า "พระพุทธเสรฏฐมุนี" แปลว่า พระผู้ประเสริฐสุด มีความหมายว่า ผู้ติดสิ่งเสพติดทั้งหลาย สามารถกลับใจเป็นคนดีได้เสมอ ย่อมสว่างรุ่งเรืองเสมือนกับพระพุทธรูปที่ทรงสร้าง อันจะเป็นพลังแข็งแกร่งชนะจิตใจให้เหินห่างสิ่งเสพติดได้

 

หลวงพ่อกลักฝิ่นอยู่ตรงไหน?

ประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตามหากต้องการไปถอนคำสาบาน กับ หลวงพ่อกลักฝิ่น สามารถสอบถามรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ที่วัดอีกครั้ง

 

เปิดวิธีขอขมา คาถาบูชาและถอนคำสาบาน

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • ธูป 5 ดอก
  • เทียนขาวเล็ก 5 เล่ม
  • ดอกไม้ 5 ดอก
  • เงิน 5 บาท

 

ขั้นตอนการขอขมา

  • จัดเตรียม ธูป 5 ดอก,เทียนขาวเล็ก 5 เล่ม,ดอกไม้ 5 ดอก, เงิน 5 บาท ไปให้พร้อม
  • เตรียมบทสวด บทขอขมา และบทถอนคำสาบานซึ่งทางวัดมีการจัดเตรียมไว้ให้แล้วมีทั้งหมด 4 ฉบับ
  • เลือกที่นั่งที่เหมาะสม ตั้งจิตให้แน่วแน่เป็นสมาธิ ก่อนสวดบทขอขมาและถอนคำสาบานหลวงพ่อกลักฝิ่น
  • กล่าวคำขอขมาต่อหน้าองค์พระพ่อกลักฝิ่น เมื่อกล่าวจบแล้วนำดอกบัวทั้ง 5 ดอกที่เตรียมมา ถวายหน้าหลวงพ่อกลักฝิ่น
  • นำเหรียญ 5 บาทที่เตรียมมา ถวายใส่ลงในพานหน้าหลวงพ่อกลักฝิ่น

 

 

น้อมจิตบูชาพระรัตนตรัย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( 3 จบ )

อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโด สาวะกะสังโฆ สังชัง นะมามิ (กราบ)

 

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง ละระณัง คัจฉามี

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปี พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตติยัมปี ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปี สังมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตติยัมปี สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

 

คาถาบูชาพระพุทธเสรฏฐมุนี (หลวงพ่อกลักฝิ่น)

อิมินา สักกาเรนะ พระพุทธเสรฏฐมุนี (หลวงพ่อกลักฝิ่น) ปูเชมิ

ทุติยัมปี อิมินา สักกาเรนะ พระพุทธเสรฏฐมุนี (หลวงพ่อกลักฝิ่น) ปูเชมิ

ตติยัมปี อิมินา สักกาเรนะ พระพุทธเสรฏฐมุนี (หลวงพ่อกลักฝิ่น) ปูเชมิ

 

นะโมพุทธายะ ตะโม โชติปรายะโน ชะโย นิจจัง (ภาวนาเถิดกลับร้ายกลายเป็นดี ทุกประการแลฯ )

พุทธัง อาราธะนัง กะโรมิ ธัมมัง อาราธะนัง กะโรมิ สังฆัง อาราธะนัง กะโรมิ

 

วัดสุทัศน์
ภาพจาก : วัดสุทัศนเทพวราราม Wat Suthat

ตั้งจิตขอขมาพระรัตนตรัย, ขอขมากรรม, ขออโหสิกรรม

โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ (3 จบ)

สัพพัง อะปะราธัง ชะมะถะเม กันเต อุกาสะ ทะวารัตะเยนะ กะตัง สัพพัง ะปะราธัง ขะมะถะเม กันเต อุกาสะ ชะมามิ ภันเต

ข้าพเจ้า ชื่อ-นามสกุล.... ..วัน/เดือน/ปี/เกิด............กรรมอันใดที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อุปฌาอาจารย์ครูบาอาจารย์ มารดาบิดา ผู้มีพระคุณ ญาติและผู้ที่ไม่ใช่ญาติก็ดี เทพเทวา พรหม เจ้าที่เจ้าทางและสิ่งสิทธิ์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวร เจ้าบุญนายคุณ เจ้ากายสังขาร เจ้าเกณฑ์ชะตา ตลอดทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตายเกิดในสังสารวัฏ ที่ข้าพเจ้าได้ส่วงเกินต่อทุกๆ พระองค์ ทุกๆท่าน ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน จะด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี เจตนาดี มิได้เจตนาก็ดี จะรู้หรือไม่รู้ก็ดี หรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอทุกๆ พระองค์ ทุกๆ ท่าน ได้โปรดงดโทษ อโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้ ตราบเข้าสู่พระนิพพานด้วยเถิด

 

คาถาบูชา บทสวดขอขมากรรม หลวงพ่อกลักฝิ่น วัดสุทัศน์

“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” (3 จบ)

“อิมัง มิฉา อธิฐานัง ปันจะทะธาราปิ

ทุติยัมปิ อิมัง มิฉา อธิฐานัง ปันจะทะธาราปิ

ตะติยัมปิ อิมัง มิฉา อธิฐานัง ปันจะทะธาราปิ”

 

หลังกล่าวจบ ให้ตั้งจิตให้สงบแน่วแน่ และกล่าวคาถาบูชาต่อ

“นะถอน โมถอน พุทถอน ธาถอน ยะถอน นะคลอน โมคลอน พุทคลอน ธาคลอน ยะคลอน ถอนด้วย นะโมพุทธายะ นะมามิยัง”

 

อ้างอิงข้อมูลจาก :

advertisement

ข่าวยอดนิยม