กรณี สูตรฉีด วัคซีน วานนี้ (17 ม.ค.) นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยผลการทดสอบภูมิคุ้มกันวัคซีนสลับและวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ต่อไวรัสสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน ในภาพรวมพบว่า ภูมิคุ้มกันในเลือดลดลงเมื่อเจอกับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาทั่วโลกที่ระบุว่าภูมิคุ้มกันของวัคซีนจะลดลงเมื่อเจอกับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน
ทั้งนี้ ผลการทดสอบวัคซีนทั้ง 8 สูตรที่ใช้ในประเทศไทย (n=10) มีดังนี้
1. ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 201.90, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 11.63
2. ไฟเซอร์+ไฟเซอร์ : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 189.40, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 19.17
3. แอสตร้าเซนเนก้า+ไฟเซอร์ : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 388.20, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 21.21
4. ซิโนแวค+ไฟเซอร์ : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 581.10, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 21.70
5. แอสตร้าเซนเนก้า+แอสตร้าเซนเนก้า : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 226.90, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 23.81
6. ซิโนแวค+ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 368.10, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 71.64
7. แอสตร้าเซนเนก้า+แอสตร้าเซนเนก้า+ไฟเซอร์ : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 691.10, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 229.90
8. ซิโนแวค+ซิโนแวค+ไฟเซอร์ : มีระดับภูมิคุ้มกันต่อเดลตา = 729.30, มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโอมิครอน = 282.50
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดระยะเวลา 2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นเวลาที่ภูมิคุ้มกันขึ้นมาค่อนข้างดี โดยเป็นการหาระดับภูมิคุ้มกันแบบลบล้างฤทธิ์ (Neutralizing Antibody) ต่อเชื้อไวรัสจริงในห้องปฏิบัติการ BSL-3
สำหรับ วิธี PRNT: Plaque Reduction Neutralization Test วัคซีนทุกสูตรทำให้ภูมิคุ้มกันแบบลบล้างฤทธิ์ ต่อเชื้อโอมิครอนลดลง แต่การฉีดเข็มกระตุ้นจะสามารถป้องกันไวรัสโอมิครอนได้ดี แต่การคงอยู่ของระดับภูมิคุ้มกันต้องติดตามตรวจในระยะต่อไป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ศบค.ยกเลิกเข้าประเทศแบบ Test&Go สกัด โอมิครอน
- เปิด 4 แนวทางปฏิบัติ เดินทางเข้าไทย ตั้งแต่ 22 ธ.ค.64 หลังระงับระบบ Test&Go
- ศบค.สกัด โอมิครอน ปรับ 4 มาตรการ สำหรับผู้เดินทางเข้าไทย