Isuzu มาแล้ว! เผยโฉม D-Max EV Concept รถกระบะไฟฟ้า แบตเตอรี 66.9 kWh

19 มี.ค. 67

Isuzu ไม่ยอมตกขบวน ขนทัพไฮไลท์เด็ด นำโดย Isuzu D-Max EV Concept รถกระบะไฟฟ้า ที่ยังคงใช้แพลตฟอร์มเดียวกับตัวเครื่องยนต์ดีเซล และยังมีรถพลังงานทางเลือก มาอวดโฉมอีกหลายรุ่น

isuzu-d-max-ev-concept-(2)isuzu-d-max-ev-concept-(1)

ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) รถไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (FCEV) และพลังงานอื่นๆ เช่น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Fuel) กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน อาทิ น้ำมันไบโอดีเซลเจนเนอเรชั่นใหม่จากพืชใช้แล้ว (HVO - Hydrotreated Vegetable Oil) และ น้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (e-Fuel)

isuzu-d-max-ev-concept-(11)isuzu-d-max-ev-concept-(12)isuzu-d-max-ev-concept-(5)

อีซูซุ ดีแมคซ์ (Isuzu D-Max EV Concept)

รถกระบะ 4 ประตู ขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ Full Time ใช้แพลตฟอร์มเดียวกับรถปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซล

  • ชุดมอเตอร์ไฟฟ้าคู่และเฟืองท้ายภายใต้ “eAxle” ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ทำงานร่วมกัน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ร่วมกับช่วงล่างด้านหลังใหม่หมดแบบ De-Dion ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานของรถปิกอัพ
  • มอเตอร์ไฟฟ้ากำลังสูง 2 ตัว แรงบิดรวมกัน 325 นิวตัน-เมตร
  • มอเตอร์ไฟฟ้าคู่กำลังสูงและการออกแบบโครงตัวถัง ให้มีความสามารถเหมาะสมในการลากจูง


วางแผนจะเริ่มผลิตเพื่อส่งออกอย่างเป็นทางการจากฐานการผลิตประเทศไทยในปี 2568 อาจเป็นบางประเทศภาคพื้นทวีปยุโรป เช่น นอร์เวย์ จะเปิดในปี 2568 จากนั้นมีกำหนดการจะเปิดตัวในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ไทย ตลอดจนประเทศหรือภูมิภาคอื่นๆ เป็นลำดับถัดไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดและความพร้อมของสาธารณูปโภคด้านสถานีชาร์จรถไฟฟ้า

isuzu-d-max-ev-concept-(13)isuzu-d-max-ev-concept-(15)ISUZU D-Max EV Concept เครื่อง มอเตอร์ไฟฟ้า

รายละเอียดตัวรถเบื้องต้น

  • ระบบขับเคลื่อน: ขับเคลื่อน 4 ล้อ Full-time
  • กำลังรวมสูงสุด: 130 กิโลวัตต์ (177 แรงม้า)
  • ระบบขับเคลื่อน eAxle ด้านหน้า: กำลังสูงสุด 40 กิโลวัตต์ (54 แรงม้า), แรงบิดสูงสุด 108 นิวตัน-เมตร
  • ระบบขับเคลื่อน eAxle ด้านหลัง: กำลังสูงสุด 90 กิโลวัตต์ (123 แรงม้า), แรงบิดสูงสุด 217 นิวตัน-เมตร
  • แรงบิดรวมสูงสุด: 325 นิวตัน-เมตร
  • ความเร็วสูงสุด: มากกว่า 130 กิโลเมตร/ ชั่วโมง
  • ความสามารถในการลากจูง: 3.5 ตัน
  • ประเภทแบตเตอรี่: ลิเธียมไอออน
  • ความจุแบตเตอรี่สูงสุด: 66.9 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
  • น้ำหนักบรรทุกสูงสุด: 1 ตัน


isuzu-d-max-mhev

อีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮ-แลนเดอร์ MHEV 4 ประตู

ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ กับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบตเตอรี่ 48 โวลต์ ทำหน้าที่เสริมกำลังขับเคลื่อนให้กับเครื่องยนต์ 1.9 Ddi Blue Power เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ในช่วงออกตัว รวมถึงช่วยลดการสั่นสะเทือนในจังหวะ สตาร์ทเครื่องยนต์และช่วยลด CO2 ซึ่ง “อีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮ-แลนเดอร์ MHEV” คันนี้เป็นรถทดลอง โดยรถประเภทนี้อาจจะเหมาะกับ ความต้องการของลูกค้าบางกลุ่ม ซึ่งทาง Isuzu อยู่ในระหว่างการสำรวจตลาดก่อนกำหนดแผนการจำหน่าย

isuzu-elf-ev

รถบรรทุกไฟฟ้า “อีซูซุ เอลฟ์ อีวี” (Isuzu Elf EV)

พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด “Isuzu Modular Architecture and Component Standard: I-MACS” สำหรับรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ การออกแบบ “Center Drive System EV” ซึ่งเป็นการออกแบบรถบรรทุกไฟฟ้าโดยเฉพาะ เนื่องจากต้องคำนึงถึงความสมดุลของการกระจายน้ำหนักรถ ระยะช่วงล้อหลัง และรัศมีวงเลี้ยวที่เหมาะสม เหมาะกับการใช้งานบรรทุกเบา วิ่งระยะสั้น อาศัยความคล่องตัว โดยใช้แพลตฟอร์มเดียวกันกับรถบรรทุกเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งได้เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ มีนาคม 2566 และกำลังพัฒนาเทคโนโลยีการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping System) เพื่อลดระยะเวลาในการจอดเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ เลือกแบตเตอรี่ได้ตั้งแต่ 2-5 ก้อน เพื่อให้เหมาะกับระยะทางการขนส่ง

Isuzu Elf EV มอเตอร์ไฟฟ้า

รายละเอียดตัวรถ

  • ระบบขับเคลื่อน: ขุมพลังไฟฟ้าแบบมอเตอร์ไฟฟ้าเดี่ยวแบบ 4X2 (ขับเคลื่อนล้อหลัง)
  • ช่วงล่างด้านหน้า: ช่วงล่างแบบอิสระ ด้านหลัง: ช่วงล่างแบบแหนบ
  • ระบบเบรก: ดิสก์เบรก หน้าและหลัง พร้อมเบรกมือไฟฟ้า และระบบ Auto Brake Hold
  • ประเภทแบตเตอรี่: ลิเธียมไอออน
  • ความจุแบตเตอรี่ (ที่ใช้งานได้): 100 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
  • กำลังสูงสุด: 150 กิโลวัตต์ (204 แรงม้า)
  • แรงบิดสูงสุด: 370 นิวตัน-เมตร
  • ขนาดรถ: (ยาว) 6,098 มม. × (กว้าง) 1,995 มม. × (สูง) 2,214 มม.
  • ระยะฐานล้อ: 3,395 มม.
  • น้ำหนักรถเปล่า: 3.2 ตัน
  • น้ำหนักรวมการบรรทุก: 7.5 ตัน
  • การชาร์จ: รองรับมาตรฐานการชาร์จแบบ ChadeMo อีกทั้งมีระบบ Regenerative Braking ซึ่งสามารถชาร์จในระหว่างการเบรกกลับเข้าแบตเตอรี่และสามารถเลือกระดับการชาร์จพลังงานกลับได้ เครื่องชาร์จ CCS2 ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา เพื่อรองรับการใช้งานในยุโรป
  • ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ ADAS (Advanced Driver Assistance Systems)
  • ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (Advanced Emergency Braking System (AEBS)
  • ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ เมื่อคนขับไม่ตอบสนองต่อการขับขี่ (Emergency Driving Stop System (EDSS)
  • ระบบแจ้งเตือนออกนอกเลน (Lane Departure Warning System (LDWS)
  • ระบบช่วยเตือนขณะถอย (Rear Cross Traffic Alert (RCTA)
  • ระบบตรวจป้ายจราจร (Traffic Sign Recognition (TSR)
  • ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน พร้อมฟังก์ชั่น Stop & Go (Full Range Adaptive Cruise Control (ACC)
  • ระบบควบคุมรถให้อยู่ในเลน (Lane Keep Assist (LKA)
  • ระบบควบคุมความเร็วตามป้ายจราจร (Intelligent speed assistance (ISA)
  • ระบบควบคุมไฟสูงอัตโนมัติ (Adaptive Driving Beam (ADB)


isuzu-elf-fcev

รถบรรทุกไฟฟ้าขนาดกลางเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Isuzu Elf FCEV)

พัฒนาร่วมกันระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจภายใต้โครงการ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) เหมาะกับการใช้งานบรรทุกหนัก สามารถเติมเชื้อเพลิงได้รวดเร็ว และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นการเพิ่มตัวเลือกรถบรรทุกในตลาด ตอบรับกับความต้องการก้าวสู่ยุคความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยในญี่ปุ่นได้มีการวิ่งทดสอบตามการใช้งานจริงตามเมืองและประเภทการใช้งานต่างๆ จำนวน 90 คัน เมื่อเดือนมกราคม 2566 ที่โตเกียว ฟุกุชิมะ และฟุกุโอกะ ส่วนประเทศไทยได้มีการวิ่งทดสอบแล้วจำนวน 4 คัน เมื่อเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2566

isuzu-elf-fcev

รายละเอียดตัวรถ

  • ความจุก๊าซไฮโดรเจน: 10.5 กิโลกรัม
  • ระยะทางวิ่งสูงสุด: 260 กิโลเมตร ขึ้นไป
  • กำลังสูงสุด: 109 กิโลวัตต์ (148 แรงม้า)
  • ความเร็วสูงสุด: 80 กิโลเมตร/ ชั่วโมง
  • ขนาดรถรวมตัวถัง: (ยาว) 6,300 มม. mm × (กว้าง) 2,200 มม. × (สูง) 2,960 มม.
  • ระยะฐานล้อ: 3,395 mm
  • น้ำหนักรถเปล่า: 2.82 ตัน
  • น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุก: 7.5 ตัน


Isuzu กับ แผนงานด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2573

Isuzu กำลังเดินหน้าด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นส์แบบครบวงจร ตัวเลือกหลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Multi-pathways to Carbon Neutrality) เพื่อให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะด้านที่แตกต่างกันทั่วโลก “แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมปี 2573” ของ Isuzu มีเป้าหมายที่จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ทั้งรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ รถปิกอัพ และรถบัสโดยสาร ภายในปี 2573

สำหรับประเทศไทย Isuzu วางแผนที่จะผลิตรถปิกอัพไฟฟ้าเพื่อส่งออกซึ่งจะเริ่มจากประเทศในโซนยุโรปในปี 2568 และจะทยอยเปิดตัวในประเทศอื่นๆ ตามกฎระเบียบด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนของแต่ละประเทศ ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 1 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 240,000 ล้านบาท ในด้านการวิจัยและพัฒนาภายในปีงบประมาณ 2573 เพื่อดำเนินการเรื่องการปฏิรูปทางดิจิทัลเกี่ยวกับความเป็นการทางคาร์บอนและโลจิสติกส์ (CN and logistics DX) อีกทั้งการสร้างศูนย์พัฒนาและทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ "The EARTH Lab" ภายในปี 2569

advertisement

Powered by อมรินทร์ นิวส์ - ยานยนต์

ยานยนต์ คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม